องค์กรยั่งยืน วัดได้จริงหรือ ?


องค์กรยั่งยืน วัดได้จริงหรือ ?

                         การที่จะทำให้องค์กรมีความมั่นคงยั่งยืนนั้น นอกจากจะต้องรู้และเข้าใจถึงองค์ประกอบใดบ้าง คงเป็นดั่งที่เคยอธิบายไว้แล้ว ส่วนคราวนี้ขออธิบายถึงวิธีวัด ความยั่งยืนในองค์กรขณะนี้ว่าอยู่ในจุดใด
ซึ่งตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดความยั่งยืนขององค์กรว่าองค์กรนั้นๆ จะมีความมั่นคงหรือไม่ จะต้องมาพิจารณาในเรื่องของความมีประสิทธิภาพเชิงธุรกิจ (business efficiency) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทุกองค์กรต้องตระหนักและพิจารณาให้ละเอียด
ปัจจัยแรกคือ ประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิต (productivity & efficiency) องค์กรต้องลองย้อนกลับมาพิจารณาดูว่าประสิทธิภาพขององค์กรเราในปัจจุบันเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับตลาดคู่แข่งขัน และโอกาสทางการตลาดเมื่อเทียบกับสิ่งที่จะไปได้แล้วต้องวัดออกมาให้ได้ว่าประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิต (productivity & efficiency) ขององค์กรอยู่ในระดับไหน ต้องเปรียบเทียบให้ครบ 360 องศา
ที่สำคัญองค์กรจะต้องไม่หลอกตัวเอง ต้องเน้นข้อมูลจากตัวชี้วัดทางสถิติ (fact based) อย่ามองแค่ผลลัพธ์ด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจัยที่ 2 คือ คุณภาพบุคลากรและค่าตอบแทน (labor market) ซึ่งจะต้องมาตรวจสอบว่าค่าตอบแทนต่างๆ (compen sation) ในองค์กรจะต้องเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานไปแล้วองค์กรจะต้องคาดหวัง ประสิทธิภาพจากพนักงานแค่ไหนถ้าแต่ละองค์กรไม่ได้มาตรวจสอบระดับของค่าตอบแทนต่างๆ ในองค์กร (compensation level package) และ ไม่ได้เข้าใจว่าพนักงานแต่ละคนเงินเดือนเท่านี้จะต้องมีประสิทธิภาพและผลงานกลับมาสู่องค์กรเท่าไร
ถ้าองค์กรจ้างคนไปเรื่อยๆ ขึ้นเงินเดือนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้มาตรวจสอบและเปรียบเทียบ ก็จะเกิดปัญหาและไม่เกิดประสิทธิภาพ แต่บางองค์กรก็จ่ายค่าตอบแทนน้อยเกินไป ก็จะไม่ได้พนักงานที่มีคุณภาพต่องาน ประสิทธิภาพก็ไม่เกิด ความมีประสิทธิภาพเชิงธุรกิจ (business efficiency) ก็ไม่ดี หรือบางองค์กรมีคนมากจนเกินไป งานชิ้นหนึ่งทำกันหลายคน ทำให้บางคนไม่มีงานทำสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการวัดคุณภาพ บุคลากรให้สัมพันธ์กับค่าตอบแทน ฉะนั้น ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า เมื่อเราจ้างบุคลากรคนหนึ่ง ถ้าคนคนนั้นมีความสามารถมาก แต่องค์กร
จ่ายค่าตอบแทนน้อยจนเกินไป องค์กรก็อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพจากบุคลากรนั้น หรือพนักงานอีกคนหนึ่งได้มาก แต่องค์กรไม่ได้กำหนดออกมาว่าสิ่งที่ต้องทำที่เท่าๆ กับค่าตอบแทนที่ได้ หรือแม้กระทั่งว่าเมื่อองค์กรมีการพัฒนาบุคลากรไปแต่ก็ไม่ได้มาตรวจสอบว่าพนักงานได้นำไปใช้หรือเปล่าก็จะเกิดปัญหา
ดังนั้น การจ้างงานต้องไม่จ้างต่ำจนเกินไปจนกลายเป็นว่าเกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำ (low contribute) หรือถ้าจ้างคนเยอะไปก็ไม่ได้ประสิทธิภาพ ประเด็นตรงนี้ต้องทบทวนว่า ถ้าเราจ้างต่ำไปประสิทธิภาพก็ไม่ได้ จ้างสูงไปแล้วไม่ได้มาตรวจสอบว่างานเป็นอย่างไรมากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ได้ประสิทธิภาพอีกเช่นกัน
ปัจจัยที่ 3 คือ ด้านการเงิน (finance) ต้องมีการเช็กสภาพคล่องของกระแสเงินสด (cash flow) ของเราเป็นอย่างไร หนี้ทางธุรกิจ (cooperate debt) เป็นอย่างไร ต้องมานั่งพิจารณาในเรื่องของการเงินให้ดีเลยว่าจะต้องเป็นอย่างไร เรื่องของการจัดการที่ดีเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรเกิดความมั่นคง
ปัจจัยที่ 4 คือ ความมีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ (management practice) เป็นสิ่งที่สำคัญมากตั้งแต่วิธีคิด วิธีบริหารงาน วิธีทำงาน การวางแผน การจัดสรร และการควบคุมดูแล เพราะสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการบริหารจัดการในองค์กรมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
ถ้าในองค์กรของเราผู้บริหารมีความคิดที่ไม่มีประสิทธิภาพเลย ก็จะมีผลต่อไปยังบุคลากรระดับล่าง (bottom line) ซึ่งตรงนี้หลายๆ องค์กรอาจจะพบปัญหา เพราะอาจจะมีผู้บริหารหลายคนที่ไม่สามารถดูแลจัดการหลายอย่างให้มีประสิทธิภาพมากพอ ทุกๆ คนสามารถคิดเป็น แต่ปัญหาที่เกิดคือการคิดเป็นต้องตอบโจทย์ได้ และสามารถทำให้องค์กรเกิดความมีประสิทธิ ภาพเชิงธุรกิจ (business efficiency) เพราะการคิด วางแผน การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ถ้ามีหลายคนคิดผิดอาจไม่ได้บอกสาเหตุว่าเกิดจากคิดไม่ออก แต่เพราะสิ่งที่ทำลงไปไม่ได้ไปเสริมสร้างความ มีประสิทธิภาพเชิงธุรกิจ (business efficiency) จนทำให้องค์กรล้มเหลวได้
เพราะว่าไม่ได้ความมีประสิทธิภาพ ของการบริหารจัดการ (management practice) ที่ดี ที่ถูกต้อง และไม่มากพอที่จะสร้างความมีประสิทธิภาพเชิงธุรกิจ (business efficiency) ที่พอเพียงปัจจัยสุดท้าย ทัศนคติและค่านิยมขององค์กร (attitude and value) สิ่งที่สำคัญมากคือ ในวันนี้องค์กรได้ปลูกฝังค่านิยมในการตระหนักและเห็นคุณค่าต่อองค์กรลงไปมากแค่ไหน องค์กรได้ทำให้พนักงานคำนึงถึงคำว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ และการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรผ่านทุกการกระทำ และภารกิจของพนักงานเองมากน้อยแค่ไหน นี่คือความรับผิดชอบที่ต้องผูกติดไว้กับค่านิยมองค์กรที่จะช่วยตอบโจทย์ได้ในเรื่องของประสิทธิภาพเชิงธุรกิจ (business efficiency)

ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นตัวบ่งชี้หลักถึงความมั่นคงขององค์กร ซึ่งหากองค์กรใดปล่อยให้เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้มีการวัดผลหรือตรวจสอบ สุดท้ายองค์กรก็ไม่มีความมั่นคงและประสบแต่ปัญหาเพราะไม่เคยพิจารณาดูเลยว่าใน 5 ตัวนี้ถ้าให้คะแนน 1-10 องค์กรของเราจะอยู่ในระดับใด
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้มากจริงๆ ?

 

 ที่มา :  www.matichon.co.th

 

หมายเลขบันทึก: 211017เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท