nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

สอนสุขศึกษาเด็กที่ได้ผล : กรณีเด็กหญิงแจ่นแจ๊นไม่กินผัดซีอิ๊ว


เราต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ที่แปลงเนื้อหาสุขภาพ (Health Knowledge) ให้ผลลัพธ์ของการสอนออกมาเป็น เจตคติ (Attitude) และเกิดเป็นทักษะ (Skills) ให้ได้

          แจ่นแจ๊น อายุ ๖ ขวบเรียนชั้น ป.๑  อยู่กับพ่อแม่ที่ออสเตรเลีย  แวะมาเที่ยวเมืองไทย   เราทำราดหน้ากับผัดซีอิ๊วกินกันมื้อเที่ยง  ทุกคนเอร็ดอร่อย  มีแจ่นแจ๊นคนเดียวไปยอมกิน 

          คุยได้เต็มปากว่าทำราดหน้าอร่อยที่สุด  แต่ทำไมแจ่นแจ้นไม่ยอมกิน  หมิ่นแคลนฝีมือป้ามากไปหน่อยแล้ว

          แม่พยายามเชิญชวนให้กินเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ  แจ่นแจ๊นมารยาทดีรอจนแม่กินอิ่มก็ลากมือแม่ออกไปไกลๆโต๊ะอาหาร  ซุบซิบๆ กันสักครู่  แม่เดินยิ้มมาหาป้า

          แจ่นแจ๊นบอกว่า ไม่กล้ากินเส้นก๋วยเตี๋ยวของป้า  กลัวเป็นมะเร็ง  ครูสอนว่า อย่ากินอาหารไหม้ เพราะมีสารก่อมะเร็ง  เป็นมะเร็งแล้วตาย

          ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า... เป็นอย่างนี้นี่เอง  เส้นก๋วยเตี๋ยวผัดด้วยซีอิ๊วดำเหมือนอาหารไหม้  ทำให้แจ่นแจ๊นไม่กล้ากิน

          ป้าบอกแจ่นแจ๊นว่า  จะพาแจ่นแจ๊นไปดูวิธีทำผัดซีอิ้วของป้าในครัว  ถ้าไม่แน่ใจจะไม่กินก็ไม่ว่า  แจ่นแจ๊นเดินตามไปอย่าว่าง่าย เพราะหิวจัด 

ป้าหยิบเครื่องปรุงมาแนะนำทีละอย่าง แนะนำซีอิ๊วดำให้แจ่นแจ๊นรู้จักเป็นพิเศษ  (โชคดีนะที่ป้ารู้ว่าซีอิ๊วดำทำจากถั่วหมักกับน้ำตาล-ไม่งั้นละป้าเอ๊ย เธอตกม้าตายแน่)  ผัดซีอิ๊วให้เห็นกันจะ-จะ ว่าไม่มีอะไรไหม้เลย  ผัดเสร็จหอมฉุย  ตักใส่จานให้แจ่นแจ๊นถือเดินยิ้มหน้าบานออกไปนั่งกินหน้าบ้าน

เรื่องจบลงด้วยดี

ต้นทุนเรื่องแจ่นแจ๊นไม่กินผัดซีอิ๊วทำให้ป้าเก็บไปนั่งคิดและอภิปรายกันในที่ทำงานว่า  เราจะสอนสุขศึกษาเด็กๆ ของเราอย่างไรให้เกิดเป็นพฤติกรรมสุขภาพติดตัวเขาไปแบบที่เราเห็นในตัวแจ่นแจ๊น

คิดจบแล้วได้คำตอบว่า 

เราต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process)  ที่แปลงเนื้อหาสุขภาพ (Health Knowledge) ให้ผลลัพธ์ของการสอนออกมาเป็น เจตคติ (Attitude) และเกิดเป็นทักษะ (Skills) ให้ได้

ประมาณปี ๒๕๔๗ ดร.สิริกร มณีรินทร์ เป็น รมช.กระทรวงศึกษาธิการ  คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เป็น รมว. สาธารณสุข  สองกระทรวงทำงานใกล้ชิดกันมาก ตอนที่ ศธ.มีนโยบายเรื่องหลักสูตรแกนกลาง-หลักสูตรท้องถิ่น ๓๐ : ๗๐ ฉันได้มาเป็นคณะทำงานกลุ่มสาระสุขศึกษาฯ  งานที่ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่องคือ ตำราเรียนสุขศึกษา ตัวอย่างแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้าง Heath Skills – Life Skills  จนถึงปีที่กระทรวงศึกษาธิการจัดประชุมเพื่อปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ได้ทำงานในกลุ่มสาระนี้อีกครั้ง  เราได้เสนอ Key word ๒ คำนี้เข้าไป หลังจากคณะทำงานเสนอกรอบแนวคิดหลักสูตรปรับใหม่ต่อดร.กษมา วรวรรณไปแล้ว  ก็ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้อีก  แต่ก็ยังหวังที่จะเห็น Heath Skills – Life Skills แตกดอกออกผลในตัวเด็กๆ

กระทรวงสาธารณสุขทำงานเผยแพร่ความรู้เรื่องสุขภาพในวงกว้าง และตั้งรับที่ปลายทางเมื่อคนป่วยแล้ว  แต่ครูมีโอกาสดีกว่าคือปลูกลงไปที่ตัวเด็กตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งได้ผลดีที่สุด.

อังคารที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑

หมายเลขบันทึก: 219401เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • กระบวนการที่จะฝังลึกลงไปในตัวเด็ก เพื่อให้มีทักษะชีวิตนี้  ครูมีบทบาทมากที่สุดค่ะ..ครูอ้อยเห็นด้วย
  • เนื่องจาก วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มารุกเร้าให้เด็กๆ และประขากรต้องตกหลุมดำมากขึ้น
  • ดังนั้นหน่วยงาน ต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน  กลบหลุมดำนี้  ไม่ใช่ให้ครูมีบทบาทหนักเท่านั้นจริงไหมคะ..สอนอย่างเดียว ก็ อานแล้วค่ะ
  • ครูทุกท่านล่ะค่ะ  ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตให้กับลูกศิษย์  พ่อแม่ และโรงเรียนต้องควบคุม ชี้แจงให้เด็กเห็นด้วยนะคะ

แนวความคิดนี้ ประทับใจ ครูอ้อยมากเลยค่ะ..ร่วมด้วย ช่วยกันค่ะ

  • ผมเอา life skill มาใช้กับเด็กติดยา
  • ขอบคุณพี่นุ้ยมากครับ
  • สมกับเป็นซือเจ๊ เด็กวัยเรียนเลยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ สำหรับแนวคิดดีดี

           เป็นคุณครูได้สบายเลยนะครับ

 

    ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process)  ที่แปลงเนื้อหาสุขภาพ (Health Knowledge) ให้ผลลัพธ์ของการสอนออกมาเป็น เจตคติ (Attitude) และเกิดเป็นทักษะ (Skills) ให้ได้      

ขอบคุณนะคะคุณ small man ที่แวะมาเยี่ยม

ดีใจที่ได้รู้จักครู พี่เคยทำงานใกล้ชิดกับคุณครูค่อนข้างมาก ทำให้ซึมซับมาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท