การสอนแบบไตรสิกขา


การศึกษาที่พร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญา

การสอนโดยยึดแนวไตรสิกขา 

1. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ

                พุทธศาสนาถือว่า ในการเป็นอยู่ของมนุษย์นั้น ชีวิตที่ดีคือชีวิตแห่งการศึกษาหรือการฝึกฝนอบรม มนุษย์ต้องศึกษาพัฒนาตนเองไปจนกว่าจะมีชีวิตที่ดีงามโดยสมบูรณ์จนเป็นชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา คือ คิด พูด และกระทำอย่างสุจริต ซึ่งเรียกว่าชีวิตที่ประเสริฐ หลักสำคัญในการศึกษาฝึกฝนอบรมตน คือ การพัฒนาการดำเนินชีวิตตนเองสามด้านไปพร้อมกัน ได้แก่ พัฒนาพฤติกรรม เรียกว่า ศีล พัฒนาทางด้านจิตใจ เรียกว่า สมาธิ และพัฒนาด้านปัญญา เรียกว่า ปัญญา (พระธรรมปิฏก 2539 : 188) ทั้งสามด้านนี้มีความสัมพันธ์อิงอาศัยกัน พฤติกรรมที่ดีเป็นช่องทางให้จิตใจพัฒนาและช่วยให้ปัญญางอกงาม จิตใจที่พัฒนาแล้วจะทำให้เกิดปัญญาเห็นถูกต้องตามความจริงและปัญญาที่เห็นถูกคิดถูกจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดีงามต่อไป ปัญญาจึงเป็นตัวจัดปรับทุกอย่าง ทั้งพฤติกรรมและจิตใจให้ลงตัวพอดี ทำให้มีชีวิตอยู่อย่างรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายและจัดการกับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง มีชีวิตที่ดีงาม สังคมมีความสงบสุข

2.  วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

                เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองและต้องทำควบคู่กันไป คือ

1. ความประพฤติ คือ ศีล ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความกตัญญู การตรงต่อเวลา การมีระเบียบวินัย

2. จิตใจ คือ ความตั้งมั่นตั้งใจ เอาใจใส่ มีใจจดจ่อ อย่างมีสมาธิ

3. ปัญญา คือ การจัดการความรู้ การคิดพิเคราะห์

3.  กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ  โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

                1.  ขั้นนำ

                                1.1  จัดสถานที่เรียนสิ่งแวดล้อม และผู้เรียนให้มีระเบียบ เพื่อเกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้

                                1.2 ให้ผู้เรียนทำสมาธิ สวดมนต์ ก่อนนำเข้าสู่บทเรียน  โดยครูเป็นต้นแบบ (แนะนำ ทำให้ดู  เป็นอยู่ให้เห็น  สงบเย็นให้ได้สัมผัส)

                2.  ขั้นสอน

                2.1  ผู้เรียนมีระเบียบ  มีสมาธิ  ศึกษาสาระอย่างตั้งใจ

          2.2  ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด  ลงมือค้นคว้า  ซักถาม  คิดวิเคราะห์

                2.3  ทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกปฏิบัติ โดยเน้นให้เรียนรู้จักรับผิดชอบในงานที่ทำ และความเสียสละ

3.  ขั้นสรุป ทบทวนใช้ปัญญาและเหตุผล

          3.1  กิจกรรมกลุ่ม  สรุปสาระที่ได้เรียนรู้

                3.2  นำเสนอผลงาน          

                3.1  ครูสรุปประเด็นตามสาระ และสิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4.  ขั้นประเมินผล

          4.1  สรุปการเรียนรู้ของตนเอง

                4.2  ประเมินการเรียนการสอน เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไป       

4.  ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ  

                ผู้เรียนมีสมาธิ มีความเข้าใจเนื้อหาสาระที่เรียน และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่น ๆ ได้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 221971เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นายประทีป ปั้นวงศ์

สุดยอดเลยขอรับพระอาจารย์ (มีปะโยชน์มากๆ)

นมัสการครับ

การสอนแบบไตรสิกขา ถือได้ว่าเป็นการสอนที่มีประโยชน์มากทีเดียว เพราะว่าผู้เรียนจะได้ประโยชน์

...............ครับผม อยากจะให้เสริมขั้นทำกิจกรรมอีกนิดครับว่าทำอย่างไรบ้าง คือละเอียดอีกนิด จะสมบูรณ์ทีเดียวเลยครับ

นมัสการลาครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท