คำพ้อง ไทย-มลายู (๖) กรุณา - กะปะ - ปะการัง- กันดาร


จริงแล้วผมมีอยู่หลายคำมากที่พบว่าเป็นคำพ้อง ไทย-มลายู แต่บางอย่างผมคิดว่าน่าจะศึกษาด้วย ก็จำเป็นที่ต้องใช้เวลาบ้าง โดยเฉพาะ kamus (พจนานุกรมภาษามลายู)ที่ผมมีอยู่ยังหาไม่เจอ จำได้ว่าก่อนเจ็บผมตั้งบนโต๊ะทำงานหาความหมายของบางคำอยู่ แต่พอผมต้องไปนานที่โรงบาลนานหน่อย ก็มีการจัดการเข้าของของผมให้เป็นระเบียบมากขึ้น เลยทำให้หนังสือที่ผมเคยใช้บางเล่มหายากหน่อย

คำที่นำเสนอในวันนี้ มี 

 กรุณา เป็นคำง่ายๆและผมใช้บ่อยกับอีกคำก็ใช้เป็นประจำเหมือนกันคือ kurnia كرنيا พอมาดูควาหมายของสองคำนี้คล้ายกันมาก ก่อนหน้านี้ไม่นึกเลยมันน่าจะมาจากคำเดียวกัน

กรุณา [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร
 ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดง
 ความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็น
 สรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.)
 

Kurnia คือให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดคล้ายกับเป็นรางวับหรือรางวัล , เป็นสิ่งตอบแทนที่พระเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้ หรือการสมนาคุณจากผู้ใหญ่หรือผู้มีน้ำใจ

คำที่สอง เมื่อมีคนถูกงูกัดมีอาการสาหัสมากต้องพาไปโรงพยาบาล ชาวบ้านจะบอกว่าโดนงูกาเปาะ(Ular kapak) กัด และหมอบอกว่าถูกงูกะปะกัด และคำว่ากะปะนี้น่าจะเป็นภาษามลายู

กะปะ น. ชื่องูพิษชานิด Calloselasma rhodostoma ในวงศ์ Viperidae
 ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร ลายสีน้ำตาลเข้ม บนหลังมีลาย
 รูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน
 ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก,
 ตัวที่มีสีคล้ำเรียก งูปะบุก.

คำว่า กะปะ หรือ กาเปาะ (kapak) แปลว่า ขวาน

ว่ากันว่าที่เรียกว่างูนี้ว่า อุลาร์กาเปาะ(งูขวาน)เพราะหัวของงูจะเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน

 

คำที่สาม เป็นคำที่ผมได้ยินพูดบ่อยและผมก็สงสัยเหมือนกันว่าทำไมชาวบ้านต้องพูดในลักษณะด้วย คือเมื่อมีพบก้นบ่อหรือที่ไหนเป็นก้อนหินอยู่ก็พูดว่า ญาดีบาตูกาแร (เป็นหินการัง) แต่พอไปเปิด kamus(พจนานุกรมมลายู) คำว่า karang(การัง) ดังนี้

Karang หินปูนที่ได้มาจากสัตว์เล็กๆในทะเล ซึ่งตรงกับคำว่า ปะการัง พอดี

ปะการัง น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล
 แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น
 กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ
 อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย
 คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora,
 โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย
 ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด
 เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก
 ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.

 

คำที่สี่ คือ คำว่า กันดาร

กันดาร [-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก,
 แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น
 เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. น. ป่าดง, ทางลําบาก.
 (ป. กนฺตาร).

ตรงกับคำมลายู ที่ว่า Gendala (กันดาลา) หมายถึง อุปสรรค หรือ ลำบาก

 

 

หมายเลขบันทึก: 220572เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2008 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อัสลามมุอลัยกมค่ะ

อืมทุกอย่างมีที่มาที่ไป

อย่างเช่นขวาน มีพิษ เท่ากับงูกะปะ เฮ่ะๆๆ งง [ในกรณีเอากะเปาะ ไปทำร้ายคนไง]

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ เพ็ญศรี(นก)

วันนี้ก็ตั้งใจจะเขียนต่อเหมือนกัน .. แต่ยังติดขัดบางอย่างอยู่ เลยไม่ได้เขียน

ผมว่าถ้าผมขยันอีกนานกว่าจะจบ

อ. นายประจักษ์~natadee และ น้อง ณ.ปัตตานีด้วย

สวัสดีครับ

มีนักร้องชาวซุนดา นามสกุล Kurnia ไม่ทราบจะเป็นคำเดียวกันนี้หรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท