90. วิธีดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัย


วิธีดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัย

เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม  2550  ได้จัดงานทำบุญและจัดงานเลี้ยงวัน เกิดครบ 72 ปีให้กับ คุณพ่อ  และ วันที่ 12 กันยายน  2551 ก็ได้จัดให้กับคุณแม่เช่นเดียวกัน  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระทำที่มีความสุขอย่างมาก  ถึงแม้จะเหนื่อยสักเพียงไหน  เพราะได้เห็นท่านทั้งสองมีความสุข  มีญาติพี่น้องจากจังหวัดต่าง ๆ มาร่วมอวยพรกันมากมาย  ได้เห็นท่านทั้งสองได้พบและร่วมสนุกกับพี่ ๆ น้อง ๆที่อยู่ห่างไกลกันสนุกสนาน   รอยยิ้มและความสุขของผู้ที่รักและเคารพที่สุด   ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา  ดังนั้น  เราควรที่จะดูแลเป็นอย่างดีและถูกวิธี  จึงใคร่ขอเสนอวิธีดูแลผู้สูงอายุ  ดังนี้

วิธีดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัย

                เรื่องความปลอดภัยของผู้สูงอายุ  
1. ระวังหกล้ม  สำคัญมาก ถ้าหกล้ม โอกาสกระดูกหัก  (เพราะผู้สูงอายุมักกระดูกบางอยู่แล้ว) หรือเกิดปัญหาของเส้นเลือดในสมอง มีได้สูงมาก นึกเสมอว่าต้องปลอดภัยไว้ก่อน  สิ่งที่ต้องระวังดูแล  คือ
                *  รองเท้า ส่วนมากจะนึกว่าคนแก่เฒ่าอยู่แต่ในบ้านไม่ได้ออกไปไหนรองเท้าแตะเก่าๆ ก็ใช้ได้นั้นถือว่าคิดผิด  เนื่องจากท่านไม่ค่อยจะแข็งแรงอยู่แล้ว การทรงตัวก็ไม่ค่อยดี  จึงควรต้องหารองเท้าที่สภาพดีๆ พื้นไม่ลื่นให้ท่านใส่
                *  สภาพแวดล้อม อย่าวางของเกะกะ  การหลบหลีกรวมทั้งการตัดสินใจของผู้สูงอายุไม่ค่อยดี  พื้นที่ลื่นๆ นี่ก็ตัวร้าย  โดยเฉพาะในห้องน้ำที่เป็นขั้นสูงๆ ต่ำๆ ยิ่งพื้นที่มันสะท้อนแสงยิ่งแย่ สายตาท่านกะระยะไม่แม่นแล้ว จึงควรดูและจัดให้เหมาะสม
                *  การประคองลุกนั่งยืนหรือเดิน บ่อยครั้งที่เราต้องช่วยพยุงท่านไปห้องน้ำหรือพาท่านไปเดินออกกำลังกาย
ยิ่งท่านตัวโตและอ่อนแรงมากเท่าไร คนช่วยพยุงจำเป็นต้องแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น  ถ้าท่านยังพอมีแรงอยู่ก็หาเครื่องช่วยพยุง  เช่นไม้เท้าให้ท่านใช้ด้วยจะช่วยเพิ่มความมั่นคง และผ่อนหนักให้เป็นเบาได้มาก และควรหาเข็มขัดเส้นใหญ่ๆ คาดเอวท่านไว้เราจะได้จับยึดประคอง ด้านหลังได้ถนัด ๆ
2.  ระวังจะเป็นลมหรือเหนื่อยเกินไป
                ผู้สูงอายุต้องค่อย ๆ  เปลี่ยนจากท่านอนไปนั่งและลุกยืน ต้องให้เวลาปรับตัวในแต่ละช่วง มิเช่นนั้นเลือดจะไปเลี้ยงสมองไม่ทัน  เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมล้มได้ อีกอย่างที่สำคัญ  คือ อย่าให้เหนื่อยเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจได้ โดยทั่วๆ ไปแล้วหัวใจไม่ควรเต้นเกิน 120  ครั้ง / นาทีในการออกกำลังกาย ใช้จับวัดชีพจรเอาก็ได้  
ถ้ามากกว่านี้แสดงว่าทำมากเกินไป ควรให้ออกกำลังกายเบาๆ ต่อเนื่องประมาณ 15-20 นาที จะได้ประโยชน์มากกว่า  การออกกำลังนี้จะทำได้มากน้อยแค่ไหน ต้องดูเรื่องสภาพร่างกาย และโรคประจำตัวด้วย
               

เรื่องที่ตัวผู้ช่วยเองต้องพึงระวัง
1.  ประมาณกำลังของตนเองให้ดี  ต้องแน่ใจว่าช่วยไหว การช่วยยกหรือพยุงผู้สูงอายุก็เหมือนกับการยกของหนัก
ซึ่งถ้ามากเกินกำลังก็มักทำให้เกิดบาดเจ็บได้หลาย ๆ ที่  เช่น ปวดหลัง เอว ข้อมือ หรือหัวไหล่  เป็นต้น
2.  ขณะที่ออกแรงยก  (เช่นพยุงจากนั่งให้ลุกยืน) พยายามยืนให้ใกล้ ๆ  และรักษาแนวกระดูกสันหลังของตัวเราให้ตรง  
(อย่าก้มมาก ใช้งอเข่าต่ำลงแทน) เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องเอาไว้ด้วย ทำแบบนี้จะช่วยลดและป้องกันปัญหาปวดหลังได้
3.  อย่าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ  เช่น  ขณะที่ช่วยประคองเดินออกกำลังกาย ให้เราพยายามเปลี่ยนมือ ขยับเปลี่ยนข้างยืนบ้าง  เป็นต้น

วิธีดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย

                เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน ทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายและเป็นภาระที่ลูกหลานหรือผู้ดูแลจะ ต้องให้การช่วย เหลือดูแลผู้สูงอายุ โดยต้องคำนึงถึง ดังนี้

1. ให้การดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐานในเรื่องความรักความอบอุ่น ให้ได้รับอาหารที่เหมาะ สมมีประโยชน์ต่อร่างกาย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง เช่น การออกกำลัง กาย การป้องกันอุบัติเหตุ

2. ให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย ไม่บังคับ หรือเข้มงวดจนเกินไป      อดทนและเอาใจใส่ดูแลอย่างสม่ำเสมอ

3. เสนอคำแนะนำถ้าคิดว่าจำเป็นให้ผู้สูงอายุได้ทราบ ถ้าปฏิบัติตามแผนการรักษาของ แพทย์จะเกิดผลดี ในทางตรงข้าม     ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะเกิดผลเสียทำให้โรคหายช้า หรือกำเริบได้

4. ดูแลให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่นการรับประทานอาหาร การทำ กายภาพบำบัด การพักผ่อน       นอนหลับการรับประทานยา รวมทั้งการพาผู้สูงอายุไปตรวจตามแพทย์นัด

5. ให้ผู้สูงอายุได้พักผ่อนคลายความวิตกกังวลที่อาจจะมาจากสาเหตุการเจ็บป่วยช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้ โดยการให้พูดถึงความไม่สบายใจ หาสาเหตุว่ามาจากอะไรให้เข้าใจ และร่วมกันแก้ไขปัญหา ให้กำลังใจผู้สูงอายุ แนะนำให้ผ่อนคลาย          ทำสมาธิ พาไปเที่ยวหรือพักผ่อนเป็นครั้งคราว

                ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย บางครั้งจะเกิดความเครียด เบื่อหน่าย และหงุดหงิดควรหาวิธี ระบายความเครียด โดยการพูดคุยระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง หรือขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้องให้ ช่วยแบ่งเบาภาระเป็นครั้งคราวเมื่อปรับตัวปรับใจได้ก็กลับมาให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุต่อไป

หมายเลขบันทึก: 217879เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

คิดถึงตี่นะ

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท