ฝึก "ทักษะ/ศิลปะในการฟัง" ...ใครว่าง่าย!


เวลาข้าพเจ้าพูดว่า "ตั้งใจ" นั้น ข้าพเจ้าไม่ได้หมายถึงการ "จดจ้อง" แต่การตั้งใจหมายถึงการฟังด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่การฟังด้วยจิตที่มัวหมอง ต้องเป็นการฟังด้วยปฏิภาณไหวพริบ ฟังอย่างมีชีวิตชีวา ฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ท่านกำลังอยู่กับข้าพเจ้าที่นี่และเดี๋ยวนี้ นี่คือความหมายของคำว่า "ตั้งใจ" ท่านต้องไม่ไปอยู่ที่อื่น ท่านต้องไม่นำสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดอยู่นี้ไปเปรียบเทียบกับความคิดเก่าๆ ของท่าน จะต้องไม่มีการเปรียบเทียบใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด

        กระบวนการทำ Knowledge Sharing นั้น วัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ ทำให้เกิด "การเรียนรู้" ขึ้นในผู้ที่มีส่วนร่วม การเรียนรู้ที่ว่านี้จะไม่มีทางเกิดได้เลย หากผู้ที่ร่วมกระบวนการขาด "ทักษะ/ศิลปะ" ในการฟัง ประเด็นเรื่องการฟังอย่างตั้งใจ ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังทั้งกายฟังทั้งใจ นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียวครับ...

osho ได้เคยกล่าวเรื่องนี้ไว้ในหนังสือปัญญาญาณว่า ..."ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังพูดอยู่กับท่านนั้น ข้าพเจ้ากำลังจูงมือพวกท่านให้ก้าวมาพร้อมกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้เห็นในสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิบาย โปรดเถิด ! อย่าเพิ่งโต้เถียง อย่าด่วนรีบบอกว่าใช่ หรือไม่ใช่ อย่าเพิ่งคล้อยตาม อย่าเพิ่งขัดขืน ขอเพียงแต่ท่านอยู่กับข้าพเจ้า จดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ ท่านก็จะได้สัมผัสการรู้ที่ผุดบังเกิดขึ้น ขอเพียงแต่ท่านฟังข้าพเจ้าอย่างตั้งใจเท่านั้น เวลาข้าพเจ้าพูดว่า "ตั้งใจ" นั้น ข้าพเจ้าไม่ได้หมายถึงการ "จดจ้อง" แต่การตั้งใจหมายถึงการฟังด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่การฟังด้วยจิตที่มัวหมอง ต้องเป็นการฟังด้วยปฏิภาณไหวพริบ ฟังอย่างมีชีวิตชีวา ฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง  ท่านกำลังอยู่กับข้าพเจ้าที่นี่และเดี๋ยวนี้ นี่คือความหมายของคำว่า "ตั้งใจ" ท่านต้องไม่ไปอยู่ที่อื่น ท่านต้องไม่นำสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดอยู่นี้ไปเปรียบเทียบกับความคิดเก่าๆ ของท่าน จะต้องไม่มีการเปรียบเทียบใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด ไม่ตัดสินว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดอยู่นี้ถูกผิดมากน้อยแค่ไหน..."

        ฟังดูเหมือนง่ายนะครับ แต่กลับทำได้ยากยิ่ง ...คงจะมีหลายๆ ครั้งที่ "เราฟังแต่กลับไม่ได้ยิน" อาจจะเป็นเพราะ "เสียง" ในความคิดของเรามันดังกลบไว้หมดก็ได้ ....ถ้าไม่เชื่อก็ลองฟังเสียงเหล่านั้นดูสิครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21728เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอขอบพระคุณ คุณประพนธ์ ผาสุขยืด ที่ให้ความกรุณาเข้าร่วมกับ ชุมชน: ศูนย์รวมความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน

 

  ใช่เลยครับ ..

"เสียง" ในความคิดของคน โดยเฉพาะคนที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ มักจะดังมากเป็นพิเศษ  ของบางคนเหมือนกับติดเครื่องขยายเสียงเอาไว้ด้วย  มี Volume control ไว้คอยเร่งเพื่อต้านกับสิ่งที่กำลังฟัง  สุดท้ายเลยไม่ได้ยินอะไรเลย  ที่ว่ามากด้วยความรู้และประสบการณ์ ก็เลยเหลือแต่ประสบการณ์เก่าๆที่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ยิ่งขึ้นทุกที

การลด Volume ในความคิดของเราที่มันกำลังกลบไว้อยู่นั้น อาจทำได้ด้วยการลดมานะทิฏฐิ หรือปล่อยวางในตัวกู-ของกู หากกระทำได้ หัวใจก็คงจะเปิดกว้างได้โดยอัตโนมัต และได้ยิน-เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูดได้ในที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท