อาหารกับโรคเกาต์


อาหารกับโรคเกาต์

อาหารกับโรคเกาต์

 

      คุณรู้ไหมว่าความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากปัญหาในการกินของเรานี่เอง  เพราะว่าถ้ากิน ไม่ดีก็ทำให้เกิดโรคโน่นโรคนี่ได้ง่ายๆ แต่ถ้ารู้จักเลือกกินอาหารให้เหมาะสมก็จะทำให้สามารถห่างไกลโรคต่างๆได้

โรคเกาต์ ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดจากปัญหาจากเรื่องอาหารการกิน วีธีการป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุดคือ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก

         โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกรดยูริกภายในข้อ และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัยก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนที่จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ และนอกจากนี้ยังพบว่าผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย

 

โดยปกติแล้วร่างกายจะได้กรดยูริก มาจาก 2 แหล่งคือ

          1. ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ในร่างกายที่มากผิดปกติ

          2. จากการกินอาหารบางชนิดที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากในเนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่,เป็ด  เครื่องในสัตว์ ถั่วชนิดต่างๆ

 

คนที่เป็นโรคเกาต์ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆ กำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิม ก่อนจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวดจะถี่ขึ้นและนานขึ้น จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา

ถ้าควบคุมไม่ได้จะพบว่าข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากการสะสมของ กรดยูริกภายในข้อมีจำนวนมาก จนบางครั้งข้อที่ปวดนั้นเกิด การแตกออกและมีสารขาวๆ คล้ายชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง ในที่สุดข้อต่างๆ ก็จะค่อยๆ พิการและ ใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย

อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ   ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไป ต่ออาหาร 100 กรัม)

 

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ ที่ดีที่สุดคือการระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก อาหารที่ผู้เป็นโรคเกาต์ควรรับประทานให้มากคือ.

1. อาหารจำพวกข้าวแป้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอในการทำ กิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อเพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดมากขึ้น

2. คนเป็นโรคเกาต์ควรระวังไม่รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไปเพราะว่าเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอแล้วร่างกายใช้โปรตีนที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้

3. การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริกและทำให้เกิดการขับกรดยูริกทางปัสสาวะมากขึ้น และสามารถป้องกันโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

4. นอกจากนี้การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรดส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีจากตารางพบว่าผักที่นิยมรับประทานยอดอ่อนมีกรดยูริกสูง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน

เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกันดังนั้นหันมาใส่ใจกับอาหารที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่าเพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ.

 

โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกรดยูริกภายในข้อ และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัยก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนที่จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆและนอกจากนี้ยังพบว่าผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย

 

โดยปกติแล้วร่างกายจะได้กรดยูริก มาจาก 2 แหล่งคือ

1. ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆแต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ในร่างกายที่มากผิดปกติ

2. จากการกินอาหารบางชนิดที่สารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากในเนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ

 

คนที่เป็นโรคเกาต์ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆกำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อนแล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวดจะถี่ขึ้นและนานขึ้น จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมไม่ได้จะพบว่าข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากการสะสมของกรดยูริกภายในข้อจำนวนมากจนบางครั้งข้อที่ปวดนั้นเกิดการแตกออกและมีสารขาวๆ คล้ายชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรังและในที่สุดข้อต่างๆจะค่อยๆพิการและใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย

  • อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
  • อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึกปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
  • อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)

 

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ ที่ดีที่สุดคือการระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก อาหารที่ผู้เป็นโรคเกาต์ควรรับประทานให้มากคือ

1. อาหารจำพวกข้าวแป้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอในการทำ กิจกรรมต่างๆโดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อเพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดมากขึ้น

2. คนเป็นโรคเกาต์ควรระวังไม่รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไปเพราะว่าเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอแล้วร่างกายใช้โปรตีนที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้

3. การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริกและทำให้เกิดการขับกรดยูริกทางปัสสาวะมากขึ้น และสามารถป้องกันโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

4. นอกจากนี้การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรดส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีจากตารางพบว่าผักที่นิยมรับประทานยอดอ่อน มีกรดยูริกสูง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน

 

เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกันดังนั้นหันมาใส่ใจกับอาหารที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่าเพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ.

นายแพทย์สัมพันธ์ คหินทพงศ์ อดีตผู้อำนวยการ โรงพยาบาลนครพิงค์

พรรณมณี  ชูเชาวน์
ข้มมูลจาก
หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์

 

กลุ่มเผยแพร่และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี  สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

ที่มา : http://www.aksorn.com

หมายเลขบันทึก: 214009เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท