เทคโนโลยีเว็บในห้องสมุดประชาชน


ข้อมูลที่พบจากการวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาเว็บของห้องสมุดประชาชน

เทคโนโลยีเว็บในห้องสมุดประชาชน : ข้อมูลจากการวิจัย

Web technology in Public Libraries 
: Findings from Research

                                                

 แปลโดย สิริพร ทิวะสิงห์

Abstract  Translated article with survey research in  North America, which public libraries using Web technology. Study under library structure, domain, size, design & maintenance of web presences,  and size of the population served matter.

บทคัดย่อ บทความแปลเกี่ยวกับการนำใช้เว็บเทคโนโลยีในห้องสมุดประชาชนในอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการวิจัย  โดยศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของห้องสมุด โดเมนที่ห้องสมุดประชาชนเลือกใช้  ขนาดของเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชน การออกแบบและบำรุงรักษาการนำเสนอข้อมูล  ขนาดของผู้เข้าเยี่ยมชม

หัวเรื่อง  ห้องสมุดประชาชน--บริการสารสนเทศ ; เวิลด์ไวด์เว็บ--การออกแบบและการสร้าง

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดประเภทหนึ่งซึ่งบริการสารสนเทศแก่ประชาชนในชุมชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงทำห้องสมุดจำนวนมากในอเมริกาเหนือใช้เทคโนโลยีเว็บในการบริการสารสนเทศ รายงานของ Urban Libraries Council ปี 2000  พบว่าเว็บเป็นแหล่งสารสนเทศแรกที่ผู้ใช้ห้องสมุดจะสามารถค้นหาสารสนเทศได้ จากการสำรวจประชาชน 3,097 คนเกี่ยวกับการสืบค้นสารสนเทศ พบว่า ร้อยละ20.3 ใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลเพียงอย่างเดียว ร้อยละ 9.7สืบค้นจากห้องสมุดเท่านั้น

            จากรายงานดังกล่าวจึงมีการสำรวจบรรณารักษ์จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งบรรณารักษ์เห็นว่า อินเตอร์เน็ต หรือ Web-based สามารถที่จะจัดหา หรือตอบสนองด้านข้อมูลได้ดี สามารถจัดบริการสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดได้ดีขึ้น        อย่างไรก็ตามเว็บเทคโนโลยีสามารถที่จะเป็นผู้ช่วยในการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดในแต่ละวัน ซึ่งผู้ใช้ห้องสมุดสามารถที่จะเลือกหัวข้อตามความสนใจของตนเองหรือกลุ่ม

            ในการนี้บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนต้องมีการจัดการข้อมูลเอกสารให้สะดวกต่อการสืบค้น เพื่อให้ทันต่อสภาพการใช้สารสนเทศในปัจจุบัน จึงต้องมีการเตรียมข้อมูลที่มีในปัจจุบันเพื่อจัดเก็บในรูปแบบของเว็บ วิธีการเยี่ยมชม Libweb ซึ่งรวบรวมหน้าโฮมเพจของห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศไว้ จะทำให้บรรณารักษ์ได้ทราบและเรียนรู้รูปแบบของเว็บและเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำเว็บของห้องสมุดแต่ละแห่ง

            ความแตกต่างของผลกระทบจากเว็บทำให้มีคำถามเกิดขึ้นว่า ห้องสมุดประชาชนมีความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีกันอย่างไร ขอบเขตหรือการประเมินในการจัดทำเว็บเพื่อให้จัดบริการสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด ดังนั้นบุคลากรห้องสมุดจึงต้องเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อการกระทำดังกล่าว

จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าห้องสมุดประชาชนในสหรัฐอเมริกาต้องให้บริการแก่ผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 10,000 คน   เว็บเทคโนโลยีจึงเป็นแหล่งสารสนเทศใหม่ ที่ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถที่จะเข้ามาสืบค้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยการติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่วยลดจำนวนปริมาณผู้ใช้ได้บางส่วน แต่เป็นความยากที่ห้องสมุดจะต้องหาทุนและพัฒนาเว็บไซต์ของตนเอง เพราะงบประมาณในปี 2001 ของห้องสมุดประชาชนถูกลดลงเหลือเพียง 3.9  ซึ่งลดลงจากปี 2000 และ 1999 ซึ่งได้รับในอัตรา 6.5, 7.5 ตามลำดับ ห้องสมุดจึงต้องหาแนวทางในด้านงบประมาณ หรือความเป็นไปได้ในแง่สารสนเทศเชิงพาณิชย์เพื่อความสำเร็จในการบริหารจัดการ

 

โครงสร้างของห้องสมุดประชาชน

            ห้องสมุดประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ข้อมูลปี 2001 พบว่า ประชาชนร้อยละ 97 ของชุมชนในอเมริกาเหนือเข้าใช้ห้องสมุดในชุมชนของตนเอง  มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ไม่ได้เข้าไปใช้ห้องสมุด จากข้อมูลในนามานุกรม American Libraries Directory ปี 2001-2002 พบว่า อเมริกามีห้องสมุดประชาชน 9,415 แห่ง ซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีสาขาย่อยจำนวน 1,358 แห่ง ในขณะที่แคนาดามีห้องสมุดประชาชนจำนวน 706 แห่ง และเป็นห้องสมุดที่มีสาขาย่อยจำนวน 124 แห่ง

            ในปี 1998 ห้องสมุดประชาชนร้อยละ 53 อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลกลาง ร้อยละ 12 อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐ ร้อยละ 11 อยู่ภายใต้องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เช่น สมาคมต่างๆ  ร้อยละ 8 อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลท้องถิ่น ร้อยละ 6 อยู่ภายใต้การบริหารของความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ร้อยละ 3 เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนประจำตำบล และ ร้อยละ 1 เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารของเมือง (ข้อมูลจาก Nation Center of Education Statistics, ปี 2001)

            ห้องสมุดประชาชนทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารเทศเพื่อบริการแก่ประชาชนในชุมชน ไม่เน้นการจัดหาเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ในอเมริกาพบว่า งบประมาณร้อยละ 78 ได้มาจากท้องถิ่น  ร้อยละ 13 มาจากรัฐบาลรัฐ  ร้อยละ1 มาจากรัฐบาลกลาง ซึ่งงบประมาณที่ได้รับนั้นได้ถูกจัดสรร หรือนำมาใช้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตน้อยกว่าร้อยละ 5 การดำเนินงานห้องสมุดรัฐบาลมีโครงสร้างในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุด

ประชาชนภายใต้กฏหมายของรัฐแต่ละรัฐเพื่อให้การจัดบริการสารสนเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่ง 3 ใน 4 ของห้องสมุดประชาชนได้เป็นสมาชิกและได้รับความเหลือด้านการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บเทคโนโลยีจากรัฐด้วย

 

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเว็บเทคโนโลยี

            วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาเว็บเทคโนโลยีที่ห้องสมุดประชาชนนำมาใช้ ผลของการศึกษาจะเป็นรายงานเกี่ยวกับเนื้อหาและบริการของห้องสมุดประชาชน และทำให้ทราบมูลดังนี้ 1)การเลือก Web Domain ของห้องสมุด 2)ผู้จัดทำ/ดูแลเว็บของห้องสมุด 3)ผู้ออกแบบเว็บไซต์ของห้องสมุด 4)ผู้ดูแล/ปรับปรุง และความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ 5)ขนาดของเว็บไซต์ที่จัดทำ

            ในการติดต่อสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนโดยผ่านเว็บนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเชื่อมเช่นเดียวกับเว็บ The Public Library Association (2001) ได้สำรวจการติดต่อผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ การบริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้าด้วย E-mail  บริการส่งเอกสาร รวมถึง NCES ได้สำรวจบริการสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่างๆ พบว่ารัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวนของจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ Bertot และ McClure  ในปี 1998 ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อนโยบายของห้องสมุดประชาชนในอเมริกาเกี่ยวกับการเชื่อมโยงห้องสมุดประชาชนกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผลทำให้ที่อยู่ของห้องสมุดประชาชนปรากฏในเว็บ

ในประเทศอังกฤษ UKOLN  ได้จัดตั้งคณะกรรมการสำรวจห้องสมุดประชาชนอินเตอร์เน็ตขึ้นในปี 1995 เพื่อทำการสำรวจการติดต่อเว็บของห้องสมุด ประเภทของการติดต่อ การจัดบริการบนอินเตอร์เน็ต (ISPs) และการนำเสนอข้อมูลบนเว็บของห้องสมุดประชาชน หลังจากในปี 1999 Kelly และ Peacock 1999 ได้เริ่มศึกษาขนาดของเว็บไซต์ ชื่อโดเมน คล้ายกับการศึกษาในอเมริกาและแคนาดา

 

วิธีการศึกษา

            เลือกประชากรโดยสุ่มอย่างง่ายจากห้องสมุดประชาชนในนามานุกรม American Library (2000) ได้ห้องสมุดในการศึกษา 189 แห่ง  ขอบเขตของการศึกษาจะศึกษาเฉพาะหอสมุดกลางไม่ศึกษาห้องสมุดที่เป็นสาขาย่อย  การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ทำได้โดยการใช้ Alta Vista และ Google สุ่มเลือกห้องสมุดที่เป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยศึกษาการเข้าถึง  บริการบนเว็บ ชื่อและที่อยู่ของห้องสมุดที่กำหนดใช้สืบค้น  รวบรวมข้อมูลระหว่างปี 2001-2002  โดยเริ่มจากกำหนด URL เพื่อเข้าสู่เว็บเพจ และใช้การ Link ไปยังข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการศึกษา และขนาดของเว็บไซต์ สำหรับการ Link นั้นจะมีการ Link จากภายในเว็บเพจไปยังเว็บเพจที่เกี่ยวข้อง และ Linkจากเว็บเพจภายนอกมายังเว็บเพจที่ศึกษา

สำรวจข้อมูลเบื้องต้นของห้องสมุดประชาชน 189 แห่ง ซึ่งอยู่ใน 44 รัฐ แยกเป็นห้องสมุดในเขตของแคนาดาและตำบลในโคลัมเบีย จำนวน 4 แห่ง 1  5 แห่งเป็นห้องสมุดในรัฐอิลินอยด์  12 แห่งจากนิวยอร์ค 11 แห่งจากเท็กซัส  และ 9 แห่งจากวิสคอนซิน หากแยกตามภูมิภาคพบว่าเป็นส่วนใหญ่ห้องสมุดที่อยู่ทางตะวันตก 24 แห่ง โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของห้องสมุด จำนวนผู้ใช้ที่เข้ารับบริการ งบประมาณประจำปี และจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เพื่อทราบโครงสร้างของห้องสมุด นอกจากนี้ยังได้ใช้ E-mail สำรวจข้อมูลจากห้องสมุดที่ศึกษามีที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 120 แห่ง มีเพียง105 แห่งยังเป็นที่อยู่ที่ใช้งานได้เป็นปัจจุบัน

 

ผลการศึกษา จากการสำรวจเว็บของห้องสมุดประชาชนพบว่าในปี 2002 ห้องสมุดมีอัตราความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77 จากร้อยละ 58 ในปี 2001 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

โดเมนยอดนิยมที่ห้องสมุดประชาชนเลือกใช้   ร้อยละ 46 ใช้โดเมนเป็นชื่อของประเทศหรือภูมิศาสตร์ ได้แก่ .us .ca เป็นต้น โดยชื่อที่นิยมนำมาตั้งชื่อของเว็บนั้นมักจะมีชื่อของเมือง หรือรัฐด้วย เช่น Free Library of Springfield Township เป็นต้น และปรากฏในที่อยู่บนระบบอินเตอร์เน็ตด้วย ทำให้ผู้ที่จะค้นหาสามารถกำหนดชื่อเมืองเป็นคำค้นสำหรับการติดต่อเข้าสู่เว็บได้ เช่น URL:http://www.hartshorne.lib.ok.us นอกจากชื่อเมือง (Hartstorne) แล้วยังสามารถค้นจากชื่อ Oklahoma ซึ่งเป็นเมืองในอเมริกาได้ด้วย (ok.us)

ประเภทของห้องสมุดประชาชน ส่วนใหญ่เป็นสถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไร จากโฮมเพจ พบว่า ร้อยละ 32  นั้นใช้ .org เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต  ร้อยละ 12 มีลักษณะเป็นองค์กรเชิงพาณิชย์ ซึ่งใช้ .com เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต  และร้อยละ  8 เป็นลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือ (.net) องค์กรรัฐบาล (.gov) และสถาบันการศึกษา (.edu)

การจัดตั้งเว็บไซต์ของห้องสมุด สิ่งแวดล้อมในการนำเสนอสารสนเทศบนเว็บคือการนำข้อมูลขึ้นบนระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งระบบการจัดเก็บข้อมูลนั้นมีส่วนสัมพันธ์กับโดเมน ชื่อเว็บไซต์และการเข้าถึงข้อมูล ส่งผลถึงจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ เช่น http://www.lioninc.org มีผู้เยี่ยมชมมากกว่า http;//www.ci.new-london.ct.us ผลการศึกษาพบว่า ห้องสมุดร้อยละ 66 จัดตั้งเว็บโดยจัดเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลขอห้องสมุดเอง ร้อยละ 19 นำข้อมูลฝากไว้กับหน่วยงานต้นสังกัด และร้อยละ 12 ฝากข้อมูลไว้กับองค์กรเชิงพาณิชย์

ขนาดของเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชน   ศึกษาจากจำนวนเว็บเพจ พบว่ามีจำนวนน้อยที่สุดตั้งแต่ 1 เว็บเพจ มากที่สุดจำนวน7,451 เว็บเพจ  โดยเฉลี่ยห้องสมุดประชาชนจัดทำเว็บเพจประมาณ  305 เว็บเพจ         ขนาดของเว็บไซต์มีตั้งแต่ 522-32,202 ไบต์ โดยเฉลี่ยมีขนาด 4,532 ไบต์ ซึ่งขาดของเว็บไซต์ของห้องสมุดประชาชนมีความแตกต่างจากเว็บไซต์ยอดนิยมประเภท Search Engine ที่ได้สำรวจในปี 2002 เช่น Yahoo (17,045 ไบต์) Looksmart (15,771 ไบต์) เป็นต้น เทียบอัตราของข้อมูลบนเว็บไซต์ของห้องสมุดประชาชนเป็น 1:5 ของเว็บไซต์พาณิชย์ดังกล่าว

การออกแบบและปรับปรุงในการนำเสนอข้อมูลเว็บ

            การออกแบบ ห้องสมุดประชาชนร้อยละ 58 มีบุคลากรห้องสมุดทำการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตนเองซึ่งเป็นลักษณะงานในหน้าที่โดยตำแหน่ง ร้อยละ 11 ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบด้วย ร้อยละ 8 เป็นการออกแบบและดูแลของหน่วยงานรัฐบาลหรือองค์กรเชิงพาณิชย์  และร้อยละ 14 มีอาสาสมัครในชุมชนช่วยในการออกแบบและดูแลข้อมูลในเว็บไซต์

            การปรับปรุง ห้องสมุดประชาน 3 ใน 4 มีการกำหนดตารางในการปรับปรุงเว็บไซต์ที่ชัดเจน ซึ่งร้อยละ 23 บรรณารักษ์ต้องทำในส่วนนี้เอง ร้อยละ 19 ทำการปรับปรุงโดยเจ้าหน้าที่ระบบของห้องสมุด ร้อยละ 37 ทำการปรับปรุงข้อมูลทุกสัปดาห์  ร้อยละ 26ปรับปรุงข้อมูลทุกเดือน  ร้อยละ 14 ปรับปรุงข้อมูลทุกวัน  ร้อยละ11 ปรับปรุงข้อมูลปีละ 3 ครั้ง และปีละ 2 ครั้ง เท่ากัน

ขนาดของผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ      จากห้องสมุด 159 แห่ง พบว่ามีเพียง 124 แห่งเท่านั้นที่เก็บสถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือร้อยละ 78  ร้อยละ 22ไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ จากสถิติพบว่าผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บมีจำนวนมากถึง 225,809 ครั้ง โดยเฉลี่ยมีการเยี่ยมชมเว็บประมาณ 16,270 ครั้ง ซึ่งจำนวนการเยี่ยมชมนี้สามารถใช้เป็นดัชนีในการวัดขนาดของห้องสมุดได้

            จากการวิเคราะห์ห้องสมุดจำนวน 31 แห่ง  โดยแบ่งเป็นห้องสมุดที่เตรียมสำหรับให้บริการผู้ใช้ในการเข้าเว็บออกเป็น 4 กลุ่ม คือ มากกว่า 42,000 ครั้ง  ระหว่าง 16,000-42,000 ครั้ง ระหว่าง 6,440-15,999 ครั้ง และน้อยกว่าว่า 6,440 ครั้ง ซึ่งพบว่าห้องสมุดที่ดำเนินการและมีข้อมูลของตนเอง  มีจำนวนผู้เข้าใช้มากกว่าห้องสมุดที่ให้องค์กรหรือหน่วยงานอื่นปรับปรุงหรือฝากข้อมูลไว้กับหน่วยงานอื่น เมื่อพิจารณาการนำเสนอข้อมูล พบว่าหน้าแรกของเว็บเพจห้องสมุดขนาดใหญ่มีข้อมูลมากกว่าหน้าแรกของเว็บเพจของห้องสมุดขนาดเล็ก (ค่าเฉลี่ย 9,313 และ 5,069 ไบต์) ตามลำดับ

           

บทสรุป จากการศึกษาพบว่าห้องสมุดประชาชนส่วนใหญ่ใช้เทคนิคพื้นฐานในการสร้างเว็บด้วยตนเองเพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถสืบค้นได้สะดวกโดยที่ไม่ต้องมาที่ห้องสมุด สามารถสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้

            1.ผู้บริหารห้องสมุดประชาชนต้องเห็นความสำคัญในการใช้เว็บเป็นเครื่องมือในการให้บริการ เห็นได้จากอัตราที่เพิ่มขึ้นในปี 2001-2002 จาก ร้อยละ 58 เป็นร้อยละ 77 ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดแกบรรณารักษ์ แต่บรรณารักษ์ต้องพยายามทำกิจกรรมบนเว็บ เพราะเทคโนโลยีเว็บเป็นความจริงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองสื่ออิเล็กทรอนิกส์

            2. ห้องสมุดประชาชนไม่ลืมวัตถุประสงค์ของห้องสมุดชุมชนที่มีความเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยเฉพาะการจัดบริการสารสนเทศท้องถิ่น แม้ว่าจะเป็นการนำเสนอบนเว็บ

            3.บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนต้องพยายามจัดหาสารสนเทศที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อให้ผู้สามารถสืบค้นได้จากหน้าเว็บ โดยต้องใช้ผู้ที่ชำนาญและงบประมาณ หากบุคลากรขาดความชำนาญ  ต้องมีการฝึกฝนเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเว็บได้ด้วยหน่วยงานของตนเอง สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเว็บคือ เวลา งบประมาณ ทักษะในการสร้างและปรับปรุงข้อมูล ต้องพยายามศึกษาเกี่ยวกับโลกของห้องสมุด เพื่อที่จะจัดหาแหล่งสารสนเทศที่น่าสนใจจากอินเตอร์เน็ตให้เชื่อมต่อกับเว็บของตนเอง

            4.ห้องสมุดขนาดเล็กมักไม่มีตัวนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อเทียบกับห้องสมุดขนาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องมาจากห้องสมุดขนาดใหญ่มีบุคลากรมากกว่าทำให้สามารถจัดการ ออกแบบเว็บไซต์ได้ดีกว่าห้องสมุดขนาดเล็ก

            5.ห้องสมุดประชาชนมีการแข่งขันของบุคลากรและการจัดหางบประมาณ เพื่อใช้ในการออกแบบ ปรับปรุงเว็บไซต์  ห้องสมุดร้อยละ 69 มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสารสนเทศบนเว็บ

            ผลจากการศึกษาทำให้ห้องสมุดประชาชนมีความชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและนำเว็บเข้ามาใช้ในการบริการสารสนเทศ นับเป็นการเผชิญหน้ากับโลกของเว็บ การสืบค้นเชิงพาณิชย์ และบริการนามานุกรมต่างๆ แต่ผลการศึกษาของ The Urban Council นั้นชี้ให้เห็นแผนหรือขั้นตอนอย่างง่ายอย่าง 3 ประการ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงภารกิจและรูปแบบการให้บริการ  การยอมรับและใช้อินเตอร์เน็ตในอนาคต  หรือจะปฏิเสธที่จะทำให้ห้องสมุดเริ่มเข้าสู่ช่วงยุคเสื่อม เมื่อเทียบกับห้องสมุดอื่นๆ ที่ยอมรับเทคโนโลยีซึ่งจะทำให้ห้องสมุดก้าวหน้ามากกว่า

เอกสารอ้างอิง

Prabha, Chandra & Irwin, Raymond. (2003). Web technology in public libraires : findings from research. Library Hi Tech. 21(1) 62-69.      

หมายเลขบันทึก: 214976เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2008 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ..น้องตุ่น พี่ตุ้มนะจ๊ะ..

แวะมาเยี่ยมเยียนกันค่ะ..

น้องตุ่นสบายดีมั๊ยคะ..

ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ

ได้ยินเสียงทักทายของครูพี่ตุ้มแห่ง รร.บ้านกระทุ่ม...

ทำให้เห็นประโยชน์ของ blog G2K...มากยิ่งขึ้น

ครูพี่ตุ้มคงสบายดีนะคะ

น้องโก๊ะจิจัง...ขอบคุณที่แวะมาทักทายเป็นประจำ

แวะมาทักทายนิ เค้าเอง

ใคร่อ่ะ ขอโทษจ๊ะ จำชื่อจริงไม่ได้...ให้ข้อมุลมากอีกหน่อยนะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท