การรับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม.1 ปี 2552


วิธีการรับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม. 1 ที่ไม่เหมาะสม สร้างปัญหาให้กับสังคมและคุณภาพการจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศ

      ในปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา ในการคัดเลือกนักเรียนเข้า ม. 1 พบว่า 1) โรงเรียนยอดนิยม/โรงเรียนมีชื่อเสียงซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทั้งด้านครู(วุฒิครูและจำนวนครู)และด้านวัสดุ อุปกรณ์(ถ้าเป็นโรงพยาบาลก็จะจัดเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลศูนย์ ที่เน้นการรับผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยที่รักษายาก) ได้ใช้วิธีการสอบคัดเลือกแบบ 100 % เพื่อคัดเฉพาะเด็กเก่งเข้าไปเรียน  2) สภาพการคัดเลือกของโรงเรียนมีชื่อเสียงดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เด็กที่เรียนอ่อนต้องแห่ไปรวมตัวกันในโรงเรียนเกรด 2 ซึ่งไม่มีความพร้อม หรือมีความพร้อมน้อยกว่า เป็นการสร้างภาระในการสอนที่หนักอึ้งให้แก่โรงเรียนเหล่านั้น(เด็กพื้นฐานอ่อน และโรงเรียนก็ไม่พร้อม)  3) สภาพตามข้อ 1 และ 2) ในอนาคต จะทำให้โรงเรียนมีคุณภาพห่างชั้นกันมากขึ้น โรงเรียนมีชื่อเสียงจะสามารถเร่งรัดคุณภาพได้ง่าย ในขณะที่โรงเรียนที่รับนักเรียนอ่อนจะย่ำแย่ลงอันเนื่องมาจากภาระในการสอนเด็กพื้นฐานอ่อน 

 

        ในเรื่องการรับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม. 1 ปี 2552 ที่จะถึงนี้  เมื่อวันที่ 30-31 ตุลาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ท่าน ศรีเมือง)ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ไม่อยากให้โรงเรียนสอบคัดเลือกแบบ 100 % อย่างปีที่ผ่านมา” (สอบคัดเลือกจากนักเรียนในเขต 50 % และนักเรียนทั่วไป 50%) ผมเห็นด้วย และดีใจกับความคิดของท่านรัฐมนตรี เป็นอย่างยิ่ง อยากจะเรียนว่า ในปีที่ผ่านมา มีนักเรียนที่มีบ้านอยู่ในซอย หรือบ้านอยู่หน้าโรงเรียนมีชื่อเสียง จำนวนหนึ่งสอบเข้าไม่ได้ ต้องเดินทางออกจากซอยในตอนเช้าเพื่อไปเรียนที่อื่น ในทางกลับกัน มีนักเรียนเก่ง ๆ จากจังหวัดใกล้เคียง เช่น  ราชบุรี สุพรรณบุรี  สมุทรสงคราม  นครปฐม  สอบคัดเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนดัง ๆ ในกรุงเทพฯ ได้ นักเรียนเหล่านี้จะต้องตื่นแต่เช้า ตี 4 เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปโรงเรียนดัง ๆ ใน กทม.(เช่าเหมารถตู้เป็นรายเดือน เพื่อไปโรงเรียน)  การเกิดภาพเช่นนี้ ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว เห็นว่า การเลือกเฉพาะเด็กเก่งของโรงเรียนขนาดใหญ่เหล่านี้ ได้สร้างปัญหาทางสังคมตามมา เช่น นักเรียนที่ผู้ปกครองยากจน แม้จะอยู่ใกล้โรงเรียนที่มีชื่อเสียง ก็ไม่สามารถเข้าเรียนได้ ต้องเดินทางไปเรียนที่อื่น สร้างภาระให้ครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้ว  หรือ การที่เด็กนอกเขตพื้นที่ แต่สอบเข้าเรียนได้ ก็ต้องเดินทางไกลมาเรียน สร้างปัญญาจราจร เป็นต้น

 

        ถึงเวลาที่ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ต้องร่วมทบทวน และวางแผนในเรื่องการรับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม. 1 ปีการศึกษา 2552 กันอย่างจริงจัง  โรงเรียนต่าง ๆ จะต้องทบทวนแนวคิดในการรับนักเรียน จะต้องรับผิดชอบต่อสังคมหรือชุมชนที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนมากขึ้น โดยการให้โอกาสนักเรียนในละแวกใกล้โรงเรียนได้เข้าเรียน ทั้งนี้ เพราะในชั้นของการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน เราก็อ้างเหตุผลสำคัญ คือ เพื่อรองรับการขยายตัวหรือการเติบโตของชุมชน(ยกเว้น โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เฉพาะ เช่น มหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นต้น)  ผู้เขียนเห็นว่า โรงเรียนที่มีชื่อเสียงทุกโรงจะต้องกำหนดสัดส่วนที่พอเหมาะในการรับนักเรียน จะต้องให้โอกาสกับเด็กในรัศมี 500-1000 เมตร ที่อยู่ใกล้โรงเรียนได้เข้าเรียน   หรืออีกนัยหนึ่ง จะต้องเก็บเงินเพิ่มพิเศษแก่นักเรียนที่สมัครใจข้ามเขตพื้นที่ หรือเขตจังหวัด ในการเลือกมาเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง(เด็กในเขตพื้นที่ เรียนฟรีจริง ๆ  เด็กนักเรียนต่างเขตพื้นที่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม  เด็กต่างประเทศ เก็บแพงสุด ๆ)

 

หมายเลขบันทึก: 220106เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2008 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เห็นด้วยอย่างยิ่ง
  • ควรรับเด็กใกล้บ้าน 100 % ก่อน ที่เหลือจึงรับที่อื่น ถ้าไม่เหลือก็ไม่ต้องรับ
  • กลับไป-กลับมาเรื่อยๆ สำหรับวิธีการรับนักเรียน(ความสำคัญของการศึกษา)เหมือนของเล่นนักการเมือง
  • จะคลี่คลายปัญหาได้หลายอย่าง อย่างอาจารย์ว่า การเดินทาง ความแตกต่างระหว่างโรงเรียน แป๊ะเจี๊ยะ โอกาสของเด็กส่วนใหญ่ ความเท่าเทียมกันในการจัดการศึกษาตามกฎหมาย ฯลฯ
  • โรงเรียนขนาดใหญ่ ไม่ค่อยยอม เพราะจะไม่ได้เด็กเก่ง สิ่งที่จะสูญเสีย(เฉพาะโรงเรียนใหญ่) คือ เงิน หน้าตา ชื่อเสียงโรงเรียน คล้ายๆกับมหาวิทยาลัย ไม่ยากคัดนักเรียนเข้า ด้วย GPA นั่นแหละครับ
  • ผมเลยมองว่า บ้านเมืองเรานี้ มือใครยาวสาวได้สาวเอาจริงๆ คนที่จน คนที่ไม่มีโอกาส ก็จนและไร้โอกาสตลอดชีวิต ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ด้วย
  • อ้อ! ถ้าผมจำไม่ผิด อดีต รมต.ศธ.คนหนึ่ง เคยคิดจะรับนักเรียนใกล้บ้าน 100 % ผลคืออะไร..โดนเด้ง โดยรัฐบาลของพี่ชายตนเองเสียด้วย
  • ขอโทษ..ถ้ายืดยาวเกินไป
  • ขอบคุณมากครับ

คุณ ธนิตย์ และ คุณเพ็ญศรี

  • ขอบคุณครับ ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นและร่วมยืนยันความคิด
  • ผมคิดว่าเราจะต้องช่วยกันสะท้อนความต้องการให้ทางรัฐมนตรีและ สพฐ.รับทราบ
  • ในวันที่ 17 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาของ กทม. 3 เขต ผมตั้งใจว่าจะหารือเรื่องนี้ในที่ประชุมกรรมการ อีกทางหนึ่ง

สังคมมีการแข่งสูงขึ้น เด็กในเมืองใหญ่สอบแข่งขันเก่งกว่าเด็กอื่น โอกาสเข้าเรียนต่อก็สูงกว่า

แต่ถ้าเน้นรับนร.ในเขตพื้นที่ โรงเรียนชื่อดังทั้งหลาย คงไม่ยอม เพราะบางรร.จะขาดผลประโยชน์ไปมาก

ทำอย่างไรเมืองไทยจะกระจายความเจริญออกไปให้ทั่วถึง ไม่กระจุกอยู่แต่เมืองใหญ่ ๆ

รัฐบาลต้อง มีนโยบายส่งเสริมให้คนมีความรู้ ความสามารถออกไปอยู่ชนบท มีค่าตอบแทนสูงกว่าในเมืองใหญ่ และรัฐต้องจัดสรรทรัพยากรสนับสนุน ในการจัดการศึกษาให้เขาเพียงพอด้วย

นี่อาจต้องให้ ส่วนท้องถิ่นเข้ามาดูแล และจัดคนในส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพ มีวิสัยทัศน์ช่วยกระตุ้นรัฐให้ดำเนินการ.........

คุณ จิด้า

   -เป็นข้อคิดที่ดีมากเลยครับ

   -การให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทมากขึ้น น่าจะเป็นทางเลือกที่สำคัญในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาในเรื่องนี้

- นอกจากประเด็นในเรื่องโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะไม่ยอมแล้ว ผมเชื่อว่าผู้ปกครองที่มีความพร้อม(มากๆหรือพยายามทำให้พร้อม) ก็คงไม่ยอมแน่ๆเขาก็คงจะคิดว่าในเมื่อลูกเขาตั้งใจเรียนมาตลอดและการสอบเข้าก็ถือว่ายุติธรรมดีแล้ว ที่สำคัญถ้าโรงเรียนใกล้บ้านดีอยู่แล้วก็คงไม่เข้ากรุงเทพฯ กลายเป็นว่าเรียนยังไงก็ได้ถ้าบ้านใกล้โรงเรียนโอกาสได้เข้าแบบไม่ต้องสอบ ผู้ปกครองก็จะไปขอเช่าชื่อเข้าอยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน ของใครที่มีบ้านใกล้ๆโรงเรียนเพื่อให้ลูกมีโอกาสจับสลาก (คล้ายๆทุกวันนี้)

- ผมเห็นด้วยกับคุณจิด้าที่ว่าส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามาดูแลการศึกษา(ไม่ใช่ดูแลแค่มองว่าเป็นฐานเสียง) แต่ต้องมองว่าถ้าการศึกษาในท้องถิ่นดี ต่อไปในอนาคตท้องถิ่นของเรานี้ก็(น่าจะ)ดีด้วย ซึ่งแน่นอนมันไม่เห็นผลทันทีแน่นอน ซึ่งนักการเมือง(มักจะ)ทำในสิ่งที่เห็นผลทันทีมากกว่า

- อาจารย์ครับช่วงนี้มีโอกาสอ่านบล๊อคแค่เดือนละ 1-2 บทความเองครับ อยากให้อาจารย์เขียนบ่อยนะครับ ดูแลสุขภาพด้วยครับ

- หนูไม่เข้าใจ ทำไมหนูต้องสอบเข้าในเมื่อโรงเรียนทุกโรงเรียนในประเทศนี้เป็นโรงเรียนของหนูทั้งนั้น โอกาศทางการศึกษาไม่ควรมอบให้คนเก่งคนรวย โรงเรียนทุกโรงเรียนควรมอบโอกาศทางการศึกษาให้ทุกคนที่สนใจและต้องการศึกษา คนเก่งคนรวยควรแย่งชิงโอกาศในการเลือกอาชีพและเส้นทางทำมาหากินมากกว่าที่จะมาแย่งชิงห้องเรียนแย่งชิงโรงเรียน จริงหรือเปล่าค่ะ

หนูเห็นว่า 1.ไม่ควรมีระบบสอบเข้าโรงเรียน

2.กำหนดเงื่อนไขสำหรับโรงเรียนดัง เช่น นอกเงื่อนไขจ่ายมีใบเสร็จ

3.จัดมาตรฐานการศึษาให้เท่าเทียม (ทำได้หรือเปล่าไม่รู้)

หนูไม่เข้าใจ

1.ทำไมสร้างถนน สร้างเขื่อน สร้างรถไฟฟ้า สร้างได้ แต่ทำไมสร้างโรงเรียนให้อนาคตของชาติทำไม่ได้

2.กระทรวงศึกษาทำอะไรอยู่ค๊ะ??

คำถาม

1.คนจน เรียนไม่เก่งมักจะมาด้วยกันเนื่องจากสภาวะหลายๆอย่าง แต่อยากเรียนเพื่อยกระดับตัวเอง ในอดีตและปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้เนื่องจากเขาไม่เสียภาษีหรือเปล่าไม่รู้ แต่ ในอนาคตจะเป็นไปได้หรือเปล่าค่ะ???

ข้อความคุณ จิรเมธ - นอกจากประเด็นในเรื่องโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะไม่ยอมแล้ว ผมเชื่อว่าผู้ปกครองที่มีความพร้อม(มากๆหรือพยายามทำให้พร้อม) ก็คงไม่ยอมแน่ๆเขาก็คงจะคิดว่าในเมื่อลูกเขาตั้งใจเรียนมาตลอดและการสอบเข้าก็ถือว่ายุติธรรมดีแล้ว

หนูขอต่อนิดหน่อยนะค่ะ??

- โรงเรียนที่ใช้ภาษีจ้างครู และ ผู้ปกครองที่มีวุฒิภาวะไม่ควรคิดอย่างนี้ การที่เด็กตั้งใจเรียนและเป็นเด็กดีอนาคตที่ดีๆรอเขาอยู่แล้ว การที่ลูกสอบเข้าโรงเรียนดีๆได้หรือพยายามซื้อโรงเรียนดีๆให้ลูกยังบอกไม่ด้หรอกว่าอนาคตจะดีได้เป็นแค่ดัชนีบ่งชี้

เรียน  คุณจิรเมธ  คุณ นิศารัตน์

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น
  • เรื่องใครยอม หรือไม่ยอม คงจะต้องหาทางออกร่วมกัน ในอนาคต
  • ในหลักการที่ควรจะเป็น "โรงเรียนจะต้องดูแลชุมชนที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน จะต้องบริการและให้โอกาสแก่ชุมชนก่อนในละแวกใกล้เคียง เป็นอันดับแรก  แล้วค่อยดูแลทั่วไป อีกชั้นหนึ่ง"  ถ้าเป็นไปตามหลักการนี้ สักวันหนึ่ง ชุมชน หรือท้องถิ่นก็จะเข้ามาดูแล-สนับสนุนโรงเรียน อย่างจริงจัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท