การกำหนดใจ การวางใจ การตั้งใจ จะตั้งตรงไหน


 การกำหนดใจ การวางใจ การตั้งใจ จะตั้งตรงไหน


โดยอาจารย์การุณย์  บุญมานุช


จะเอาใจไปตั้งไว้ตรงไหน ท่านต้องทราบ ถ้าท่านตั้งใจ ผิดที่ ท่านจะผิด ตลอดไป ถ้าท่านตั้งใจถูกที่ ท่านจะ โชคดี จนตลอดชีวิต ที่ตั้งใจ คือที่ศูนย์กลางกายตรงฐานที่ ๗ ในท้องของท่าน โปรดดูภาพ ด้านล่าง

เหตุใดจึงเอาใจไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย

๑. เพราะที่ศูนย์กลางกาย เป็นที่ตั้งของดวงธรรม ที่เรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือเรียกอีกอย่างว่า ดวงปฐมมรรค ถ้าไม่ตั้งใจตรงนี้ แปลว่า ไม่ถูกมรรคหรือไม่ถูกทาง เมื่อไม่ถูกทางเราก็ไม่พบดวงปัญญา ก็แสดงว่า ไม่ถูกทางของมรรค ๘

๒. เพราะที่ศูนย์กลางกาย เป็นที่สุดของลมหายใจเข้า เป็นที่เกิดเป็นที่ดับ เป็นที่หลับ เป็นที่ตื่น ที่สุดของลมหายใจเข้า เป็นจุดหมายที่หยุด เป็นจุดหมายที่นิ่งของใจ เป็นจุดหมายเห็นธรรมของใจ

** เป็นที่เกิด หมายความว่า เป็นจุดที่ใจของมนุษยโลก ต้องหยุดและนิ่งตรงนั้นจึงจะเกิดได้

** เป็นที่ดับ คือตาย เมื่อจะตาย ใจต้องหยุดตรงนั้นก่อน แล้วจึงตาย

** เป็นที่หลับ คือนอนหลับ ใจหยุดตรงนั้นคือหลับ ถ้าใจไม่หยุดตรงนั้น จะหลับไม่ได้เลย

** เป็นที่ตื่น คือตื่นจากนอนหลับ ใจหยุดตรงนั้นแล้วจึงตื่น อีกความหมายคือ ตื่นจากอวิชชา หมายความว่าเห็นธรรมตรงนั้น

รวมความว่า ถ้าไม่ตั้งใจที่ศูนย์กลางกาย แปลว่า ไม่เห็นความเกิด ความดับ ความหลับ และความตื่น คงอยู่ใต้ปกครองของอวิชชาตลอดไป อวิชชาแปลว่า ความเขลา คือ ไม่รู้อดีต ไม่รู้ปัจจุบัน ไม่รู้อนาคต ไม่เห็นอริยสัจ ๔
๓. เพราะศูนย์กลางกาย คือ ตรงฐานที่ ๗ เป็นเอกายนมรรคซึ่งแปลว่าทางเอกคือ ทางสายเดียว ไม่มี ๒ ทางไม่มี ๓ ทาง ถ้าจะเข้ามรรคผล จะต้องเริ่มตรงจุดนี้ ไปเริ่มที่อื่นไม่ได้ จุดหมายนี้ เป็นที่ผ่านไปผ่านมาของพระพุทธเจ้า ถ้าจะระลึกถึงพระพุทธเจ้า จะต้องเอาใจจรดไว้ตรงนี้ พระพุทธองค์จึงจะทราบความประสงค์ ถ้าตั้งใจไม่ถูกจุดหมายนี้ พระพุทธองค์ไม่ทราบเรื่องราวของเราเลย

///////////////////////////////////////////////////////////////////////

*** อย่ากำหนดใจนอกเหนือจุดหมายที่กล่าว ***

การกำหนดใจของพระและของมารนั้น ต่างกัน
พระ หรือเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ หรือเรียกว่าฝ่ายกุศล หรือฝ่ายบุญ

มาร หรือเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ หรือเรียกว่าฝ่ายบาป หรือเรียกว่าฝ่ายอกุศล หรือเรียกว่า ฝ่ายดำ (ภาคดำ) หรือเรียกว่า อกุศลาธัมมา หรือเรียกว่า อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน

** การกำหนดใจของพระ

กำหนดไว้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เท่านั้น (คือกำหนดใน ได้แก่ ในท้อง คือ ศูนย์กลางกาย)

** การกำหนดใจของมาร

การกำหนดใจของมาร หรือการตั้งสติ หรือการตั้งใจ เขากำหนดนอก ได้แก่ การกำหนดที่นอกเหนือไปจาก ศูนย์กลางกาย เช่น ตั้งที่

- ฝ่ามือ
- ฝ่าเท้า
- กระหม่อม
- ซอกคอ
- หน้าอก
- หลายจมูก
- หน้าผาก ฯลฯ
- กำหนดอย่างนี้ เดินนอกร่ำไป ไม่เข้าในเลย

การกำหนดใจดังกล่าวนี้ มารชอบใจมาก เพราะถูกแนวของเขาที่เราจะไม่พบของจริงตลอดไป

เราจะอยู่ใต้การปกครอง ของอวิชชา ไม่มีโอกาสลืมตา อ้าปากได้เลย

///////////////////////////////////////////////////////////////////////

*** ผลแห่งการตั้งใจ ***

- ตั้งใจที่ศูนย์กลางกาย เห็นดวงปฐมมรรคในท้อง คือ เห็นข้างใน พระให้เห็น เป็นของจริง
- ตั้งใจผิดไปจากศูนย์กลางกาย เห็นดวงธรรมนอกตัว คือ เห็นนอก กิเลสให้เห็น เป็นของหลอก ของปลอม
- เห็นใน ไม่เวียนว่ายเห็นนอก เวียนว่าย
- เห็นใน จะหมดภพ หมดชาติเห็นนอก จะแสวงหาภพ ชาติ
- เห็นใน เป็นวิชาของฝ่ายบุญเห็นนอก เป็นวิชาของฝ่ายบาป
- เห็นใน จะหมดทุกข์เห็นนอก แสวงหาทุกข์
- เห็นใน จะเร็ว จะถึง เดินหน้าเห็นนอก จะล่าช้า เนิ่นนาน ถอยหลัง
- เห็นใน จะหมดเวร หมดกรรมเห็นนอก เวรกรรมยังตามล้าง
- เห็นใน ดวงบุญไม่ถูกระเบิด
- เห็นนอก ดวงบุญแตกกระจาย เพราะถูกมารระเบิด
- เห็นใน ถึงมรรคผลนิพพาน
- เห็นนอก ไม่ถึงมรรคผลนิพพาน ได้แค่ขอถึง แต่ไม่ถึง
- เห็นใน ใกล้พระพุทธองค์เห็นนอก ไกลจากพระพุทธองค์
- เห็นใน ของจริงเห็นนอก ของเก๊
- เห็นใน สงบ มีสมาธิ เห็นนอกใจฟุ้งซ่าน บ้า
- เห็นใน โรคจะหายเห็นนอก โรคกำเริบ
- เห็นใน จะรุ่งเรือง จำเริญเห็นนอก จะเสื่อม ยากจน
- เห็นใน สุคติเห็นนอก ทุคติ

///////////////////////////////////////////////////////////////////////

*** เหตุใดเราจึงตั้งใจไว้ในที่ต่างกัน ***

บ้างก็ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย บ้างก็ตั้งไว้นอกศูนย์กลางกาย เหตุใดจึงตั้งใจต่างกันเช่นนั้น เรื่องการตั้งใจนี้เป็นเรื่องใหญ่ ยากที่จะชี้แจง และยากที่จะให้เหตุผล

พระพุทธเจ้าฝ่ายสัมมาทิฏฐิ หรือฝ่ายบุญ เป็นผู้ค้นคว้า ถ้าบารมีไม่เข้าขั้นพระพุทธเจ้า จะค้นคว้าเรื่องนี้ไม่ได้ เมื่อพระองค์ค้นคว้าที่ตั้งของใจได้แล้วว่า อยู่ที่ศูนย์กลางกาย มนุษยโลกก็ปฏิบัติตามกันเรื่อยมา เป็นผลให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์กันมาก ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้มรรคผล นอกจากจะได้หนทางวิเศษแล้ว ยังได้บุญบารมีแก่กล้ายิ่งขึ้น

ส่วนพระพุทธเจ้าฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ หรือฝ่ายบาป เห็นสัตว์โลกได้มรรคผลกันมาก จำต้องเข้าสอดแทรกความรู้ถูกต้องอันนั้น ให้บ่ายเบนไปจากความถูกต้อง ด้วยการหุ้มเคลือบ เห็น จำ คิด รู้ ของเกจิอาจารย์ให้จำผิด คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด และบอกกันมาคลาดเคลื่อนเรื่อยมา บางโอกาสคนของมารได้อำนาจปกครอง เกิดการรบพุ่ง บ้านแตกสาแหรกขาด บ้านเมืองถูกเผา ตำรับตำราถูกเผา ครั้นผู้รู้รวบรวมใหม่ ก็ได้ตำราครบบ้างไม่ครบบ้าง ขาดบ้างเกินบ้าง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ความรู้ถูกต้อง สูญหายไป มารจะได้ทำงานได้เต็มมือ คือให้ตั้งใจผิดที่ จะได้เวียนว่ายตายเกิดกันมาก ๆ มารเขามีหน้าที่ให้สัตว์โลกได้เวียนว่ายตายดับ เวียนเกิด เวียนตาย ให้สัตว์โลกมีทุกข์โศก โรคภัย พลัดพราก วิบัติ รบราฆ่าฟัน ข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ***นเตียน ให้เห็นผิด จำผิด คิดผิด รู้ผิด รวมความว่ามารเขาเป็นเจ้าโลกและเป็นเจ้ากรรมด้วย เขามีอำนาจบังคับได้หมด จะให้แก่ก็ได้ จะให้ตายก็ได้ ศักดิ์สิทธิ์เหมือนจับวางทีเดียว

ส่วนพระพุทธเจ้าฝ่ายสัมมาทิฏฐินั้น มีหน้าที่ให้ความสว่างแก่สัตว์โลก ให้เห็นธรรมอันประเสริฐ
ให้ความร่มเย็นเป็นสุข ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน

พระพุทธเจ้า ๒ ภาคนี้ เป็นอริต่อกัน ใครทำใจไปในฝ่ายพระพุทธเจ้าภาคบุญ ผู้นั้นเป็นสุข ใครทำใจไปทางพระพุทธเจ้าภาคบาป ผู้นั้น ก็เป็นทุกข์

พระพุทธเจ้าภาคบุญ ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย ไม่ใช่ตั้งที่อื่น
แต่พระพุทธเจ้าภาคมาร ตั้งใจไว้ที่อื่น แต่ไม่ใช่ศูนย์กลางกาย

///////////////////////////////////////////////////////////////////////

*** สรุปความรู้ขั้นตอนนี้เสียก่อน ***

๑. ท่านเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา ๓ ข้อแล้ว แต่ละข้อท่านเข้าใจอย่างไร

๒. ข้อที่ว่า สจิต ฺตปริโยทปนํ การทำใจให้ผ่องใสนั้น ท่านเข้าใจอย่างไร

บัดนี้ ท่านเข้าใจแล้วว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ตามนัยแห่งมรรค ๘ นั้น คืออย่างไร เราจะทำใจให้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น เราจะต้องเอาใจไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายตรงฐานที่ ๗ โปรดดูภาพประกอบ

 

วิชชาธรรมกายมีหลักสูตรให้เรียนมากมาย

วิชชาธรรมกายมีหลักสูตรให้ท่านเรียนมากมาย ทั้งความรู้สมถะ(โลกิยะ) ความรู้วิปัสสนา (โลกุตระ) ครบถ้วน

** ท่านที่เป็นเด็กเล็ก นักเรียน ก็มีหลักสูตรให้เรียนพอควรแก่วัยและหน้าที่

** ท่านที่เป็นนักศึกษาเป็นนักค้นคว้าทดลอง ก็มีหลักสูตรให้เรียนตามสมควรแก่หน้าที่และเวลา

** ท่านที่เป็นผู้ครองเรือน ประกอบธุรกิจการค้า มีหลักสูตรให้เรียนตามความเหมาะสม แก่ผู้มีอาชีพนั้น

** ท่านที่เป็นข้าราชการ นักบริหาร มีหลักสูตรให้เรียนตามความรู้และความสามารถของท่าน

** ท่านพุทธบริษัทที่ต้องการบรรลุ โพธิญาณ และเรียนความรู้ขั้นปรมัตถ์ ระดับปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ วิชชาธรรมกายระดับสูง ก็มีหลักสูตรให้เรียน อย่างครบครัน

บัดนี้ มีท่านผู้รู้ให้ความรู้แก่ท่านทุกหลักสูตรทุกระดับชั้น อย่างนี้แล้วคงเป็นที่พอใจท่าน ยังอยู่แต่เรา เราจะพร้อมที่จะเรียนหรือไม่ เราจะเอาจริงหรือไม่ วิปัสสนาจารย์พร้อมที่จะช่วยท่านอยู่แล้ว


น่าเสียดายที่ท่านมีกำลังวังชาดี อายุยังหนุ่มยังแน่น ปรารถนาบรรลุวิชชาวิเศษของพุทธศาสนา อ่านตำราแล้วได้แต่อยาก แต่ได้ใช้ความหนุ่มแน่นของเขาไปในเรื่องไร้สาระ ถ้าได้ใช้ความหนุ่มแน่นของเขา ได้ใช้พลังใจอันเข้มแข็งของเขา ไปในเรื่องฝึกและปฏิบัติให้ถูกทาง เขาเหล่านั้นก็จะเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนา

ส่วนท่านที่มีความปรารถนา มีความอยาก แต่ขาดครูอาจารย์ชี้แนะ ขอท่านได้โปรดนึกถึงคณะของผม โดยเฉพาะตัวผมเอง(อาจารย์การุณย์  บุญมานุช)พร้อมที่จะรับใช้ ขอให้บอกมาคำเดียว 
 

หมายเลขบันทึก: 216077เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากครับสำหรับคำชี้แนะทุกอย่าง แต่ผู้อ่านต้อยปัญญา อ่านแล้วยังไม่เข้าใจอยู่หลายจุด อยากได้รูปภาพประกอบครับ ในหน้านี้ไม่มีเลย ถ้าเป็นไปได้แนะนำเวปที่สามารถเข้าไปฝึกได้ด้วยจะยินดีมากครับ

           ทางเดินของใจ ทั้ง ๗ ฐาน

           ดวงแก้วใช้บริกรรมนิมิต

เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เวบ   http://www.khunsamatha.com/

 

 

 

 

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

อ่านแล้วมีความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องพื้นฐานของการปฏิบัติ อนุโมทนาบุญครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท