วิจัยสูงส่ง...(ขึ้นหิ้ง)


แวะเข้าไปอ่านของ ดร.สาโรช บุญยกิจสมบัติ มาได้ข้อคิดเกี่ยวกับงานวิจัยดีดีครับ

ยุคนี้ต้องยอมรับว่าการวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาประเทศในระยะสั้นและระยะยาว แต่ดูเหมือนว่าผู้คนในสังคมส่วนใหญ่รวมถึงภาคเอกชนของเราเองกลับสะท้อนความคิดเห็นมายังกลุ่มนักวิจัยภาครัฐกลุ่มใหญ่ ซึ่งหมายถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นว่างานวิจัยส่วนใหญ่ขึ้นหิ้งและไม่ค่อยมีประโยชน์
 
  ปัญหางานวิจัยขึ้นหิ้งที่ว่านี้เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและคงจะต้องใช้เวลานานพอสมควรในการกอบกู้ศักดิ์ศรีของนักวิจัยไทยกลับมา และทุกคนที่กำลังทำหน้าที่นักวิจัยอยู่ก็มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ร่วมกัน   
   
“ทำอย่างไรงานวิจัยจึงจะไม่ขึ้นหิ้ง?” คำถามนี้สามารถแปลกลับมาเป็นคำถามใหม่ได้ว่า “ทำอย่างไรงานวิจัยจึงจะมีประโยชน์และคนในสังคมรับทราบ?”  โจทย์นี้น่าสนใจเพราะว่างานวิจัยที่ทุกคนทำอยู่นี้ก็ต้องมีประโยชน์อยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นเราจะทำหรือ แต่หากคนในสังคมไม่รับทราบก็จะเกิดปัญหาเพราะว่าเขาคือผู้ประเมิน    
      
ทำอย่างไรงานวิจัยของเราจึงจะอยู่ในความสนใจของประชาชนและถูกประเมินว่ามีประโยชน์จริง? ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ผมตอบว่างานวิจัยนั้นต้องเป็นประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติในปัจจุบันอย่างจับต้องได้ ส่วนงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคตนั้น ความน่าสนใจจะน้อยกว่าเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามเมื่อประโยชน์ในอนาคตมาถึง ก็จำเป็นต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเป็นผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องยาวนาน งานวิจัยเพื่ออนาคตนั้นๆก็จะได้รับเครดิตเช่นกัน   
 

ขอแสดงจุดยืนอย่างนี้ครับ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยแบบ Basic Research หรือ Application Research โดยภาพรวมย่อมมีความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งนั้น แต่ในฐานะบุคคลนั้นงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ต้องมีเป้าหมายต่อเนื่องไปสู่ขั้นสุดท้ายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใจ ส่วนการเริ่มงานวิจัยนั้นจะเริ่มที่ Basic Research หรือ Application Research ก่อนนั้น ไม่คำตอบที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับกลยุทธ์การวางแผนวิจัยและโอกาสที่ได้รับครับ เพราะสุดท้ายงานวิจัยจะต้องเป็นแบบวนรอบนั่นคือ Basic  Application  Basic … หรือ  Application  Basic  Application … วนไปไม่มีที่สิ้นสุด ก่อนจากกันอยากฝากนักวิจัยรุ่นใหม่ว่าอย่าลืมนะครับท่านอาจเริ่มจาก Application Research ได้เช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 212886เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2008 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ตามมาดู
  • ชอบ qualitative research และ Action research มากกว่าครับ
  • ขยันจริงๆๆๆๆๆ
  • ผ่านมาพอดี
  • เลยได้แวะมาขอทำ Application Research ด้วยคน อิ อิ
  • กินข้าวเที่ยงหรือยังเจ้า
  • ขอบคุณ อาจารย์ขจิตครับ อิอิ พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับหน้าที่อันใหญ่ยิ่งครับ ขอความสุขจงอยู่กับอาจารย์ครับ
  • สวัสดีครับ พี่เขี้ยว ยังเลยครับ เพิ่งจะส่งวิทยานิพนธ์ครับ
  • ดีใจที่ได้ทักทายครับ

ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้วิจัย

เช่นครู  (ต้อง)  ทำวิจัยในชั้นเรียนหรือวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ได้

ให้เป็น ให้จริง ไม่ใช่ทำแล้วหยุด

เพราะโจทย์วิจยัต้องเกิดขึ้นได้ทุกครั้ง  ก่อนที่จะจบวิจัยแต่ละฉบับ

วิจัยคุณภาพแสดงถึงฝีมือของผู้วิจัยว่าเป็นคนทำงานจริง ๆ

เป็นกำลังใจให้นะคะ

สวัสดีค่ะ คุณคนพลัดถิ่น

เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหมค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ คนขยัน.....

ขอบคุณค่ะ

ใช่เลยครับ คำตอบนี้เป็นคำตอบสุดท้ายที่

......... ............... ....................

............................................

.......................................

...........................................

.............................

........................ ..........................

ถูกต้องนะครับ

ขอบคุณครับ ที่มาเยี่ยมเยือนกัน

อ้าว ท่านเลขาเข้ามาเมื่อใด ใคร่จะถาม

ขอทราบความโปรดแจ้ง แถลงไข

เรื่องที่ขึ้นเป็นเรื่องการวิจัย

แล้วทำไมจึงเข้ามาเชียร์กัน อิอิ

ขยันเพราะต้องการความรู้ครับ ขอบคุณครับ

กำลังใจให้คนขยัน

วิจัยต้องนำมาใช้ได้จริง และเกิดการเรียนรู้พัฒนา ได้สิ่งใหม่ ๆ

พี่วิจัยไม่เก่งแต่เป็นผู้ร่วมวิจัยได้

ขอบคุณครับ คุณพี่ประกาย ที่มาให้ความคิดเห็น ตอนผมเรียนปริญญาเอก ต้องให้พี่มาช่วยด้วยซะแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท