80. ความสำคัญของพลศึกษา


ความสำคัญของพลศึกษา

               จากการเป็นครูพลศึกษาคนหนึ่งจึงใคร่ขอนำเสนอ  ดังนี้

ความสำคัญของพลศึกษา

การสอนวิชาพลศึกษาจะได้ผลเหมาะสมและปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องเพียงใด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหนนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับครูพลศึกษาและองค์ประกอบอื่น ๆ แล้ว ย่อมขึ้นอยู่กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหัวหน้าหมวดวิชาพลานามัยและการสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน กำหนดนโยบาย กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบรวมทั้งประเมินผลของการดำเนินงานของครูพลศึกษา คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบนโยบายลงมาแล้วว่า จะสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬาในโรงเรียนเป็นพิเศษ เพื่อหาเพชรเม็ดงาม   ต่อไปนี้ทุกโรงเรียนคงได้รับสัญญาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องเพิ่ม "ชั่วโมงกีฬา" ขึ้นอีกในแต่ละวัน เพราะแต่เดิม หลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษามีชั่วโมงพลศึกษา แค่ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ น้อยจนน่าใจหาย
               แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้นักเรียนได้เล่นกีฬาอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ถูกต้องตามกฎกติกา มารยาท และถูกต้องตามวิทยาศาสตร์การกีฬา อันเนื่องมาจากโรงเรียนที่

กระจัดกระจายอยู่ต่างจังหวัดโดยเฉพาะโรงเรียนเล็กๆ คงไม่มีครูพอที่จะดูแลเด็กเล่นกีฬา หรือครูไม่มีความถนัดในเรื่องกีฬา  เมื่อ 3-4 ปีก่อนเคยมีข่าวว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะจัดหาครูพลศึกษาไปให้ในโรงเรียนทั่วประเทศที่ไม่มีครูพละ แต่พูดกันไปพูดกันมาโครงการที่ว่าก็ล้มไป เด็กตามต่างจังหวัดโดยเฉพาะในชนบทก็คงเล่นกีฬาแบบตัวใครตัวมัน เล่นกันตามยถากรรมและเล่นกันตามบุญตามกรรมดังเดิม
               แนวทางแก้ไข  คือ การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาครูตามโรงเรียนที่ไม่ได้จบวิชาเอกพลศึกษา เพื่อให้เรียนรู้ในหลักวิชาของการเล่น การฝึกและกฎ กติกา มารยาทของกีฬาประเภทต่างๆ
โรงเรียนก็ต้องปรับเวลาในการเล่นกีฬาของเด็กเสียใหม่ เช่น เคยปล่อยให้เด็กเล่นกีฬาในตอนเที่ยงหลังกินข้าวกลางวันแล้ว  ไม่ควรให้เด็กเล่นกีฬาหนัก ๆ อย่างฟุตบอล ตะกร้อ วอลเลย์บอล บาสเกตบอล ในตอนพักเที่ยง ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  แล้วหันมาจัดเวลาให้เด็กเล่นกีฬากันใหม่ คือ ชั่วโมงสุดท้ายในการสอนแต่ละวันเวลาประมาณ 14.30-15.30 น. ให้เด็กเล่นกีฬาเป็นกิจจะลักษณะ

โดยมีครูคอยเข้าไปคอยดูแลให้คำแนะนำและช่วยเหลือให้ทุกสนาม  หากมีครูไม่เพียงพอหรือขาดความถนัด  อาจใช้วิธีนำเด็กหนุ่มๆ ผู้ใหญ่หรือศิษย์เก่าของโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้านที่เก่งกีฬาชนิดต่างๆ มาช่วยครูในโรงเรียนสอนกีฬาต่างๆ ที่ว่านี้ หรือไม่ก็เป็นช่วยกันดูแลช่วยกันฝึกทักษะให้
เด็กรู้จักกฎ กติกา มารยาท   เพื่อให้รู้จักระเบียบรู้จักหน้าที่ และความรับผิดชอบ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จะได้รู้จักและเคารพกฎหมาย กฎเกณฑ์ของบ้านเมือง รู้จักบทบาทหน้าที่ของพลเมืองที่ดี ประเทศก็จะเจริญก้าวหน้า เพราะผู้คนในชาติเป็นพลเมืองดี

หมายเลขบันทึก: 214010เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับ

  • ผมเป็นคนหนึ่งที่ใจเป็นกีฬา เล่นได้ทุกอย่างแต่เอาดีไม่ได้สักกะอย่าง...อิอิ
  • นอกจากนันทนาการแล้วช่วยสุขภาพดีด้วย
  • 48e59864b8853

เจริญพร โยมสาวสวย

การให้ความสำคัญของพลศึกษายังน้อย

เมื่อเห็นประเทศอื่นที่เขาทุ่มเทอย่างจริงจัง

หากทางการให้ความสำคัญก็จะเป็น

ประโยชน์แก่ประเทศชาติหลายทาง

 

เจริญพร

แวะมาเยี่ยมคุณพี่ครับผม

                                

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ

* สวัสดีค่ะ

* ขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อคิดเห็น และมาเยี่ยมเยียนกัน

สวัสดีค่ะน้อง..โก๊ะจิจัง แซ่เฮ~natadee ที่สุดในแก๊ง

* อยากไปด้วยค่ะถ้าสังขารดีกว่านี้ (เคยกระดูกเชิงกรานหักทั้งสองข้างเพราะอุบัติเหตุรถชนค่ะ)

* แต่รับรองว่าจะรักษาสุขภาพอย่างที่น้องบอก..จ้า..ขอบคุณ

* อย่าซนนักนะจ๊ะ เดี๋ยวตกแล้วหมดสวยนะ...จะบอกให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท