แนวทางการเฝ้าระวังทารกที่ได้รับสารปนเปื้อนเมลานีนจากการดื่มนม


แนวทางการเฝ้าระวังทารกที่ได้รับสารปนเปื้อนจากการดื่มนม

            จากที่เคยลงข้อมูลสารปนเปื้อน เมลานีน ไปบางส่วนแล้ว  ก็ขอเพิ่มแนวทางการเฝ้าระวังนะคะ ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

       1.    แนวทางการเฝ้าระวัง และประเมินความเสี่ยงของโรคนิ่วในทารกเนื่องจากการบริโภคนมผงที่ปนเปื้อนสารเมลามีน

2.    เอกสารวิชาการ พิษของสารเมลามีนเบื้องต้น

ด้วยกรมควบคุมโรค ได้รับข้อมูลการป่วยและเสียชีวิตด้วยนิ่วในไต เนื่องจากการบริโภคนมผงที่ ปนเปื้อนสารเมลามีน (Melamine) ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน โดยพบว่าจนถึงวันที่ 18 กันยายน 2551 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 6244 ราย เสียชีวิต 4 ราย ถึงแม้ว่าส่วนราชการของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนจะได้ดำเนินการอายัตและเรียกคืนสินค้าทั้งหมด แต่ยังมีความกังวลในเรื่องการลักลอบส่งขายในต่างประเทศ นอกจากนั้นข้อมูลที่ทราบยังไม่มีความชัดเจนว่าระยะเวลาที่เกิดการปนเปื้อนอยู่ในช่วงใด ทั้งนี้คณะกรรมการอาหารและยาได้เปิดศูนย์รับสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่สงสัยที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 7188 และ 0 2590 7175   

จากข้อมูลที่ทราบ ถึงแม้ว่าความเสี่ยงของทารกในประเทศไทยที่จะป่วยจากการบริโภคนมดังกล่าวน่าจะน้อย แต่มีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง เนื่องจากความไม่ชัดเจนของระยะเวลาที่มีการปนเปื้อนและการลักลอบนำเข้าของนมผงดังกล่าว ตามแนวทางของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ที่แนบมา 

 

 

พิษวิทยาของเมลามีน เบื้องต้น

เมลามีนอย่างเดียวไม่ได้เป็นพิษต่อไต ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการรับประทานเมลามีนเข้าไปพร้อมกับสารที่คล้ายกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cyanuric acid จะทำให้เกิดไตวายได้  นี่เป็นลักษณะที่น่าจะเป็นสาเหตุของนิ่วในไต และไตวายที่พบในทารกชาวจีน

 

การใช้และการเกิด

เมลามีนใช้กันแพร่หลายในพลาสติก และบางทีในพลาสติกหลากสีที่ทราบกันดี ภาชนะบรรจุอาหาร   USFDA ยอมรับ Cyanuric acid เป็นสารที่เพิ่มไปในอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง

 

พิษของเมลามีน

พิษเฉียบพลันของเมลามีนน้อย จากการรับประทานจะพบ  LD50 ในหนู 3161 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

การศึกษาการให้อาหารในสัตว์ พบว่า มาลามีนประมาณสูงก่อให้เกิดผลหลายอย่างรวมถึงการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ  จากการวิเคราะห์นิ่วในกระเพาะปัสสาวะแสดงให้เห็นว่ามีส่วนผสมของเมลามีน โปรตีน กรดยูริค และฟอสเฟต

 

พิษต่อไตของเมลามีน

จากการศึกษาการให้อาหารในสัตว์เป็นระยะติดต่อกันยาวนานและค่อนข้างยาวนานส่วนใหญ่ไม่ได้ผลว่ามีพิษต่อไตแต่อย่างใด  ในการศึกษาหนึ่งพบว่ามีการอักเสบของไตในหนู    ในหนูและสุนัขปริมาณเมลามีนมากมีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ แต่ไม่ได้ทำให้เกิดพิษต่อไต

 

สารก่อมะเร็งของเมลามีน

IARC ได้ประเมินว่ามีหลักฐานเพียงพอในสัตว์ทดลองในการก่อมะเร็งของเมลามีนภายใต้สภาวะที่ทำให้เกิดนิ่วในไต  ไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอว่าถึงการเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

พิษร่วมกัน

จากการติดตามการระบาดของโรคไตวายเฉียบพลันในแมวและสุนัขมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารสัตว์ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่ามีสารผสมจำนวนมากในอาหารรวมถึงเมลามีนและ Cyanuric acid  ผลการศึกษาในหนูเมื่อไม่นานมานี้ยืนยันว่าเมื่อรับประทานเมลามีนและ Cyanuric acid ร่วมกันจะทำให้เกิด insoluble melamine cyanurate crystals ในท่อไตซึ่งทำให้เกิดการอุดตันและการเสื่อมของท่อไตจนส่งผลให้ไตวาย  มีการตั้งสมมุติฐานว่าสาร melamine cyanurate crystals ที่ก่อตัวขึ้นดังกล่าวที่ไตเนื่องมาจากสารผสมดังกล่าวละลายน้ำได้น้อยมาก คือน้อยมากกว่า 1000 เท่าของ เมลามีนและ Cyauric acid ที่เป็นสารบ่อเกิด

 

 

แนวทางการเฝ้าระวัง และประเมินความเสี่ยงของโรคนิ่วในทารกเนื่องจากการบริโภคนมผงที่ปนเปื้อนสารเมลามีน

สืบเนื่องจากกรณีทารกในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนป่วยและเสียชีวิตด้วยนิ่วในไตเนื่องจากการบริโภคนมผงที่ปนเปื้อนสารเมลามีน (Melamine) โดยพบว่าจนถึงวันที่ 18 กันยายน 2551 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 6244 ราย เสียชีวิต 4 ราย ถึงแม้ว่าส่วนราชการของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนจะได้ดำเนินการอายัตและเรียกคืนสินค้าทั้งหมด แต่ยังมีความกังวลในเรื่องการลักลอบส่งขายในต่างประเทศ นอกจากนั้นข้อมูลที่ทราบยังไม่มีความชัดเจนว่าระยะเวลาที่เกิดการปนเปื้อนอยู่ในช่วงใด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงของทารกไทยต่อกรณีดังกล่าว

วัตถุประสงค์

1.    เพื่อทราบสถานการณ์โรคนิ่วในทารกไทย

2.    เพื่อประเมินความเสี่ยงของการป่วยเป็นนิ่วจากการบริโภคนมผงปนเปื้อนเมลามีนในทารกไทย

นิยามผู้ป่วย

1.    ผู้ป่วยทารกสงสัยนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หมายถึง เด็กทารกอายุ 0-1 ปี และมีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ 1.ร้องไห้เวลาปัสสาวะ 2. ปัสสาวะมีเลือดปน 3. แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นนิ่วในไต หรือโรคไต

2.    ผู้ป่วยทารกสงสัยนิ่วจากการบริโภคนมผง หมายถึง เด็กทารกอายุ 0-1 ปี ที่มีอาการถ่ายแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นนิ่วในไต หรือโรคไตและมีประวัติบริโภคนมผง

3.    ผู้ป่วยเข้าข่ายนิ่วจากการบริโภคนมผงปนเปื้อนเมลามีน หมายถึง เด็กทารกอายุ 0-1 ปี ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นนิ่วในไต หรือโรคไต และมีประวัติกินนมผงที่นำเข้าจากประเทศจีน ก่อนวันที่ 6 สิงหาคม 2551

การดำเนินงาน

1.    ทบทวนข้อมูลจากแผนกเวชสถิติของสถานบริการทางสาธารณสุขทุกแห่ง เพื่อค้นหาผู้ป่วยทารกสงสัยนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ที่มารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 หากพบผู้ป่วยทารกสงสัยนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ให้ทบทวนเวชระเบียนตามแบบสอบสวนผู้ป่วยที่แนบมา

2.    แจ้งแพทย์ในแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกกุมารเวชทุกท่าน ดังนี้

a.     ข้อมูลเบื้องต้นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

b.     ข้อมูลเบื้องต้นทางด้สนพิษของสารเมลามีน

c.     นิยามผู้ป่วยทารกสงสัยนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

d.     หากพบผู้ป่วยทารกสงสัยนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่สอบสวนโรคทางระบาดวิทยาทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการสอบสวนผู้ป่วยต่อไป

3.    เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่สอบสวนโรคทางระบาดวิทยา แจ้งให้สำนักงานควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่รับผิดชอบ หรือสำนักระบาดวิทยาทราบทางโทรศัพท์หมายเลข 02-5901882, 02-5901779 โทรสารหมายเลข 02-5918579 หรือทาง e-mail: [email protected] เพื่อดำเนินการสอบสวนรายละเอียดต่อไป

 


 

                                                                                  
                                                                           ประกาย พิทักษ์

                                                               SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

 

หมายเลขบันทึก: 213498เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2008 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท