วิทยาการสุขภาพ : ระดมสมองเรื่อง Multiprofessional Health Education (๓)


ผู้ประสานงานตรงกลางมีบทบาทสำคัญมากในการเชื่อมต่อสำนักวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน

ตอนที่

ข้อมูลผลงานกลุ่มย่อย ๒ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน ๑๐ คน มีทั้งส่วนที่ตรงกับของกลุ่ม ๑ และส่วนที่แตกต่าง

การจัดการเรียนการสอน
กลุ่ม ๒ มองว่าวิชาที่นักศึกษา ๔ สำนักวิชาสามารถเรียนด้วยกันได้ มีดังนี้
- ศึกษาทั่วไปและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
- Pre-clinic : เศรษฐศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน สถิติ ระเบียบวิธีวิจัย ระบาดวิทยา
- Clinic ฝึกปฏิบัติในชุมชน/ในโรงพยาบาลร่วมกัน
โดยการลงมือปฏิบัตินั้น รายวิชาที่มีอยู่แล้วสามารถดำเนินการได้เลย รายวิชาใหม่ เริ่มในหลักสูตรใหม่ (ปรับปรุง) ๒๕๕๓ และให้มีการใช้ resources ร่วมกัน

เนื้อหา/ประเด็นที่ควรเพิ่มเติมในการเรียนการสอน ได้แก่ นโยบายสุขภาพ ระบบบริการทางสุขภาพ Leadership/management, Health communication, Ethic & law, พฤติกรรมบริการ สมุนไพร/แพทย์ทางเลือก Multiprofessional health team

การทำกิจกรรมร่วมกัน
นอกจากการเรียนการสอนแล้ว กลุ่ม ๒ เสนอว่าควรมีการปฐมนิเทศนักศึกษา การลงชุมชนต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงงานในชุมชน จัดค่าย จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มนักศึกษา/อาจารย์ Introduction to community (อาหาร วิถีชีวิต วัฒนธรรม บทบาทของตัวเอง ชุมชน เครื่องมือที่ใช้) Introduction to clinic

การพัฒนาสุขภาพชุมชนแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน
แยกกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเป็น ๓ กลุ่มคือ
- กลุ่มเด็กและเยาวชน เช่น อนามัยโรงเรียน เด็กด้อยโอกาส เด็กอ้วน โรคระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ
- กลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกและข้อ TB, CA ฯลฯ
- ครอบครัว เช่น เศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิต การพนัน ฯลฯ

กระบวนการดำเนินงาน
- ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- ให้แกนนำ Key person เข้ามามีส่วนร่วม
- รูปแบบ task based แบ่งงาน/ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมไม้ ร่วมมือ

ข้อเสนอแนะ (เท่าที่จดบันทึกทัน) : จัดตั้งทีมทำ curriculum mapping นักศึกษาเรียนร่วมกัน ตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประสานงานต่อเนื่อง

AAR การเข้าประชุมครั้งนี้ของตัวเอง
- ก่อนเข้าประชุมคาดหวังว่าจะได้รู้ถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการ
- ได้ข้อมูลเชิงหลักการว่า Multiprofessional education มีเป้าหมายและรูปแบบอย่างไรบ้าง แต่ยังไม่มีตัวอย่างทางการปฏิบัติ ส่วนประเด็นการพัฒนาสุขภาพชุมชน ได้สัมผัสความคิดในมุมว่าเราจะเข้าไปทำให้/ไปช่วย/ไปทำวิจัยอะไร ไม่มีอะไรที่ได้เกินความคาดหวัง
- อาจารย์จาก ๔ สำนักวิชามาเข้าประชุมน้อย การประชุมยังติดพิธีกรรม เช่น ต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดการประชุม (เราถูกตั้งโดยไม่รู้ตัวและจริงๆ แล้วก็มีแต่ชื่อ ไม่ได้ทำอะไรเลย) กล่าวรายงาน กล่าวเปิด การประชุมลักษณะนี้ไม่สามารถจะทำให้ผู้บริหารและอาจารย์จากสำนักวิชาต่างๆ รู้สึกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว มุ่งมั่นสู่เป้าหมายเดียวกัน....... ตราบใดที่แต่ละสำนักวิชายังยึดมั่นว่าการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรฉันจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ คงต้องรอกันอีกนาน จากการประชุมพอมองเห็นภาพว่ามีอะไรที่ควรทำบ้าง แต่ยังไม่รู้ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนทำต่อไป ใครจะเป็นผู้เริ่มต้น แล้วจะเริ่มต้นอย่างไร.....................
- น่าจะต้องทำอะไรที่ปลุกเร้าให้ทุกคนรู้สึกท้าทาย ตื่นเต้น มี passion มุ่งมั่น อยากเห็น Multiprofessional education เป็นจริง ซึ่งอาจจะต้องมีกิจกรรมหลายรูปแบบ หลายๆ ครั้ง ผู้ประสานงานตรงกลางมีบทบาทสำคัญมากในการเชื่อมต่อสำนักวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน และต้องคิดออกแบบวิธีทำงานแบบใหม่ให้คนต่างสำนักวิชาอยากทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน แบบที่ประชุมๆ กันอยู่นี้เป็นวิธีการที่ได้ผลน้อย นอกจากนี้ต้องระวังอย่าให้การทำงานร่วมกันของทั้ง ๔ สำนักวิชา ทำให้เกิดการแยกตัวเองออกมาจากสำนักวิชาอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย
- สิ่งที่จะกลับไปทำต่อคือให้ข้อมูลการดำเนินงานและการประชุมครั้งนี้แก่อาจารย์ในสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ พาทีมเยี่ยมห้องปฏิบัติการ และทำหน้าที่ของประธานอนุกรรมการด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนต่อไป

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 213289เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 08:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท