ปัญหาน่าห่วง...คุณภาพนักเรียนไทย


ปัญหาน่าห่วง...คุณภาพนักเรียนไทย

             ได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ ทำให้นึกถึงคุณภาพของนักเรียนไทยในปัจจุบัน  ซึ่งน่าจะให้ข้อคิดกับคุณครูทุกๆ คน

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน  เมื่อวันที่  12   มิถุนายน  2551  ได้อธิบายความรู้สึกเป็นทุกข์เกี่ยวกับสถานการณ์ภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่  1 ปี  2551  ที่นายอำพน  กิตติอำพน  เลขาธิการคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ได้แสดงความเป็นห่วงสังคมโดยเฉพาะเยาวชนไทยมีความรู้น้อยและติดยาเสพติดมากขึ้น  และผลจากการทดสอบทางการศึกษาระดับพื้นฐานหรือโอ-เนต  ซึ่งทดสอบความรู้รวบยอดปลายช่วงชั้นตามหลักสูตรการศึกษา  เมื่อวันที่  7  เมษายน  2551  สะท้อนให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยอยู่ในระดับต่ำ  ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ยของผู้เข้าสอบโอ-เนต ป.6 วิชาไม่ถึง 50% ส่วนผลการสอบโอ-เนต ม.6  พบว่านักเรียนมีความรู้เพียง  1 ใน  3 ของความรู้ทั้งหมดตามมาตรฐานหลักสูตร

บทความจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด  ประเมินวิทยฐานะครูต้องยังผลสู่เด็ก ผลสัมฤทธิ์ในนักเรียนแทนคะแนนเลื่อนขั้น  หลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่เริ่มเป็นรูปร่างแล้ว   จากหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะเดิมที่เริ่มใช้ไปเมื่อปี 2548  โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับพิจารณาเข้าสู่วิทยฐานะจะได้รับเงินค่าวิทยฐานะเพิ่มพิเศษ  แบ่งเป็นระดับชำนาญการ  3,500  บาทต่อคนต่อเดือน  ระดับชำนาญการพิเศษ 5,600 บาทต่อคนต่อเดือน  ระดับเชี่ยวชาญ 9,900 บาทต่อคนต่อเดือน  ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ 13,000 บาทต่อคนต่อเดือน

               และจนถึงขณะนี้ครูกว่าร้อยละ 90 จากทั้งหมดกว่า  4 แสนคน ได้เข้าสู่วิทยฐานะชำนาญการและชำนาญการพิเศษแล้ว  อย่างไรก็ตาม  หลังจากที่ใช้ประเมินและเลื่อนวิทยฐานะครูมากว่า 2 ปี มีเสียงสะท้อนกลับมากมาย  โดยเฉพาะปัญหาที่ครูต้องทุ่มเวลาไปกับการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอวิทยฐานะ  จนละเลยหรือห่างไกลกับห้องเรียน  ขณะที่ปัญหาขาดครูก็ซ้ำเติมให้ครูอีกหลายคนที่มีงานรัดตัวอยู่แล้วต้องวุ่นมากขึ้น และเด็กห่างไกลกับครูเข้าไปทุกวัน

              จากบทความจะเห็นได้ว่าครูมีวิทยฐานะมากขึ้น  แต่ทำไมผลสัมฤทธิ์นักเรียนยังต่ำอยู่....ฝากให้ช่วยคิดด้วยนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #km ครูปากชม
หมายเลขบันทึก: 212956เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2008 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • มาให้กำลังใจครูไทย
  • เอามาจากข่าวสดและมติชนนะครับ
  • มาเขียนอีกนะครับ

เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสเขียน Blog ก็คงจะต้องฝึกเขียนมากกว่านี้ ครั้งนี้เลยขออ้างอิงจากแหล่งข้อมูลก่อน ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมนะคะ

  • ด้วยความยินดีครับ
  • อาจารย์ไปที่ผมถูกไหมครับ
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
  • แวะมาให้กำลังใจครับ
  • เขียนๆๆๆ
  • จะเข้ามาอ่านครับผม

อยากเป็นคุณครูเหมือนคุณจังเลย

ผมว่าไม่ว่าอาชีพใดก็แล้วแต่ถ้าเอาใจใส่ในงานที่ทำและมีความรับผิดชอบในงานที่ทำและต้องทำให้เต็มที่ๆสุด เพื่อให้งานนั้นๆผ่านไปได้ด้วยดีโดยที่ไม่ต้องคิดว่าเป็นงานของใครหรือใครจะได้ประโยชน์เพราะ อย่างน้อยเราก็ทำเต็มที่แล้วดีที่สุดแล้ว

สวัสดีครับ

        บทความนี้น่าสนใจครับ

        สำหรับคำถาม

ครูมีวิทยฐานะมากขึ้น  แต่ทำไมผลสัมฤทธิ์นักเรียนยังต่ำอยู่....ฝากให้ช่วยคิดด้วยนะคะ

        ผมว่าคุณเส้นขอบฟ้าคงมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว

       สำหรับผมเอง  ก็คงจะตอบว่าอยู่ที่ "ระบบ" ครับ

                                               ขอบคุณครับ      

      

ขอขอบคุณคุณขจิตและคุณโย่งที่ให้กำลังใจในการเขียน Blog และอยากให้เข้ามาเยี่ยมชมอีกนะคะ

ผมเคย สัมภาษณ์งาน เด็ก จบ ม 6 เอาเลข ทศนิยม ให้ บวก ลบ ทำไม่ได้...

ท่องสูตรคูณ ท่องไม่จบ....พอท่อง แม่ 12... 12*12 =144 พอถามว่า แล้ว 12*13 หล่ะ...ตอบเสียงดัง ฟังชัด ไม่มีครับ !!!!!

ครูทำวิจัย เพื่อขอวิทยฐานะ...ทำไม ไม่ทำงานวิจัย กับ นร ที่ตัวเองสอนหล่ะครับ ทำไม ไม่ลอง คิดปรับปรุง คุณภาพการสอน วัดสัมฤทธ์ผล ก่อน และ หลังการปรับปรุง ได้ประโยชน์หลายอย่าง

1. ครูได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ การสอนของตนเอง

2. ครู ได้คิดหาแนวทางปรัปรุง การยกระดับ สัมฤทธิ์ผล ของ นร ที่ตัวเองสอน

3. หากงานวิจัยนี้สำเร็จ ยกระดับ สัมฤทธฺผล ของ นร ได้ ย่อม หมายถึง ยกระดับประสิทธิภาพการสอนของครูได้

4. ทำวิจัยจบ เอาไปใช้ได้ทันที มีผลกับ นร ทันทีครับ

  • P สวัสดีครับครูหญิง เส้นขอบฟ้า
  • ท่าทางมุ่งมั่น..มาดเข้าท่านะครับ
  • ยินดีที่ได้รู้จักครับ..
  • แล้วติดตามเรียนรู้กันต่อครับครู

เป็นกำลังใจให้ค่ะ ทำต่อไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท