ห้องน้ำเมืองไทย ตรงไหนสกปรกแบบสุดๆ


 

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า เวลาคนเราเดินทางไปไหนมาไหน... สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่กลัวกันคือ ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ โดยเฉพาะเวลาเดินทางท่องเที่ยว

คุณอาของผู้เขียนท่านหนึ่งอยากไปนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดีย-เนปาล ท่านไปมาแล้วหลายรอบ ต่อมาก็ไม่ยอมไปอีก เนื่องจากอายุมาก (เกิน 85 ปีไปแล้ว) และบ่นว่า ห้องน้ำไม่สะอาดพอ

...

ผู้เขียนกลับมองไปอีกอย่างหนึ่งคือ รู้สึกว่า อินเดียกับพม่ามีห้องน้ำมากพอ เพราะเราจะไป "เก็บดอกไม้ (สำนวน = เข้าห้องน้ำ ปลดทุกข์ เข้าส้วม)" ข้างถนนที่ไหนก็ได้ ทำให้สะดวกสบาย หายห่วง

ประเทศที่ผู้เขียนกลัวนิดหน่อยคือ ศรีลังกา เนื่องจากห้องน้ำไม่ค่อยมีด้วย และคนศรีลังกาไม่ค่อยยอมให้นักท่องเที่ยวปลดทุกข์ข้างทางด้วย ทำให้ห้องน้ำหายากมากๆ ในสายตาผู้เขียน

...

เมืองไทยเราเป็นเมืองท่องเที่ยวจึงต้องเน้นให้มีห้องน้ำที่สะอาด และมากพอ จึงจะแข่งขันกับนานาชาติได้

ทีนี้ห้องน้ำบ้านเรา... ตรงไหนสกปรกที่สุด กรมอนามัยเปิดเผยว่า จุดที่สกปรกที่สุดปรากฏดังภาพ

...

ภาพที่ 1 > แสดงจุดอ่อนของห้องน้ำไทย

  • โปรดสังเกตว่า ปัญหาใหญ่อยู่ที่พื้นห้องน้ำ (50%) และฝาปิดโถส้วม (31%)

...

ภาพที่ 2 > ภาพขยาย

...

ภาพที่ 3 > ภาพขยาย

...

หลักการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหาของระบบต่างๆ นั้นพบว่า ปัญหาสำคัญๆ ประมาณ 80% มักจะมาจากสาเหตุหลักๆ ประมาณ 2-3 ข้อ

ถ้าเราแก้ปัญหาหลักๆ 2-3 ข้อนี้ได้... อะไรๆ จะดีขึ้นเร็วมาก หลักการนี้เรียกว่า "ไวทัลฟิว (vital few)" หรือปัญหาสำคัญๆ มักจะอยู่กับเรื่องสำคัญที่สุด 2-3 ข้อแรกของระบบ

...

ถ้าเราจะทำห้องน้ำหรือห้องส้วมไทยให้สะอาด เพื่อรองรับการท่องเที่ยว หรือพัฒนาให้คนไทยมีวินัย (ชาติที่พัฒนาได้จะต้องมีวินัยในหลายๆ เรื่อง) เราคงต้องเริ่มที่การจัดเตรียมห้องน้ำให้มีมากพอก่อน

ขั้นต่อไปคือ ทำพื้นห้องน้ำให้สะอาด โดยเฉพาะการทำให้มันแห้งให้ได้ ตรงนี้จะแก้ปัญหาไป 50% และจัดการที่รองนั่งโถส้วมให้สะอาด ตรงนี้จะแก้ปัญหาไป 31% นั่นคือ แก้ปัญหา 2 ข้อแรกก็แก้ไขปัญหาไปได้แล้วถึง 81 (50+31 = 81%) ตามหลัก "ไวทัล ฟิว (vital few)"

...

ขอให้พวกเราสังเกตว่า จุดต่อไปที่ควรแก้ไขได้แก่ ที่กดชักโครก ก๊อกน้ำ และลูกบิดประตู

ตรงนี้ถ้ามีการออกแบบที่ดีจะช่วยได้มาก เช่น ออกแบบห้องน้ำให้มีที่ปัสสาวะผู้ชาย ซึ่งใช้น้ำน้อยกว่าการให้ผู้ชายไปถ่ายปัสสาวะที่โถชักโครก ออกแบบห้องน้ำให้มีสบู่สำหรับล้างมือ ออกแบบให้ห้องน้ำไม่มีประตู หรือมีทางเข้าออกซิก-แซก (zig-zag) แทนการใช้ประตู

...

การเตรียมห้องน้ำให้ดี และช่วยกันล้างมือด้วยสบู่ให้ถูกวิธี มีส่วนช่วยลดโรคภัยไข้เจ็บได้มากมาย เช่น ลดการกลั้นปัสสาวะ ทำให้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบลดลง โรคกรวยไตอักเสบลดลง ฯลฯ

โรงงานหรืออุตสาหกรรมที่ส่งเสริมให้มีห้องน้ำดีๆ และมีการล้างมือด้วยสบู่มากพอจะช่วยลดโรคติดเชื้อ เช่น หวัด ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ได้ ทำให้พนักงานลาป่วยน้อยลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น และโบนัสอาจจะเพิ่มขึ้นได้ด้วย (จากกิจการผลิตที่ดีขึ้น)

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

ที่มา                                       

...

  • ขอขอบพระคุณ > กรมอนามัย > เด็กไทยทำได้ ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2548. หน้า 11-12.

...

  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 29 ตุลาคม 2551.

...

หมายเลขบันทึก: 219537เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2008 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอบคุณความรู้ดีๆ
  • และนำไปใช้ได้จริงทันทีครับ

ขอขอบคุณอาจารย์ธนิตย์....

  • ขอขอบคุณอาจารย์มากๆ สำหรับข้อคิดเห็นครับ

ห้องน้ำที่ใช้อยู่ไม่ใช่ชักโครก

เลยดูแลได้ทั่วถึงค่ะ

*ขอแนะนำห้องน้ำที่สะอาดมากๆ *

เวลากลับบ้านต่างจังหวัดนะคะ

รถจะแวะจอดที่ ครัวคุณสาหร่าย จ.ชุมพร

ยังมีข้อความให้นั่งอ่านแบบต้องการหาคำตอบด้วยค่ะ

ไม่เชื่อลองแวะไปดูนะคะ

ขอขอบคุณตัวอย่างห้องน้ำดีๆ จากคุณสะตอดองครับ...

  • ไกลไม่เบาเลย ชุมพรนี่

Vital Few นี่เป็นศัพท์ของ SixSigma แต่สำหรับผมจะคุ้นเคยตามกฎ 80/20 โดยจะมองได้สองแบบ เช่น ในแต่ละวันเราใช้เวลาส่วนใหญ่ (80%) ทำในสิ่งที่ไร้สาระ และเราทำงานจริง ๆ เพียงแค่ 20% หรือ สินค้า 20% ที่สามารถทำรายได้ให้กับบริษัทถึง 80%

ไม่ว่าจะเป็น Vital Few หรือ กฎ 80/20 ต่างก็ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาที่ดี

อยากให้คนไทยใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบครับ

ขอขอบคุณข้อคิดจากคุณโยธินินครับ...

  • เมืองไทยเราต้องการองค์ความรู้ในการแก้ปัญหามาก จะเป็นวิธีการใดคงไม่สำคัญเท่าความมุ่งมั่น จริงใจในการแก้ปัญหา
เมืองไทยเรายังดีที่กิจกรรมคุณภาพหลายๆ อย่างโตเร็วมาก 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท