การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ตำบลบ้านป่า


วิถีที่คนบ้านป่ากำลังดำเนินไป เราก้าวมาถูกทาง และทำให้ทุกคนเห็น ภาพฝัน จุดหมายปลายทางชัดเจน ขอบคุณที่มาเยี่ยมด้วยใจจริง

การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ตำบลบ้านป่า

            การพัฒนาเป็นสิ่งในหลายสิ่งที่เราต้องทำ  บ้านป่า เป็นอนามัยชายขอบอำเภอเมืองพิษณุโลก ที่มีลักษณะพื้นที่กระจายการทำงานต้องปรับรูปแบบวิธีให้เหมาะสม  ประชาชนส่วนใหญ่อาชีพรับจ้าง และเกษตรกรรม  ฐานะไม่ค่อยดี  ยังมีกลิ่นไอของวิถีชาวบ้านอยู่ค่อนข้างมาก ลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบเครือญาติ  ทีมงานโรงพยาบาล อนามัยและ สสอ. เริ่มทำงานเบาหวานแบบพลิกโฉมใหม่เมื่อ  เดือน พ.ค. 51 นี่เอง...ารทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งสำคัญ นั่นคือทุกคนในทีมร่วมกันทำงานและรู้บทบาทของตนเอง พี่วิเศษ หัวหน้าอนามัย เป็นบุคคลที่คนในชุมชนให้ความรัก และนั่นคือ การเปิดประตูสู่การทำงานที่น่าชื่นชม   ความร่วมมือในการทำงานเกิดแบบค่อยเป็นไป แต่  ทรงพลัง

น้องเจี๊ยบ น้องจี๊ด  เป็นพยาบาลที่รอบรู้ในงานเกือบทุกด้านและเป็นผู้มีประสบการณ์อยู่ในพื้นที่ มาหลายปี และเป็นจิ๊กชอร์ ตัวหนึ่งที่ทำให้การเชื่อมต่อระบบระหว่างอนามัยและร.พ.เป็นไปอย่างดี

พี่สุ พี่ติ๋ว เป็นพยาบาลจากโรงพยาบาลพุทธชินราชที่ลงไปทำงานประจำและเป็นผู้ที่เชื่อมโยงระบบระหว่าง ร.พ.และอนามัย ช่วยกันเสริมเติมเต็มในระบบงาน

            จุดเริ่มของงาน เริ่มจากคนต้นแบบเบาหวานเมื่อเดือน เม.ย.51 (คลิกที่นี่)  นำสู่การจัดกิจกรรมคัดกรอง กิจกรรมลดเสี่ยง การให้บริการในคลินิก การดูแลต่อที่บ้าน การเชื่อมโยงระบบส่งต่อจากร.พ. อย่างเป็นรูปธรรม และมีผลลัพธ์ ที่น่าภาคภูมิใจ 

เตรียมรับการเยี่ยมตรวจของคณะกรรมการจากสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน

 วันที่ 16 ก.ย. 51

 หลังจากที่ทีมอนามัยบ้านป่าส่งประกวดเบาหวาน ในวันที่ 31 ก.ค. 51 (วันสุดท้ายของการรับผลงาน) และในวันที่  6 ก.ย. 51 เราได้รับแจ้งว่าเป็นทีมที่เข้ารอบ 1 ใน 2 ทีมสุดท้าย   ภายในเวลาอันสั้น เราพูดคุยเตรียมการเยี่ยมจากสมาคมฯ และแบ่งเป็น 3 ทีม

            ทีมพี่เลี้ยง และทีมบ้านป่า เตรียมเอกสารหลักฐาน เพื่อรับการตรวจเยี่ยม ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้วเช่น แนวทางการดูแล ฯลฯ แนวทางการให้ความรู้  เอกสารต่างๆ

            ทีมชุมชน พี่วิเศษและทีม   เรียกประชุมทีมแกนนำในชุมชน ในวันที่ 12 ก.ย. 51  เพื่อชี้แจงเรื่องการลงตรวจเยี่ยมจากอาจารย์ โดยนัดหมายทุกส่วนที่เกี่ยวข้องที่อนามัย เวลา 14.00 น. เมื่ออ้อและพี่อ้อเดินทางไปถึง เปิดประตูเข้าไปแล้วตกใจเพราะ ไม่คิดว่าจะมากันมากขนาดนี้     ครู 3 ร.ร.  ผู้ใหญ่บ้าน 9 คน  อสมทุกหมู่/คนต้นแบบ/ชมรมต่างๆ  ซึ่งแสดงถึงพลังเครือข่ายของชุมชน อย่างแท้จริง พลังที่เติบโตแบบธรรมชาติ เพราะการประชุมครั้งนี้ เป็นแบบไม่ทางการใช้โทรศัพท์ ถึงกันและในเวลาเพียง 24  ชั่วโมง ทุกคน Clear งานได้มาอย่างพร้อมเพียง

เกิดอะไรขึ้น  : ในการพูดคุยวันนั้นเราได้รูปแบบการต้อนรับโดยความคิดของชุมชนเองและได้บทสรุปที่ต่างคนต่างร่วมมือซึ่งกันและกัน           

 วันที่ 16 ก.ย. มาถึง 

            รับอาจารย์ที่สนามบิน พาอาจารย์มาถึง ร.พ.พุทธชินราช  เวลา 8.00 น. ทีมป้านป่า นำเสนอแบบสบายๆ 8.30 และท่านผู้อำนวยการมากล่าวต้อนรับ และทุกรายการเราปรับใหม่หมด  เดิมเรากำหนดลงพื้นที่ตอนบ่าย ต้องปรับเป็นภาคเช้า สนุกดีนะคะ  แต่ละคนก็โทรศัพท์ให้พื้นที่ทราบ ความสุขเกิด...??  เพราะอะไร....ทีมป้าๆที่จะร้องเพลงพวงมาลัย  ต้อนรับอาจารย์  ยังนุ่งผ้าถุงอยู่บ้าน  ผู้ใหญ่บ้านยังอยู่กลางนา  กำนันนุ่งผ้าข้าวม้า  ล้างจาน อยู่บ้าน  ข้าวต้มมัด(อาหารเบรก) ที่เตรียมไว้เลี้ยงยังมัดไม่เสร็จและน้ำแตงไทย ยังไม่ได้ไปตัดแตงไทย ประมาณนั้นจริงๆ   

            แต่ชุมชนมีความพร้อมจริงๆ  ปรับแผนก็มาทัน แต่ เราก็โดยค่อนขอด  ว่าป้ากะจะแต่งตัวปะแป้งให้หน้าสวยกว่านี้ซะหน่อยๆ    หมอนะหมอ.. ทำให้ป้า สวยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

            9.30 น. เดินทางไปสถานที่นัดหมาย คือ วัดบึงกระดาน วัดศูนย์รวมใจชาวบ้าน อาจารย์พูดคุยกับท่านเจ้าอาวาส พูดคุยกันออกรสดีทีเดียว อาจารย์ถามถึงว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ตายจากเบาหวานเยอะไหม....ส่วนใหญ่ตายจากอะไร (ข้อสอบนะคะ)  ท่านตอบไม่ “เบาหวานตายไม่มาก ตายจากเหล้าเยอะกว่า”

ประจวบเหมาะ จักรยานพันธมิตร เฮ้ย.........ไม่ใช่.. ปั่นจักรยานออกกำลังกายตามวิถีชาวบ้าน  มาถึงหน้าศาลาวัดที่นัดหมายพอดี  (หลังจากปั่นวนรอบวัด มา 4 รอบ รอดทีมอาจารย์เดินออกมาจาก กุฏิเจ้าอาวาส)  ไม่ธรรมดา คุณตา คุณยาย คุณลุง คุณป้า อายุแต่ละคน ก็เฉียดๆ ร้อย ปั่นมาอย่างทมัด ทแมง

            กำนันกล่าวต้อนรับ แหม....ติดลม เกือบจบไม่ลง ลุ้นแทบแย่

            วงดนตรีนักเรียน ต.บ้านป่า มาด้วยเพราะโรงเรียน 3 แห่งในตำบล มีเรื่องดีๆ ที่น่าสนใจ เช่น โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เด็กไทยไม่กินหวาน เด็กไทยไร้พุง ซึ่งจากการพูดคุยกับครู ครูให้ความสนใจใส่ใจกับสุขภาพเด็กมาก โดยเฉพาะเด็กอ้วน ซึ่งมี 30 กว่าคน ครูจับมาเข้าโครงการแอโรบิค  (จากการสังเกตุเด็กที่บ้านป่าไม่ค่อยอ้วน) เป็นต้น

 

อาจารย์พูดคุย กับกลุ่มต่างๆ เช่น คนต้นแบบลดน้ำหนัก จากกิจกรรมลดเสี่ยงทำให้ผู้ใหญ่บ้าน ทานอาหารตามที่เราคำนวณพลังงานให้ สามารถลดน้ำหนักได้ 10 ก.ก. ลดเองได้ 4 นิ้ว ใน 4 เดือน ซึ่งผู้ใหญ่จะขยายผลลงสู่หมู่บ้านตนเองให้เป็นหมู่บ้านไร้พุง

คนต้นแบบเลิกเหล้า  ก็ประจวบเหมาะกับสถานการณ์ของหมู่บ้านที่มีคนตายจากเหล้า น้อยกว่าตายจากเบาหวาน ซึ่ง ผู้ใหญ่บ้าน จะทำเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้า

 ป้าเจริญ คนต้นแบบเบาหวานคุมอาหาร ที่เอาชนะเบาหวานได้ จากทานยาเบาหวานร่วมกับคุมอาหาร จนสามารถลดยาและคุมอาหารอย่างเดียว ซึ่งอาจารย์ได้ถามถึงชนิดอาหารที่ป้าเจริญทาน ก็ใช่เลย  “อาหารวิถีชาวบ้าน”

ป้าก้อนดิน คนต้นแบบเบาหวาน (เม.ย. 51) ที่ขยายผลเป็นแกนนำในหมู่บ้าน รวมกลุ่มออกกำลังกายช่วยคัดกรองและเยี่ยมผู้ป่วย

รูป ทีมพี้เลี้ยงรพ. และ สสอ ที่เน้นการทำงานเป็นทีมและเน้นความสุข

ทุกอย่างผ่านไปอย่างราบรื่น สนุกสนานและมีความสุข เหมือนกับเราได้รับรางวัล ใช่แล้วคะ ชุมชนทุกคนที่มารอบตัวกันในศาลา มีความสุข รู้สึกภาคภูมิใจ ที่อาจารย์มาชื่นชม บอกและสะท้อนให้เห็นว่า วิถีที่คนบ้านป่ากำลังดำเนินไป เราก้าวมาถูกทาง และทำให้ทุกคนเห็น ภาพฝัน จุดหมายปลายทางชัดเจน ขอบคุณที่มาเยี่ยมด้วยใจจริง

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์           

คำสำคัญ (Tags): #อนามัยบ้านป่า
หมายเลขบันทึก: 210769เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2008 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ถ้าคุณป้า
  • คุณยาย กำนัน
  • ได้ทำอะไรแบบธรรมชาติ
  • คงมีความสุขดีนะครับ
  • ดีกว่ามาแต่งแต้มอยู่
  • มาชื่นชมทีมทำงานของพี่ๆ
  • สบายดีไหมครับ

ไปบ้านป่าครั้งนี้มีความสุขมาก ไม่ว่าผลลัพธ์ของการประกวดจะเป็นอย่างไร อ้อต้องพยายามสนับสนุนให้พลังของคนบ้านป่าเป็นเช่นนี้ตลอดไป นั่นแหละจึงจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องนะอ้อ

น่าสนุกนะอ้อ เสียดายที่พี่ไม่ได้ไปด้วย ความจริงก็เป็นกรรมการด้วยเหมือนกัน ทีมคงกลัว bias น่ะ

ได้รับคำชมจนหายเหนื่อยคะ ตอนนี้เราก็ได้ที่หนึ่งแล้วคะ หนึ่งในใจของชุมชน เพราะวันนี้ เมื่อได้พูดถึงวันที่ 16 กย กำนัน ครู ผู้ใหญ่ อสม ชุมชน ทุกคนมีความสุข หน้ายังไม่หายบานเลยคะ

พี่โต้งอยู่ไหน..เนี่ย มาเยี่ยมน้องหน่อย.

...

มาช้าไปวันสองวันทำเป็นบ่นหา อิอิอิ... ม่ายลื้ม ม่ายลืมแน่ๆก่ะ.... จำได้นะว่าวันนั้นพี่เห็นภาพของชุมชนทุกคนล้วนมีความสุข หน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ตั้งแต่พี่ ป้า น้า อา อีกทั้งแกนนำต่างๆในชุมชนล้วนรอเราอยู่ พี่ว่า อ้อ ค้นหาจิ๊กซอว์  " ตัวต่ออันทรงพลัง " ที่เป็นเพื่อนร่วมงานคนสำคัญที่สุดในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ซึ่งเราต้องค้นหาน่ะอ้อ....  

 Puzzle

นี่คือมุมมองของทีมพี่เลี้ยง แต่ ทีมบ้านป่าเอง มีความสุขมากกว่านี้ หลายเท่านัก ขอบคุณ ทีมพี่เลี้ยง ทุกคนค่ะ ยอมรับเลย ว่า ทีมเรา มีกำลังใจมากขึ้น อีกโข พี่วิเศษงี้ หน้าบาน เชียววันนี้ ยังถามว่า อาจารย์ ชื่อ ตำแหน่ง จริงอะไรนะ เผื่อมีคนจะสัมภาษณ์พี่ (พี่เขา จะไปประเมิน ซี 7 ค่ะ มีผลงานนี้ ไปนำเสนอพอดี ) น้องจิ๊ด บอกว่า ตอนแรก หนูก็เฉย ๆ นะพี่ แต่ เห็นพวกพี่ทำแล้ว หนูก็อยากช่วยให้ถึง ที่สุด อยากให้ได้ ดูหน้า ตาน้องแล้ว คงนึกสนุก ขึ้นมาบ้างแล้ว จากที่ไม่ชอบงานชุมชนเลย 555 นี่ คือวิกฤติเป็นโอกาสของเราแล้ว ... แล้วจะเล่าเรื่อง ให้ละเอียด ใน blog บ้านป่า ค่ะ ตอนนี้ กำลังยุ่ง ๆ เพราะเตรียมลุยงาน ต่อเนื่องในปี 52 แต่ก็พยายามที่จะหาเวลาเขียนค่ะ คอยอ่านนะค่ะ ว่าเรา รู้สึกอย่างไร

อยากทราบว่าเมื่อไรจะต่อเติมอาคารหลังเก่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท