บั้งไฟพญานาค


การเกิดบั้งไฟพญานาค ลูกไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง ลูกไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า

ตำนาน

เรื่องของพญานาคในทางพุทธศาสนา ได้กล่าวไว้ว่า เดิมทีพญานาคที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาลนั้นมีนิสัยดุร้าย แต่พอพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ก็เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา เลิกนิสัยดุร้าย และคิดจะหันมาออกบวช แต่ก็ติดที่เป็นสัตว์ไม่สามารถบวชได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ พญานาคจึงปวารณาตนเป็นพุทธมามะกะ

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนครบ 1 พรรษา ( 3 เดือน) และเสด็จกลับโลกมนุษย์ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 11 ด้วยบันไดแก้ว บันไดเงินและบันไดทอง ที่เหล่าเทวดาทำถวาย ส่วนมนุษย์โลกก็จะทำบุญตักบาตร นำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบไหว้บูชา ความนี้เมื่อรู้ถึงพญานาคที่อยู่เมืองบาดาล จึงได้จัดทำ “บั้งไฟพญานาค” และจุดเฉลิมฉลองเช่นกัน และได้กลายมาเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้[1]

ลักษณะ

การเกิดบั้งไฟพญานาค ลูกไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง ลูกไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น

โดยบั้งไฟพญานาคจะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งๆ ที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อยๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ ซึ่งปรากฏการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคนี้ได้มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิจัยหลายต่อหลายท่าน แต่ก็ยังไม่พบข้อสรุปที่ชัดเจน[2]

การปรากฏตัวของพญานาค

ร่องรอยของพญานาคที่ฝากไว้บนกระโปรงรถ
ร่องรอยของพญานาคที่ฝากไว้บนกระโปรงรถ

พญานาค นอกจากปรากฏในรูปของบั้งไฟพญานาคแล้ว ยังมีหลักฐาน ร่องรอยและเรื่องเล่าต่างๆ อย่างเช่น บุญจันทร์ คำมุงคุณ ผู้ใหญ่บ้านและประธานโฮมสเตย์บ้านน้ำเป กิ่งอำเภอรัตนภูมิ จังหวัดหนองคาย เล่าให้ฟังว่า ขณะที่กำลังลงเรือหาปลาอยู่ในบริเวณปากห้วยน้ำเปตอนประมาณสองทุ่ม ก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายงูอยู่ในน้ำ คือตรงส่วนหัวนั้นไม่เหมือนงูทั่วๆ ไป คือมีลักษณะคล้ายหงอน และดวงตามีขนาดเท่าไข่ไก่เห็นเป็นสีแดง งูนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร

แอร์ ชาวอุดรธานี และเป็นคนที่มีสัมผัสที่หก ไปดูบั้งไฟพญานาคที่ริมแม่น้ำโขง จนประมาณ 3 ทุ่ม ที่บั้งไฟพญานาคลูกแรกขึ้น แอร์ก็รู้สึกวูบไปเลย มารู้สึกตัวอีกทีในอีก 2 ชั่วโมงถัดมา ในลักษณะที่เท้าเหยียบอยู่ในแม่น้ำโขง มีคนหิ้วปีกอยู่ทั้งสองข้าง และรู้สึกว่าหน้าร้อนมาก ตอนที่แอร์วูบไป แม่ของแอร์เล่าว่า แอร์ก็มีท่าทีแปลกๆ เริ่มพูดไม่เหมือนตามปกติ ใช้ภาษาแบบคนโบราณ เช่น ข้ากับเจ้า และนั่งชันขาเหมือนคนโบราณแล้วบอกว่า เราเป็นพญานาคชื่อสีดา ดูแลน้ำโขงช่วงนี้อยู่ ที่มานี่เพื่อมาเตือน เพราะเห็นว่าในกลุ่มนี้มีคนที่ไม่เชื่อและพูดลบหลู่อยู่ พร้อมทั้งยังบอกว่าตนอยู่ที่นี่มาเป็นพันๆ ปีแล้ว และบั้งไฟนี้ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ จน 2 ชั่วโมงผ่านไป ถึงเวลาเกือบ 5 ทุ่ม พญานาคที่ชื่อสีดาก็บอกว่าจะกลับแล้ว ให้ช่วยไปส่งที่ริมแม่น้ำหน่อย จากนั้นแอร์ก็รู้สึกตัวขึ้น

จุมพล สายแวว นายช่างไฟฟ้าสื่อสาร 5 ได้ไปทำข่าวมา ก็ได้เห็นเป็นรอยเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน เป็นรอยขนาดใหญ่ขึ้นทั่วหลังคารถเลย หรือบางรอยก็เห็นขึ้นริมโขง และได้เกิดเหตุการณ์ ที่เขาได้เห็นกับตาและได้ถ่ายภาพวีดีโอไว้ เขาได้เห็นภาพของสิ่งมีชีวิตลักษณะลำตัวยาวๆ ที่คาดว่ามีหลายตัว เล่นน้ำอยู่กลางลำน้ำโขง ใกล้ๆ กับพระธาตุกลางน้ำ ซึ่งเหตุการณ์เป็นข่าวครึกโครม มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และเชื่อกันว่า เป็นเหตุการณ์ที่พญานาคขึ้นมานมัสการพระธาตุ[3]

ทฤษฎีและข้อสมมติฐาน

ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ณ วันนี้ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็มีทฤษฎีและข้อสมมติฐานอยู่หลายทฤษฏี เช่น

นพ.มนัส กนกศิลป์ แห่งโรงพยาบาลหนองคาย อธิบายว่า บั้งไฟพญานาค เกิดจากก๊าซร้อน คือ ก๊าซที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนและก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนผสมสำคัญ ซึ่งก๊าซร้อนชนิดนี้ ก็คือก๊าซชีวภาพที่ระเบิดจากหล่มอินทรียวัตถุใต้ท้องน้ำหรือในดินที่เปียก โดยมีแบคทีเรียกลุ่มมีเทนฟอร์มเมอร์ซึ่งดำรงชีวิตได้ในสภาพไร้ออกซิเจนเท่านั้น ณ ความลึกของแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำข้างเคียง เป็นตัวช่วยผลิตก๊าซ แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะได้ก๊าชมีเทนในปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายอย่างน้อย 1.45 เท่า ของความดันบรรยากาศ เมื่อไปเจอความกดดันของน้ำ ความกดดันของอากาศในตอนพลบค่ำ หล่มทรายก็จะไม่สามารถรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ และมีการฟุ้งกระจายไปบางส่วน โดยเหลือแกนในของก๊าซซึ่งลอยตัวขึ้นสูง เมื่อไปกระทบกับอนุภาพออกซิเจนอะตอมที่มีประจุ ที่มีพลังงานสูง ก็จะเกิดการสันดาปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นดวงไฟหลายสี แต่ 95% จะเป็นดวงไฟสีแดงอำพัน พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วก็หายไป และทุกตำแหน่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะอยู่ในระดับ 5-13 เมตรทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าความเป็นกรดและด่างของน้ำในแม่น้ำโขงก็จะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักก๊าซมีเทน ซึ่งคุณหมอได้เคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และค้นพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา คุณหมอมนัสบอกว่าในคืนวันนั้นจะมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก[4]

ส่วนอีกสมมติฐานนึงคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์เอง โดยสมชาติ วิทยารุ่งเรือง ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ได้หาวิธีการทำบั้งไฟพญานาคในแบบฉบับของเขามาได้ 8 วิธี โดยนพ.มนัส กนกศิลป์ ได้ออกมาถึงเหตุผลที่ว่า บั้งไฟพญานาคไม่น่าที่จะเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ได้ตั้งข้อสมมติฐานแย้งเช่น

  • คนที่กระทำต้องแข็งแรงมากเพราะกระแสน้ำมันแรงมาก ในขณะที่คนธรรมดากอดเสาอยู่ในน้ำยังทรงตัวไม่อยู่
  • นพ.มนัส กนกศิลป์ ได้เริ่มศึกษาเมื่อปี 2522 ก็มีบั้งไฟพญานาคขึ้นมาแล้ว 120 ปี ซึ่งจริง ๆ แล้ว ต้องเกิดขึ้นนานกว่านี้อีก เนื่องจากคนที่ทำคนนี้ต้องมีอายุมากกว่า 104 ปีแล้วต้องทำด้วยตัวเองจึงตัวเองจึงจะคุมความลับได้
  • การเกิดของบั้งไฟ เกิดขึ้น 52 ตำแหน่งประมาณ 1,500 – 2,500 ลูก คนที่ทำต้องมีเงินจ้างคนไปประดาน้ำทำเรื่องนี้
  • ทานกระแสน้ำที่ลึกมากและกลัวที่จะโดนเอ็ม 16 ของหน่วย นปข.ซึ่งเขาก็บอกอีกว่ามันขึ้นเฉียดเรือเขาเลย

เป็นต้น

จุดชมบั้งไฟพญานาค

การชมบั้งไฟพญานาคนั้นนอกจากจะรู้วันแล้ว ยังต้องรู้เวลา รู้สถานที่ ที่มีแนวโน้มการเกิดบั้งไฟพญานาคอีกด้วย ตำแหน่งที่บั้งไฟพญานาคมักจะปรากฏให้เห็นว่า ทั่วทั้ง จ.หนองคาย มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 20 จุด โดยในจ.หนองคายเกิดขึ้นหลายจุด แต่จุดที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีผู้พบเห็นบ่อยครั้งเริ่มจากที่ อ.สังคม บริเวณ "อ่างปลาบึก" บ้านผาตั้ง บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสังคม ต่อมาที่บริเวณ "วัดหินหมากเป้ง" อ.ศรีเชียงใหม่

ถัดจากนั้นก็จะพบในเขตอำเภอเมืองบ้านหินโงม ต.หินโงม อ.เมือง หน้าสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเดื่อ ต.บ้านเดื่อ อ.เมือง พอเข้าสู่เขต อ.โพนพิสัยก็จะพบแทบจะตลอดลำน้ำโขง ตั้งแต่ปากห้วยหลวง ต.ห้วยหลวง อ.โพนพิสัย ในเขตเทศบาล ต.จุมพล หน้าวัดไทย วัดจุมพล วัดจอมนาง หนองสรวง เวินพระสุก ท่าทรายรวมโชค ต.กุดบง บ้านหนองกุ้ง ซึ่งที่ อ.โพนพิสัยจะพบมากที่สุด แล้วมาพบอีก ที่กิ่งอ.รัตนวาปี บริเวณ ปากห้วยเป บ้านน้ำเป วัดเปงจาเหนือ บ้านหนองแก้ว ในเขตอ.ปากคาด บ้านปากคาดมวลชล ห้วยคาด อ.ปากคาด และที่ อ.บึงกาฬ บริเวณวัดอาฮง ตำบลหอคำ อ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นจุดที่ชาวหนองคายเชื่อกันว่าเป็นสะดือแม่น้ำโขง เป็นเมืองหลวงของเมืองบาดาล ก็ปรากฏบั้งไฟพญานาคให้เห็นเช่นกัน

ทางด้านจังหวัดอุบลราชธานี มีชาวบ้านพบเห็นมา 2-3 ปี แล้วและทางอ.โขงเจียมก็ได้พิสูจน์มาแล้วว่ามีจริง โดยการเข้าชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค อ.โขงเจียมปีนี้ กำหนดจุดชมไว้ 3 แห่ง คือ บ้านกุ่ม บ้านท่าล้ง และบ้านตามุย

สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงประมาณ 23.00 น.ก็จะหมดไป[2]

 บั้งไฟพญานาคในวัฒนธรรมสมัยนิยม

มีการนำเรื่องข้องสงสัยที่ของบั้งไฟพญานาค มาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 โดย จิระ มะลิกุล ออกฉายเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ภาสกร อินทุมาร จากเว็บไซต์ประชาไท ตั้งข้อสังเกต ประเด็นเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ว่า "ถึงแม้วิธีคิดของภาพยนตร์จะตอบสนองต่อความรู้สึกร่วมสมัย แต่ชนชั้นดูหนังยอมรับได้หรือไม่ว่า พญานาคและศรัทธา เป็น “ ความจริง ”"[5]

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84

คำสำคัญ (Tags): #บั้งไฟพญานาค
หมายเลขบันทึก: 216138เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สัปดาห์นี้--คณะ SRRT จาก สสจ.ชุมพร จะเดินทางไปศึกษาดูงานที่หนองคายครับ คงแวะไปชม "บั้งไฟพญานาค" ด้วยครับ (แต่ว่าผมไม่ได้ไป อิอิ)---->คนนี้ (P) ไปครับ
  • ขอบคุณความรู้ดีๆ ครับผม

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้เพิ่มเติม

ก็เคยไปดูมาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว นั่งรถจากขนส่งใน ก.ท.ม.ไปเข้าพักที่ตัวจังหวัดหนองคายตอนเช้ามืด

เที่ยวในตัวเมืองตั้งแต่เช้า ได้กราบไหว้พระใส และเดินซื้อของ

พร้อมกับข้ามไปฝั่งเพื่อนบ้าน

แล้วนั่งรถ ต่อไปที่ โพนพิสัยในตอนบ่ายแก่ๆ

ขานั่งรถกลับมาที่พักในตัวจังหวัดหนองคาย

มีรถติดนิดหน่อยเอง แต่สนุกค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ปีที่แล้ว เกือบได้ไป
  • ปีนี้  ก็ไม่ได้ไป
  • ปีหน้า  ต้องตั้งใจไปให้ได้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ  สำหรับข้อมูล   ที่ทำให้ครูอ้อยอยากไปให้ได้ค่ะ

การเกิดบั้งไฟพญานาค ลูกไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง ลูกไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น

ปีนี้ไปดูมาแล้ว เห็นประมาณ 20 กว่าลูก เป็นเรื่องจริง เพราะบางลูกเห็นอยู่ใกล้นิดเดียวถ่ายวีดีโอไว้ด้วย

บั้งไฟพญานาค

“บั้งไฟพญานาค” เป็นปรากฎการณ์ของการเกิดลูกไฟสีชมพูพวยพุ่งขึ้นจากกลางลำน้ำโขงสู่อากาศ โดยลูกไฟนั้นไม่มีควัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วหายไปโดยไม่มีการโค้งลงมา เช่น บั้งไฟทั่วไป ขนาดของลูกไฟมีตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือ กระทั่งขนาดเท่าฟองไข่ไก่ เกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนถึง 2-3 ทุ่ม สถานที่เกิดมักเป็นลำน้ำโขง ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอปากคาด อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย และบริเวณอื่นๆ บ้าง เช่น ตามห้วยหนองที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง

วันเวลาที่เกิด “บั้งไฟพญานาค” จะเป็นปรากฏการณ์ที่แน่นอน คือตรงกับ วันออกพรรษา วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษาของลาว (พนิดา 2538 : 77)

ความเชื่อและตำนาน

ลำน้ำโขง

คนไทยทางภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขงและคนลาวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความเชื่อกันมานานแล้วว่า แม่น้ำโขง เกิดจากการเดินทางของนาคตนหนึ่งชื่อว่า ปู่เจ้าศรีสุทโธ นาคตนนี้เมื่อเลื้อยไปเจอภูผาหรือก้อนหินก็เลี้ยวหลบ ผิดกับนาคตนอื่นๆ ที่จะเลื้อยผ่าตรงไปเลย เส้นทางการเดินของเจ้าศรีสุทโธจึงมีลักษณะคดเคี้ยวไปมา เรียกกันว่า ลำน้ำคดหรือลำน้ำโค้ง แล้วต่อมาเพี้ยนเป็น ลำน้ำโขง

(สกุ๊ปพิเศษ 2544 : หน้าปกใน)

ตำนานการเกิดบั้งไฟพญานาค

ครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น พญาคันคาก ได้จุติอยู่ในครรภ์ของพระนางสีดา เมื่อเติบใหญ่ได้บำเพ็ญเพียรภาวนา จนพระอินทร์ชุบร่างให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พระอินทร์ได้ประธานนางอุดรกุรุตทวีปเป็นคู่ครอง พญาคันคากและนางอุดรกุรุตทวีป ได้ศึกษาธรรม และเทศนาสอนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายครั้นได้ฟังธรรมจากพระโพธิสัตว์คันคากก็เกิดความเลื่อมใสจนลืม ถวายเครื่องบัดพลี พญาแถน ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ก่อกำเนิดเผ่าพันธุ์และบันดาลน้ำฝนแก่โลกมนุษย์

พญาแถนครั้นไม่ได้รับเครื่องบัดพลีจากมนุษย์และสรรพสัตว์ รวมทั้งเทวดาที่เคยเข้าเฝ้าเป็นประจำ ไปฟังธรรมกับพญาคันคากจนหมดสิ้น จึงบังเกิดความโกรธแค้นยิ่งนัก

พญาแถนโกรธแค้นที่เหล่ามนุษย์และสรรพสัตว์หันไปบูชาพญาคันคาก จึงสาปแช่งเหล่ามวลมนุษย์ไม่ให้มีฝนตกเป็นเวลาเจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน ทำให้เกิดความแห้งแล้งไปทุกหย่อมหญ้า เหล่ามวลมนุษย์จึงได้เข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์ทูลถามและขอความช่วยเหลือ

พญาคันคากรู้ด้วยญาณจึงบอกมนุษย์ว่า เพราะพวกเจ้าไม่บูชาพญาแถน ท่านจึงพิโรธ จึงบันดาลมิให้มีฝนตกลงมา ความแห้งแล้งมีมาเจ็ดปี พญานาคีผู้เป็นใหญ่ในเมืองบาดาลที่เข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์คันคากอยู่ขณะนั้นได้รับฟังจึงยกทัพบุกสวรรค์โดยไม่ฟังคำทัดทานของพระโพธิสัตว์คันคาก

แต่พญานาคีพ่ายแพ้กลับมาและบาดเจ็บสาหัสด้วยต้องอาวุธของพญาแถน พระโพธิสัตว์คันคากเกิดความสงสารด้วยเห็นว่าพญานาคีทำไปด้วยต้องการขจัดความทุกข์ให้เหล่ามวลมนุษย์ จึงได้ให้พรแก่พญานาคีและเหล่าบริวาร

“ขอให้บาดแผลเจ้าทั้งกายให้หายขาด กลายเป็นลวดลายงามดั่งเกล็ดมณีแก้ว หงอนจงใสเพริศแพร้วเป็นสีเงินยวง ความเจ็บปวดทั้งปวงจงเหือดหายไปจากเจ้า อันว่าตัวเจ้านั้นต่อแต่นี้ให้ศรีชื่น เป็นตัวแทนความเย็นในเวินแก้ว…แท้นอ” (คัดลอกจากบทการแสดง ปรับบางคำให้เป็นภาษากลาง)

นับจากนั้นเป็นต้นมาพระพญานาคีได้ปวารณาตนเป็นข้าช่วงใช้พระโพธิสัตว์ไปทุกๆ ชาติ แต่ความแห้งแล้งยังคงอยู่กับเหล่ามวลมนุษย์ พระโพธิสัตว์คันคากจึงได้วางแผนบุกสวรรค์ โดยให้พญาปลวกก่อจอมปลวกสู่เมืองสวรรค์ พญาแมงงอด แมงเงาเจ้าแห่งพิษ (แมงป่องช้าง) ให้จำแลงเกาะติดเสื้อผ้าพญาแถน พญานาคีให้จำแลงเป็นตะขาบน้อยซ่อนอยู่ในเกือกพญาแถน เมื่อองค์พระโพธิสัตว์คันคากให้สัญญาณจึงได้กัดต่อยปล่อยพิษ

พญาแถนพ่าย…ร้องบอกให้พระโพธิสัตว์คันคากปล่อยตนเสีย แต่พระโพธิสัตว์คันคากกลับบอกว่าขอเพียงพญาแถนผู้เป็นใหญ่ให้พรสามประการ ก็จะมิทำประการใด

หนึ่ง…ให้ฝนตกลงมาตามฤดูกาล เหล่ามวลมนุษย์จะจุดบั้งไฟบวงสรวงพญาแถน

สอง…แม้ว่าฝนตกลงมาดั่งใจมาดแล้ว ให้ในทุ่งนามีเสียงกบเขียดร้อง

สาม…เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นเล้า (ยุ้งข้าว) ตัวข้าพญาคันคากจะส่งเสียงว่าวสนูให้พ่อฟังเป็นสัญญาณว่า ปีนั้นข้าวอุดมสมบูรณ์

พญาแถนได้ฟังคำขอพรสามประการ(ความจริงแล้วสำหรับความคิดผมเองเป็นการขอประการเดียว และมีการบวงสรวงบูชา พญาแถนคงเห็นว่าคุ้ม) จึงได้ให้พรตามปรารถนา นับเนื่องจากนั้นมากลางเดือนหกของทุกๆ ปี ชาวอีสานจะร่วมกันทำบั้งไฟแห่ไปรอบๆ หมู่บ้านแล้วจุดบูชาพญาแถน

ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ พระองค์ได้เสด็จเผยแพร่ศาสนาไปทั่วชมพูทวีป พญานาคีผู้เฝ้าติดตามเรื่องราวพระองค์ บังเกิดความเลื่อมใสและศรัทธายิ่งนัก รู้ด้วยญาณว่าพระองค์คือพญาคันคากมาจุติ จึงจำแลงกายเป็นบุรุษขอบวชเป็นสาวก ตั้งใจปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์

ค่ำคืนหนึ่งพญานาคีเผลอหลับไหลคืนร่างเดิม ทำให้เหล่าภิกษุที่ร่วมบำเพ็ญเพียรทั้งหลายตื่นตระหนก ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องจึงขอให้พญานาคีลาสิกขา เนื่องจากนาคเป็นเดรัจฉานจะบวชเป็นภิกษุมิได้

พญานาคียอมตามคำขอพระพุทธองค์ แต่ขอว่ากุลบุตรทั้งหลายทั้งปวงที่จะบวชในพระพุทธศาสนาให้เรียกขานว่า “นาคี” เพื่อเป็นศักดิ์ศรีของพญานาคก่อนแล้วค่อยเข้าโบสถ์ จากนั้นเป็นต้นมาจึงได้เรียกขานกุลบุตรทั้งหลายที่จะบวชว่า “พ่อนาค”

ต่อมาเมื่อครั้งพระพุทธองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมและจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดาและเหล่าเทวดา กระทั่งครบกำหนดวันออกพรรษา พญานาคี นาคเทวี พร้อมทั้งเหล่าบริวารจัดทำเครื่องบูชาและพ่นบั้งไฟถวาย ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

นับเนื่องจากนั้น ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 จึงได้มีปรากฏการณ์ประหลาดลูกไฟสีแดงพวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขงสู่ท้องฟ้า ปรากฏมาให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้ ทุกคนเรียกขานว่า “บั้งไฟพญานาค”

(เขมชาติ 2544 : 256-258)

บั้งไฟพญานาคทางด้านวิทยาศาสตร์ *

เรื่องการเกิด”บั้งไฟพญานาค” ในทางวิยาศาสตร์ นายแพทย์กนกศิลป์ กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลหนองคาย ได้เฝ้าติดตามศึกษาปรากฏการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคเป็นเวลา 4 ปี ได้ทดลองวิเคราห์การเกิดปรากฏการณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์และได้อธิบายไว้อย่างละเอียด * สรุปคร่าวๆ ดังนี้ (พนิดา 2538 : 78-79)

“ บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสารและจะต้องมีมวล เพราะแหวกน้ำขึ้นมาได้ น่าจะเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เองและจะต้องเบากว่าอากาศ

โดยเงื่อนไขของสถานที่เกิดปรากฏการณ์จะต้องเป็นที่ที่มีแม่น้ำลึกประมาณ 4.55-13.40 เมตร หรือมีหล่มดินใต้น้ำเป็นที่หมักก๊าซ

ก๊าซดังกล่าวเชื่อว่ามีกำเนิดมาจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ มีสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว หมักแล้วเกิด Bacteria Ferment ได้ก๊าซมากพอที่จะพลิกหรือเผยอหล่มโคลนใต้น้ำนั้นได้ โดยมีก๊าซที่ได้เป็นลูกๆ นั้น แต่ละลูกมีขนาด 200 ซีซี ซึ่งพอลอยจากระดับความลึก 20 ฟุตมาถึงระดับผิวน้ำขนาด 100-200 ซีซี จะขยายตัวเป็นฟองก๊าซขนาด 310 ซีซี และเมื่อโผล่พ้นน้ำขึ้นมาถึงระดับ 1-4 เมตร ก๊าซนั้นจะเหลือขนาดแค่ 100-200 ซีซี ซึ่งโตไม่เกินผลส้มก็จะเริ่มติดไฟได้ด้วยตนเอง

คุณสมบัติดังกล่าวมีครบถ้วนในก๊าซร้อนที่มี มีเทนและไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญ”

การเดินทางไปชมบั้งไฟพญานาค

ปรากฏการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นทุกปีและเกิดขึ้นมานานแล้วเดิมคนสนใจไม่มาก ปัจจุบันเรื่องบั้งไฟพญานาครู้จักกันอย่างแพร่หลาย ที่จังหวัดหนองคายผู้คนหลั่งไหลไปชมเป็นหมื่นเป็นแสนกระจายไปตามจุดที่มีบั้งไฟพญานาคขึ้นโดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัย อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอปากคาด

* ศึกษาเรื่องโดยละเอียดใน วารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ 2538

สำหรับปี พ.ศ.2545 วันออกพรรษาของไทยจะตรงกับวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม แต่คาดว่าบั้งไฟพญานาคจะขึ้นมากคือ วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2545 เพราะตรงกับวันออกพรรษาของประเทศลาว

การเดินทางไปดูบั้งไฟพญานาค ถ้าจะไปรถโดยสาร ขึ้นรถโดยสาร กรุงเทพฯ – หนองคาย ที่สถานีขนส่งหมอชิดใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 10 ชั่วโมงเศษ ราคาค่าโดยสารประมาณ 545 บาท เมื่อถึงจังหวัดหนองคายก็หารถสองแถวต่อไปยังอำเภอโพนพิสัย หรืออำเภออื่นๆ เช่นอำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอปากคาด อำเภอบึงกาฬ แต่ที่อำเภอโพนพิสัยบั้งไฟพญานาคจะขึ้นมากที่สุด รายละเอียดสถานที่ชม เมื่อไปถึงสามารถสอบถามได้สะดวก แล้วแต่จะเลือกไปชมที่ไหน

เอกสารค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค

บั้งไฟพญานาค มีการศึกษาค้นคว้าและมีข้อเขียนมากพอควร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

หนังสือ

บั้งไฟพญานาค : มหัศจรรย์แม่น้ำโขง โรงพิมพิ์ คลังนานาวิทยา พ.ศ.2540 สิทธิพร ณ นครพนม ผู้เขียน

บั้งไฟพญานาค : มิติวิทยาศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วารสาร (บอกเฉพาะชื่อ, พ.ศ. , หน้า)

กินรี ปีที่ 15 ฉบับที่ 9 กันยายน 2541 หน้า 62-66

วิทยาจารย์ ปีที่ 100 ฉบับที่ 3 มิถุนายน 2544 หน้า 66-69

ขวัญเรือน ปีที่ 33 ฉบับที่ 719 พฤศจิกายน 2544 หน้า 256-260

ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 กุมภาพันธ์ 2538 หน้า 76-93

ชาวไทย ปีที่ 1 ฉบับที่ 32 27 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2539 หน้า 63-64

บูรพาปาฏิหารย์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 ปักษ์แรก ตุลาคม 2544 หน้า หน้าหลังปก-9

หนังสืออ้างอิง

เขมชาติ (นามแฝง) “แสง สี เสียง อลังการ เปิดตำนานบั้งไฟพญานาค จังหวัดหนองคาย”

ขวัญเรือนรายปักษ์. 33 : 719 (พฤศจิกายน 2544) หน้า 256-260

พนิดา (นามแฝง) “ไขปริศนาบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์แห่งลุ่มน้ำโขง”

ศิลปวัฒนธรรม. 16 : 4 (กุมภาพันธ์ 2538) หน้า 76-93

สกุ๊ปพิเศษ. “บั้งไฟพญานาค ความอัศจรรย์แห่งลำน้ำโขง”

บูรพาปาฏิหารย์. 1 : 4 (ตุลาคม 2544) หน้าปกหลัง-9

นำลงวันที่ 24 ต.ค 2545

http://www.thaifolk.com/doc/literate/payanak/payanak.htm

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท