เรื่องราวของงานวิจัยที่มีทั้งการสร้างความรู้และการแปลงความรู้


วันที่ ๑๘ ต.ค. ๕๑ ผมจะไปเป็นผู้ดำเนินรายการการเสวนา เรื่อง เรื่องราวของงานวิจัยที่มีทั้งการสร้างความรู้และการแปลงความรู้   ซึ่งก็คืองานวิจัยที่เป็นทั้ง basic และ applied research ในเวลาเดียวกัน   ในภาษาวิชาการ ว่า งานวิจัยที่มีทั้ง Knowledge Creation และ Knowledge Translation

การประชุมนี้เป็น งานช้าง ของ สกว.   ชื่ออย่างเป็นทางการว่า การประชุม นักวิจัยใหม่...พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ ๘    จัดที่โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำ  ระหว่างวันที่ ๑๖ ๑๘ ต.ค. ๕๑

ช่วงเวลา ๙๐ นาทีของการเสวนา เราต้องการส่งเสริมให้นักวิจัยที่ทำงานวิจัยพื้นฐานเพื่อการตีพิมพ์ มีทักษะในการตั้งโจทย์และทำวิจัยให้ได้ประโยชน์สองต่อ    คือได้ทั้งผลงานตีพิมพ์ และได้ผลงานที่เอาไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย

เราออกแบบกิจกรรมของช่วง ๙๐ นาทีนี้ให้ใช้เครื่องมือ KM   ใช้เครื่องมือ SSS – Success Story Sharing   ทาง สกว. จึงไปหานักวิจัยรุ่นไม่อาวุโสมาก    แต่มีผลงานวิจัยแบบได้ประโยชน์ ๒ ต่อ มา ๔ คน ได้แก่ ศ.ดร. สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   .ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   .นพ.ดร. นิพนธ์ ฉัตรทิพากร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และ รศ.ดร. รัศมี ชูทรงเดช จากมหาวิทยาลัยศิลปากร    เชิญมาเล่าเรื่อง (Storytelling) ว่าแต่ละท่านทำอย่างไรจึงมีผลงานวิจัยแบบได้ impact สองต่อเช่นนี้

ผมทำหน้าที่ คุณอำนวย ช่วยจุดประเด็น และใช้เครื่องมือ AI – Appreciative Inquiry กระตุ้นให้แต่ละท่านเล่าได้ลึก    ปล่อยเคล็ดลับวิธีทำงานวิจัยแบบได้ผลสองต่อออกมา

ท่านแรก คือ .ดร. สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ แห่งภาควิชาวิศวกรรมเคมี  คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาฯ  ทำงานวิจัยเรื่อง เครื่องปฏิกรณ์เคมีแบบหลายหน้าที่ (multifunctional reactor) เรื่องเดียวตลอดเวลา ๑๑ ปี   ผลงานทำให้ท่านได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ตั้งแต่อายุเพียง ๓๖ ปี   ผมจะซักให้ท่านเล่าว่าผลงานนี้เอาไปใช้งานอย่างไร    และทำไมจึงมีการนำผลงานวิจัยของท่านไปใช้งาน    อ่านสรุปประวัติและผลงานของท่านได้ที่นี่

อ่านประวัติและผลงานโดยละเอียดของท่านได้ที่นี่

ท่านที่ ๒  .ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   เป็นนัก ควอนตัมฟิสิกส์ ทำงานวิจัยโดยการคำนวณ ร่วมกับนักวิจัยโดยการทดลอง    มีผลงานที่ได้ทั้ง impact factor และมีการนำไปประยุกต์ใช้    การซักถามของผมก็จะเป็นไปในแนวเดียวกันกับท่านแรก   อ่านสรุปประวัติและผลงานของท่านได้ที่นี่

และอ่านผลงานได้ที่นี่

ท่านที่ ๓   .นพ.ดร. นิพนธ์ ฉัตรทิพากร จากภาควิชาสรีรวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   เป็นผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิจัยและฝึกอบรม Cardiac Electrophysiology   ผมเคยเขียนถึงท่านที่นี่   ผลงานวิจัยของท่านอยู่ในลักษณะ “from bench to bedside”    คือใช้ในการปฏิบัติรักษาผู้ป่วยได้โดยตรง   อ่านประวัติของท่านได้ที่นี่

และอ่านผลงานได้ที่นี่

 

 

ท่านที่ ๔  รศ.ดร. รัศมี ชูทรงเดช จากคณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร  ทำงานวิจัยโบราณคดีเกี่ยวกับถ้ำในภาคเหนือ    ผมเคยเขียนบันทึกถึงท่าน อ่านได้ที่นี่    ผลงานวิจัยของท่านได้รับการเชื่อมต่อไปใช้ประโยชน์ทางศิลปะ และทางการพัฒนาชุมชน อ่านได้ที่นี่ และที่ www.fdhr.co.nr   รายละเอียดของผลงานและวิธีทำงานวิจัยของท่านอ่านได้ที่นี่

 

 

ที่จริงผลงานวิจัยเชิงวิชาการ ถ้ามีการจัดการอย่างถูกต้อง จะมีที่ใช้ประโยชน์เสมอ    คำกล่าวว่า วิจัยขึ้นหิ้ง เป็นคำกล่าวที่ไม่ตรงกับการวิจัยที่มีคุณภาพ   แต่การวิจัยทางวิชาการจะมี impact ต่อสังคมมากยิ่งขึ้น หากมีวิธีตั้งโจทย์วิจัยที่ถูกต้อง    และมีวิธีจัดการ งานวิจัยที่ถูกต้อง    เราจะได้เรียนรู้จากยอดนักวิจัยทั้ง ๔ ท่านนี้    แล้งผมจะเอาเคล็ดลับของทั้ง ๔ ท่านมาเล่าต่อ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ต.ค. ๕๑

 

 

หมายเลขบันทึก: 216202เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2008 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะอาจารย์

โครงการ ‘มาจาก (คนละ) ฟากฟ้าของเพิงผา’

จะต้องมีฉบับเล็ก ๆ เหมือนที่ สกว. ได้จัดทำใช่ไหมคะ

ขอขอบคุณค่ะ

 

เรียนครูคิม

ไม่มีครับ แต่ดูได้จาก link และ เว็บไซต์ที่ให้ไว้ครับ

วิจารณ์

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

ดิฉันมีความสนใจงานวิจัยด้านคุณภาพ  เพราะชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่

น่าจะส่งเสริมให้เขามีพลวัตรที่เข้มแข็ง เป็นชุมชนใหม่ แต่ขยายตัวเมื่อ 2546 ค่ะ ด้วยอิทธิพลของกองทุนเงินล้าน

NODE ที่จังหวัดพิษณุโลก ไม่ทราบว่ายังมีอยู่หรือไม่

 

อาจารย์ทั้งสองคะ

อาจารย์หมอคะ ขอบคุณที่บรรจุข้อมูลไว้ให้ในบล๊อกค่ะ สำหรัย krukim หนังสือมาจากคนละฟากฟ้าฯ หากอาจารย์สนใจ กรุณาแจ้งที่อยู่มาให้ จะจัดส่งให้ค่ะ หนังสือเล่มนี้และอีกหลายๆ เล่มจัดพิมพ์เพื่อรวบรวมรายได้เป็นกองทุนในการดูแลอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่นค่ะ แล้วให้ชุมชนจัดการดูแลโดยการทำให้เงินงอกและสามารถดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาเงินจากรัฐค่ะ หากอาจารย์สนใจมีกิจกรรมหลายอย่างที่กำลังทำอยู่ที่ปายและขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนค่ะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ค่ะ

นับถือ

รัศมี

เรียนคุณ รัศมี ชูทรงเดช

เป็นพระคุณอย่างสูงยิ่งค่ะ  ครูคิม ชื่อนพวรรณ  พงษ์เจริญ

642/48 ถนนมิตรภาพ  อำเภอวังทอง

พิษณุโลก 65130

กิจกรรมของอาจารย์ติดตามได้จากบล็อกของอาจารย์ใช่ไหมคะ

ขอให้คุณรัศมี มีความสุขกับการทำงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท