ปัญหาภัยแล้ง ศัตรูร้ายของวิชาชีพเกษตร


ภัยแล้ง


เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมารายงานข่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งแจ้งว่า อาร์เจนตินากำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างหน่วงหนัก ส่งผลให้ภาคปศุสัตว์ได้รับผลกระทบเสียหายมีสัตว์ล้มตายจากปัญหาภัยแล้งดังกล่าวเป็นจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ของประเทศอาร์เจนตินามีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทย 5 เท่า แต่มีประชากรเพียง 37 ล้านคน ยังต้องประสบพบเจอกับปัญหาภัยแล้งและได้รับการแก้ไขที่เชื่องช้าเป็นอย่างมาก ซึ่งความจริงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาน่าจะรวดเร็ว เพราะประชากรน้อย พื้นที่ใช้สอยทรัพยากรมีมาก


หันกลับมามองดูประเทศของเราซึ่งมีประชากรมากถึง 63 กว่าล้านคน (จำนวนจริง 63,038,247 คน ณ เดือนธันวาคม 2550) ข้อมูลจากกรมการปกครอง)ล้านคนแต่มีพื้นที่น้อยกว่าประเทศอาร์เจนตินาถึง 5 เท่า (มีพื้นที่ประมาณ 320.7 ล้านไร่) ซึ่งไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยหรือจะกี่รัฐบาลก็ตาม ยังคงหนีไม่พ้นปัญหาน้ำท่วม...ฝนแล้งซ้ำซากเหมือนเดิม โดยที่ยังไม่มีหน่วยงานใด ๆ เข้ามาสนใจดูแลอย่างเป็นจริงเป็นจังเลย ภาครัฐควรจะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจที่เข้ามาสร้างผลงานให้เป็นรูปธรรมในการจัดการปัญหาเรื่องน้ำกินน้ำใช้ รวมถึงน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมิให้ประสบปัญหากับวิกฤติภัยแล้งหรือแล้งซ้ำซากเหมือนกับตัวอย่างในประเทศอาร์เจนตินาหรืออย่างน้อยเพื่อเป็นการผ่อนหนักเป็นเบาก็ยังดี

รัฐควรมีการรณรงค์กระตุ้นให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้น โดยวิธีการขุดสระน้ำประจำไร่นาตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงเราคือให้แบ่งพื้นที่ 30 % เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำรองให้มีใช้ได้เพียงพอตลอดฤดูการผลิต หรือถ้ามีการรับเหมาจัดจ้างจากภาครัฐก็ควรต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรมตรงไปตรงมา การวัดหาปริมาตรความลึกควรวัดจากระดับพื้นดินเดิมลงไปที่พื้นบ่อ มิใช่วัดจากกองดินที่ขุดขึ้นมากลบสูงขึ้นจากขอบสระไปหาความลึกที่พื้นบ่อ เพราะจะเป็นการซ้ำเติมให้พี่น้องเกษตรเดือดร้อนเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะพื้นที่ที่เก็บน้ำไม่ตรงกับพื้นที่ที่ขุดได้จริง ๆ ทำให้กักเก็บน้ำได้น้อยแต่เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น พื้นที่ใดที่กักเก็บน้ำได้อยาก หรือเก็บน้ำไม่อยู่อาจจะใช้ สารอุดบ่อ 2 กิโลกรัม ร่วมกับ สเม็คไทต์ 5 กระสอบ คลุกผสมแล้วทำการหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อก่อนน้ำเข้าก็จะช่วยทำให้บ่อสามารถกักเก็บน้ำได้นานขึ้นและมีไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 213321เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท