เครียดนานแล้วอ้วนนะ


การมีความเครียดน้อยๆให้ผลดีจะเป็นตัวกระตุ้นนะค่ะแต่ถ้าเครียดมากและนานจะเป็นโทษต่อสุขภาพ

เมื่ออาทิตย์ก่อนได้มีโอกาสรับฟังความทุกข์กายของเพื่อนเก่าแก่มากสมัยประถม ในงานศพเธอมา มากับสามีตัวกลมอ้วนมากตอนนี้ ทั้งคู่ีอ้วนขึ้นเท่าตัวจากเมื่อ 2 ปีก่อนที่ได้พบ   เธอเล่าว่าช่วง 2ปีนี้มีปัญหาเรื่องเงินมากขึ้นสามีต้องทำงานเพิ่มกลับดึกทุกคนจึงทานมื้อค่ำแล้วนอนเพราะเหนื่อยจากงาน ลูกสาวคนเดียวกำลังจะจบ ปวช.เธอกังวลเรื่องจะให้เรียนต่อหรือทำงานก่อนดีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทุกวัน จนเธอเครียดต้องออกหารายได้พิเศษช่วย  มื้อดึกจึงเป็นมื้อครอบครัวทานมากและนอนทำให้ทุกคนอ้วนแบบที่เห็น  ส่วนสามีบอกว่าเครียดกับปัญหาลูกน้องทั้งวัน   นานแล้วไม่เคยได้ยิ้มหรือคุยเล่นกันในที่ทำงาน   เมื่อก่อนแย่กว่านี้อีกต้องชิมคุมคุณภาพอาหารที่ส่งขายทั้งวัน ตอนนี้อยากผอมมากพยายามอดอาหารและเพิ่มออกกำลังกายตอนเย็นก่อนกลับบ้านกินข้าว  แต่ก็ยังไม่เป็นผลช่วยบอกวิธีลดหน่อย ทั้งคู่เล่าถึงวิธีทานอาหารในอดีตและปัจจุบันของตัวเอง ดิฉันสรุปได้ว่า ทั้ง 2 คนจะรอกินข้าวพร้อมกันมื้อดึกทำให้หิวมากจึงทานมาก   สามีลดอาหารลงแต่ทานครบ 3มื้อและเริ่มออกกำลังกายตอนเย็นที่ทำงาน ส่วนภรรยาทานวันละ 2 มื้อ มื้อเย็นบางวันไม่กินข้าว กินแต่ผลไม้

ดิฉันเล่าให้ทั้งคู่ฟังว่าเวลาที่เครียดมากเกินมักจะพบพฤติกรรมการกิน 2 อย่างคือ   ไม่กินเลยกับกินมากไม่ตรงเวลา ในผู้เป็นเบาหวานของเราก็เคยพบเหตุการณแบบนี้  ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจระดับผู้บริหาร พวกเขาถามว่า "ทำไมผมกินน้อยแล้วยังอ้วน  น้ำตาลก็ยังไม่ดีอีกต่างหาก" ซึ่งความเครียดทำให้พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป    การมีความเครียดน้อยๆให้ผลดีจะเป็นตัวกระตุ้นนะค่ะแต่ถ้าเครียดมากและนานจะเป็นโทษต่อสุขภาพ เพราะทำให้ระดับ BS ในเลือดสูง ชักจูงให้มี Insulin ปล่อยจากตับอ่อนมากขึ้นหลายเท่ากว่าภาวะปกติ      เจ้า Insulin ที่เพิ่มมากกว่าปกตินี้จะบีบให้ร่างกายเราปล่อยไขมันที่เก็บสะสมออกมาทิ้งในเลือดและยังยับยั้งไม่ให้มีการเอาไขมันส่วนเกินจากเลือดไปเก็บสะสม เราจึงมีม๊อบยักษ์ไขมันในเลือดเกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหา 2 อย่างตามมาคือ

   1 .ปัญหาภายใน ซึ่งจะเกิดอนาคตที่เห็นได้บ่อยคือ โรคของหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ  และ โรคความดันโลหิตสูงเพราะเลือดข้นขึ้น

   2 .ปัญหาภายนอก  เกิดโรคอ้วนเพราะไขมันเหล่านี้มีความสามารถพิเศษในการจับตัวกันบริเวณหน้าท้องได้ง่ายกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกายทำให้อ้วนที่พุงแม้เมื่อหายเครียดแล้ว ใช่ว่าเจ้าไขมันที่รวมตัวกันที่พุงจะหายไปก็หาไม่ มันจะยังคงอยู่นะคะ     ทำให้เสียบุคลิกภาพอีกด้วยเหมือนที่เพื่อนดิฉันกำลังประสบอยู่

เขาถามว่าแล้วจะทำอย่างไรดี ดิฉันก็บอกว่าให้แก้ไขสิ่งที่คิดว่าทำได้ง่ายก่อน เช่น ปริมาณอาหารและทานตรงเวลา ครั้งละ 1 จาน ได้แนะนำการแบ่งสัดส่วนในจานออกเป็น 4 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 เป็นข้าว ถ้าเป็นข้าวซ้อมมือยิ่งดี ไม่ควรอดข้าว ให้ทานอย่างน้อยสุด 1 ทัพพี/มื้อ

ส่วนที่ 2 เป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง ติดมัน ระวังของทอด 1/2 ของจาน

ส่วนที่ 3 และ 4 เป็นผักก้าน ผักใบ ควรทานเพิ่มให้ได้ปริมาณ1/2 ของจาน

ไม่ควรทานแล้วนอนตอน 4 ทุ่ม ให้กระจายอาหารไปตอน 18.00-19.00 น. อาจแบ่งทานได้ครึ่งจาน ค่อยกลับมาทานต่อร่วมกันอีกครึ่งจาน หรือแยกทานแล้วกลับมาทานผลไม้สุก 6-8 ชิ้น/ส้มคนละ 1ผล ตอนดูทีวีก่อนนอน และถ้ามีเวลาวันหยุดค่อยชวนกันไปออกกำลังกายเพิ่มอย่างสม่ำเสมอก็จะดี

ยุวดี    มหาชัยราชัน

หมายเลขบันทึก: 21979เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท