ผลงานวิจัยที่ดี มีการอ้างอิงและใช้ประโยชน์มากที่สุด ควรมีลักษณะอย่างไร?


ผลงานวิจัยที่ดี ควรเผยแพร่และใช้ประโยชน์ จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

ขอความกรุณา ทุกท่านแสดงความเห็นคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

1.      ผลงานวิจัยที่ดี มีการอ้างอิงมาก และนำไปเผยแพร่ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ควรมีลักษณะอย่างไร?

2.      “ท่านมีแนวทางอย่างไรในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลงานวิจัย เพื่อสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้ดี

 

  • ท่านสามารถตอบได้ไม่จำกัดเนื้อที่
  • ทุกความคิดเห็นของท่าน เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัย และการวิจัยและพัฒนาเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ....

ขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 213973เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

P

1. นายประจักษ์~natadee
เมื่อ ส. 04 ต.ค. 2551 @ 12:30
857789 [ลบ]
ขอบพระคุณ อ.ประจักษ์ คนหน้าตาดี เช่นเคย ค่ะ

ควรมีข้อมูลที่แม่นยำเที่ยงตรง ไม่มีข้อมูลมั่วหรือไม่รู้จริง

มีการวิเคราะห์โจทก์และคำตอบที่ตอบโจทก์ได้อย่างตรงประเด็น

มีข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่ควรจะเป็นโดยมีเหตุผลอ้างอิงได้

มีข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพครับ

นึกได้แค่นี้แหละครับ อิอิ

P

3. อัยการชาวเกาะ
เมื่อ ส. 04 ต.ค. 2551 @ 20:35
858527 [ลบ]

  • สวัสดีค่ะ ท่านอัยการชาวเกาะที่เคารพยิ่ง
  • ติดตามบล็อกของท่าน มาโดยตลอด ได้ความรู้อย่างคุ้มค่าที่สุด จนนำเข้าแพลนเน็ตไปแล้วด้วย อิอิ..
  • ขอชมเชยท่านด้วยความเห็นส่วนตัวว่า ท่านสรุปประเด็นต่างๆ ในแต่ละบล็อกได้ยอดเยี่ยมจริงๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณสำหรับคำตอบ เป็นคำตอบที่มีคุณค่าอย่างยิ่งที่มีความหมายมาก ๆ ค่ะ
  • ขออีกๆๆ ขออีกๆๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณบัวปริ่มน้ำ สงกาสัยต้องแวะมาบันนี้บ่อยๆ ซะแล้ว ด้วยว่าความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น... "ห้องสมุด" ต้องได้ใช้ในการแนะนำแหล่งอ้างอิง และการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยต่อไป ในความคิดเห็นส่วนตัว เห็นว่า"ผลงานวิจัยที่ดี มีการอ้างอิงมาก" จะต้อง

1. มีกระบวนการวิธีดำเนินการศึกษาที่ดี มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ไม่มี Make ข้อมูล โดยควรจะมีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ในการพิจารณา เพื่อช่วยการันตีว่า งานวิจัยนั้นได้ผ่านการศึกษาที่มะระบบและถูกต้อง

2. ในการอ้างอิง ควรจะมีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต้นฉบับ มีความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งวิชาการ เช่น บทความวารสาร บทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่จากวิกิพีเดีย (สารานุกรมเสรี...ที่ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ Edit ข้อมูล) โดยเฉพาะการอ้างอิงจากเว็บไซต์นั้น มีตัวชี้วัดหลายตัวที่แสดงให้ทราบว่า เว็บนั้นมีคุรภาพหรือไม่ เช่น ชื่อผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ความสามารถในการติดต่อกับผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ได้ทันที ความทันสมัยหรือความถี่ในการปรับปรุงเนื้อหา และคำถูกผิด เป็นต้น ตลอดจนมีวิธีการเขียนอ้างอิงที่ถูกต้อง ที่สามารถนำไปสู่เอกสารต้นฉบับได้ และยังรวมถึงการอ้างอิงข้อมูลหากเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน แต่มีหลายแหล่ง วิจัยที่มีคุณภาพควรอ้างอิงจากแหล่งที่ผู้อ้างอิงจำนวนมาก ซึ่งดูได้จาก Cited References ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Impact Factor

สำหรับแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลงานวิจัย นั้น  หน่วยงานควรมีนโนบายที่ชัดเจน...กำหนดดัชนีเลยว่าปีนี้จะผลิตผลงานวิจัยจำนวนเท่าใด...และต้องเป็นงานวิจัยต้องมีคุณภาพปละประสิทธิภาพด้วย ความคิดของสิริพรนี้อาจเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนนะคะ...จะมีใครมาช่วยซื้อหรือเปล่าน้อ

  • หน่วยงานควรจะมีงบประมาณสนับสนุนที่พอเพียง
  • สนับสนุนเวลาในการทำวิจัย...ไม่ใช้ทำงานประจำก็เต็มวัน ทำวิจัยไปทำเสาร์-อาทิตย์
  • มีระบบพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาหารือ และมีระบบการติดตามผลที่ชัดเจน ราย 3 เดือน ส่งเค้าโครงเป็นต้น 6 เดือน ส่งบทที่ 4 เป็นต้น
  • มีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในมือ ที่จะช่วยแนะนำนักวิจัยให้ไปพบเพื่อขอรับการพิจารณา ทำให้งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • มีระบบสนับสนุนอื่นๆ ที่ดี เช่น วัสดุอุปกรณ์ในงานวิจัย ประสานงานกับห้องสมุดเพื่อขอสนับสนุนด้านการชี้แหล่งเอกสารและการจัดเตรียมพิพม์รูปเล่มวิจัยที่ครบสมบูรณ์  เป็นต้น
  • มีคลินิกให้คำแนะนำในการจัดเตรียมบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  • มีเครือข่ายที่สามารถช่วยในการเขียนบทความ บทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งควรเป็นผู้มีความรู้เฉพาะสาขาวิชา และเก่งในเรื่อง Academic Writting จริงๆ เพระหากจ้างผู้ไม่เชี่ยวชาญในสาขา ศัพท์บางตัวดูทะแม่งๆ
  • ส่งงานวิจัยเผยแพร่ในหลายช่องทาง เช่น

- เว็บไซต์ของหน่วยงาน โดยอย่าลืมใส่ counter ไว้ด้วย เพื่อตรวจสอบว่า งานวิจัยนี้มีผู้เข้ามาดูจำนวนกี่คนกี่ครั้ง และถ้าจะให้ได้ใช้ประโยชน์มากที่สุด ควรเป็น Fulltextเลย แต่อย่าลืมใส่ลายน้ำไว้ด้วย...เผื่อมีผู้ไม่มีจริยธรรม Copy ไปใช้

- จดหมายข่าว

-ส่งเผยแพร่ที่ห้องสมุดในสาขาที่เกี่ยวข้อง ...อย่าลืมหอสมุดแห่งชาติ

- วารสาร

- สนับสนุนให้นำผลงานวิจัยไปนำเสนอในการประชุมวิชาการต่างๆ โดยสนับสนุนเวลาไปราชการ และค่าใช้จ่ายทั้งหมด เป็นต้น

และก่อนการกำหนดหัวข้อวิจัย น่าจะมีการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน (ในบางหัวข้อ) เพื่อผลการวิจัยนั้นจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนอย่างกว้างขวางต่อไป...

P

5. tuk-a-toon
เมื่อ อ. 07 ต.ค. 2551 @ 11:27
  • เยี่ยมมาก ๆ เลยค่ะพี่ตูน
  • กำลังจะทำวิจัยสถาบัน เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มาทำด้วยกันไหม อิอิ (เป็นผู้จัดโครงการ และปีนี้ เลยขอทุนทำวิจัยซะเลย)
  • ไม่รู้จะรอดหรือเปล่า อิอิ
ขอบคุณค่ะ

เป็นกำลังใจสำหรับคนทำวิจัยค่ะ

สำหรับคำเชิญรู้สึกเป็นเกีรยติ...แต่พี่คงไม่มีความรู้ความสามารถ

ในฐานะคนห้องสมุด ก็ยินดีให้ความสนับสนุนช่วยเหลือเรื่องข้อมูล...มีอะไรก้อบอกกันมาได้...

แต่ในอนาคตที่เร็วๆ นี้

คงต้องรบกวนขอคำปรึกษาหารือน้องบัวเรื่อง r2r ค่ะ...

P

7. tuk-a-toon
เมื่อ อ. 07 ต.ค. 2551 @ 15:51
863617 [ลบ]
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • และด้วยความยินดีค่ะ หากช่วยกันเติมเต็มในทุกเรื่องได้ ยอดเยี่ยมมากๆ
  • R2R จะประกาศรับสมัคร ในเร็วๆๆ นี้ ค่ะ
  • ขณะนี้ กำลังพิจารณาประเด็น/หัวข้อวิจัย ที่เป็นระดับนโยบายมหาวิทยาลัย และระดับคณะ/หน่วยงาน (ซึ่ง บัว ได้ยื่นขอแจมกับเขาด้วย)
  • จึงต้องอาศัยข้อมูลพี่ตูน มาอ้างอิง
  • เยี่ยมๆๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท