ประชาธิปไตยในโรงเรียน


ประชาธิปไตยในโรงเรียน : แนวทางแก้ปัญหาสังคม

หากมองปัญหาความขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคมไทยปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของฝ่ายที่เห็นด้วยหรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจะพบว่า ความขัดแย้งดังกล่าว เกิดจากการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีความพยายามที่จะชักนำประชาชนให้เห็นคล้อยตาม ไม่ว่าจะเป็นชักนำโดยการให้ความรู้ หรือให้แนวคิดแบบผิดๆ หรือการชักนำโดยมีการว่าจ้างเป็นแรงจูงใจก็ตาม นั่นอาจเป็นเพราะคนในสังคมไทยไม่ยอมรับความเป็นประชาธิปไตย และการที่จะทำให้คนไทยทุกคน สามารถเข้าถึง เข้าใจ และรักในความเป็นประชาธิปไตย ต้องให้การศึกษาเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ ดังนั้น โรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่จัดการเรียนรู้ จึงมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องจัดให้มีการเรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตยแก่ผู้เรียน  

การสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้สังคมและชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนได้รู้จักระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และกติกาของสังคม ตลอดจนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตน ทีมงาน รับผิดชอบชุมชน และสังคมได้อย่างเหมาะสม  โดยโรงเรียนต้องนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นประชาธิปไตย รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามภาระหน้าที่ และมีวิถีชีวิตตามหลักประชาธิปไตย สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ผู้บริหารการศึกษาทุกท่านในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน จึงควรสนับสนุนสิ่งต่างๆ ดังนี้

1.           กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน เช่น กิจกรรมคณะกรรมการนักเรียน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมดำเนินตามนโยบาย กิจกรรมสร้างเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กิจกรรมพิเศษต่าง กิจกรรมกลุ่มการแสดง กิจกรรมชมรมและองค์กรต่าง ตลอดจนกิจกรรมกีฬา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเป็นอย่างดี

2.           ต้องส่งเสริมการสร้างบรรยากาศประชาธิปไตย โดยการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้ดี จะช่วยเสริมสร้างแนวความคิด จิตใจที่เป็นประชาธิปไตย ด้วยเหตุว่าคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมใด ย่อมต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมนั้นให้ได้จึงจะสามารถดำรงชีวิตและอยู่ร่วมในสังคมนั้นอย่างเป็นสุข การสร้างบรรยากาศประชาธิปไตย จึงถือว่าเป็นการสร้างระบบและการยอมรับซึ่งกันและกัน

3.           ส่งเสริมครูทุกคน ให้จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยให้สอดแทรกอย่างสม่ำเสมอทั้งในห้องเรียน  และนอกห้องเรียนโดยสัมพันธ์กับวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ

4.           ส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าใจในความเป็นประชาธิปไตย รู้จักปกครองตนเอง สามารถแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีระเบียบวินัย  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และสามารถนำความเป็นประชาธิปไตยไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

 

เมื่อโรงเรียนสามารถพัฒนาผู้เรียน ให้เข้าใจ เข้าถึง และรักในความเป็นประชาธิปไตย เป็นอย่างดียิ่งแล้ว ในอนาคต ภาพแห่งความขัดแย้งที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย ก็จะค่อยลบเลือนไป กระทั่งไม่ปรากฏขึ้นอีก จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาทุกท่าน ที่จะสร้างแนวทางในการแก้ปัญหาของสังคม เพื่อให้สังคมไทยปราศจากความขัดแย้งที่รุนแรงตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 211178เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมว่าแนวทางแก้ปัญหาสังคม  ต้องทำสองทางครับ

        ทางแรก       สังคม   กำหนด  การศึกษา

         ทางที่สอง   การศึกษา   กำหนด  สังคม

        โดยเฉพาะประชาธิปไตย   ถ้าจะทำกันจริงๆ ต้องไปให้ถึงระดับวัฒนธรรมเลยครับ

        โรงเรียน  เป็นเพียงอนุระบบของระบบใหญ่ครับ   เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้น้อยมาก

                   ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับข้อแนะนำครับ อยากรบกวนผู้ที่ผ่านเข้ามาทุกท่าน ให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งจะเป็นความรู้อันยิ่งใหญ่ของผมตลอดไป

ขอบคุณอีกครั้งครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆค่ะ

เย้ได้ทำส่งครู ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท