ผลวิจัย เด็กกินยาก เลือกกินใน 3 ขวบแรก


พัฒนาการของเด็กจะเติบโตได้แข็งแรงสมวัยหรือไม่ ขึ้นกับการเริ่มต้นที่ดี ซึ่งถ้าคุณให้ความรัก และความเอาใจใส่ทั้งในเรื่องการเลี้ยงดู และโภชนาการตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ลูกของคุณเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จากการวัดพัฒนาการของเด็ก และบันทึกเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในด้านการประเมินการรับรู้ และการวัดพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 3.6 ปี
โดยใช้ตัวชี้วัดพัฒนาการของสมอง MDI ( Mental Development Index) ด้วยวิธีของ Bayley Scale ที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก วัดใน 3 ส่วนหลัก คือ พฤติกรรม ใช้สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นเพื่อสังเกตถึงการตอบสนองทางพฤติกรรมกับสิ่งเร้าประเภทต่างๆ ของเด็ก ความรู้สึก ทดสอบเกี่ยวกับทักษะในการรับรู้, การแยกแยะระหว่างวัตถุ, การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ทั้งยังทดสอบถึงความจดจำ, การเรียนรู้ และทักษะในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังวัดผลทางด้านภาษา รวมไปถึงความสามารถในการคำนวณเบื้องต้นด้วย การเคลื่อนไหว ประเมินทักษะการควบคุมร่างกาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ การใช้มือ และนิ้ว รวมถึงการตอบสนองทางด้านร่างกายต่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบกายของเด็กๆ เป็นที่น่าตกใจว่าเด็กกลุ่มที่มีปัญหากินยากหรือเลือกกินนั้นมีพัฒนาการสมองต่ำกว่าเด็กที่ทานอาหารได้ปกติถึง 14 จุด โดยตัวชี้วัดพัฒนาการของสมอง MDI เด็กปกติวัดได้ 110 จุด ในขณะที่เด็กกินยากหรือเลือกกินวัดได้ 96 จุด เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เติบโตสมวัย แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีสเห็นความสำคัญในเรื่องของพัฒนาการของเด็กในประเทศไทย
เชิญ ดร.เบนนี่ เคิร์นเนอร์ (Dr.Benny Kerzner) และ ดร.โทมัส อาร์ ลินไชด์ (Dr.Thomas R. Linscheid) กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ และพฤติกรรมเด็กจากสหรัฐอเมริกา มาแลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับ "ปัญหาสมองพัฒนาช้า และภาวะเลี้ยงไม่โต สาเหตุจากการขาดสารอาหาร" พร้อม รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์ มาแนะถึงวิธีแก้ปัญหาในประเด็นต่างๆ ตั้งแต่วิธีการดูแลเด็กให้กินอาหารครบถ้วน เพื่อพัฒนาการที่เต็มศักยภาพ
               โดยปกติแล้ว เด็กอายุ 1 ขวบปีขึ้นไปจะต้องเปลี่ยนจากการกินนมมาเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ แต่จากการศึกษาพบว่าเด็กในช่วง 1-3 ขวบ ถึงประมาณ 45% มีปัญหากินยากหรือเลือกกินซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึง 4 ขวบ สมองของเด็กจะมีพัฒนาการสูงสุดถึง 80% ช่วงนี้ผู้ปกครองจึงควรเอาใจใส่เป็นพิเศษเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินของลูกว่าจะรับประทานอาหารครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้าพลาดโอกาสทองช่วงนี้การที่จะกลับมาแก้ไขให้มีประสิทธิภาพก็จะทำได้ยาก
              วิธีการแก้ไขก็คือ การใช้หลักโภชนาการเข้ามาช่วย ให้เด็กทานอาหารที่มีพลังงานมากเพียงพอ มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะกับเด็กทุกวันในแต่ละช่วงอายุ บทบาทของอาหารสูตรครบถ้วน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นอีกวิธีการแก้ปัญหา เพื่อให้มั่นใจว่าในช่วงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กจะได้รับสารอาหาร และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการสมวัยด้านร่างกาย และสมอง "ผลวิจัยทางการแพทย์รับรองว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กับการให้อาหารเสริมสูตรครบถ้วนช่วยส่งเสริมให้พัฒนาการดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" เพื่อพัฒนาการของเด็กจะเติบโตได้แข็งแรงสมวัยหรือไม่ ขึ้นกับการเริ่มต้นที่ดี ซึ่งถ้าคุณให้ความรัก และความเอาใจใส่ทั้งในเรื่องการเลี้ยงดู และโภชนาการตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ลูกของคุณเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น --มติชน ฉบับวันที่ 5 พ.ย. 2551 (กรอบบ่าย)--

อ้างอิงจาก : http://202.143.131.23/enews/

หมายเลขบันทึก: 221170เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จากประสบการณ์ของตนเอง มีลูกวัย 3 ขวบ จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องทานอาหาร เพราะตั้งแต่เด็กจะกระตุ้นโดยการเล่านิทาน และพาเขาช่วยเลือกอาหาร และช่วยทำเด็กจะสนุกมากค่ะ

สวัสดีครับ คุณnim
ผมเลี้ยงลูกวัย1-3 ขวบ
ทานข้าเก่งมากครับ...
ผักรับประทานยากมาก..
ก็เปลี่ยนเป็นทำไข่ตุ๋นผัก
ประเภทต่าง...ได้ผลดีครับ
สีสวยน่ารับประทาน..
ไม่ว่าจะเป็นฟักทอง..แครอท..
ตำลึง...ผักโขม..เธอรับประทานเก่งมากครับ
ขอบคุณครับที่มาเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท