วัฏฏสงสาร


วัฏฏสงสาร

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

วัฏฏสงสาร

เรามักจะตีความคำว่าวัฏฏสงสารว่า การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งหมาย ถึงความเป็นอมตะ ความไม่เสื่อมสูญไปของวิญญาณที่เป็นดวงๆที่เราเชื่อกัน

ความเชื่อในเรื่องที่ว่า เราคือ วิญญาณหรืออีกสิ่งหนึ่งซึ่งมาอาศัยอยู่ในร่างกายนี้นั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว ว่ากันว่าน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เริ่มเข้าอาศัยอยู่ในถ้ำ เพราะมนุษย์เริ่มสามารถนอนหลับได้อย่างสนิทใจและเริ่มมีการฝัน

ก่อนหน้านั้นมนุษย์ไม่ค่อยจะได้นอนหลับอย่างสนิทใจ นอนอยู่ด้วยจิตที่ระวังภัยอยู่ตลอดเวลา เพราะอาศัยอยู่บนต้นไม้บ้างพื้นดินบ้างซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่ค่อยจะมีความปลอดภัยนัก ประกอบกับมนุษย์เองก็มีศักยภาพในตัวเองสำหรับการต่อสู้น้อยมาก ถือกันว่าเป็น"สัตว์อาหาร"ที่จัดการได้ง่ายของสัตว์กินเนื้อทั่วไปเสียด้วยซ้ำ เพราะไม่มีกำลัง ไม่มีความสามารถที่จะต่อต้าน วิ่งหนีก็ช้า

ดังนั้นมนุษย์ที่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อมาได้ ต้องอาศัยกลยุทธและวิธีการ ตลอดจนการระวังภัย หลบภัยที่ดี ซึ่งล้วนเป็นการพัฒนาการทางด้านสมองทั้งสิ้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการพัฒนาในเรื่องของอาหารที่มนุษย์เริ่มมากินสัตว์และได้ไขมันจากสัตว์มาช่วยในการพัฒนาในด้านสมอง(สมองนั้น เป็นส่วนประกอบของไขมัน) ส่วนไหนที่เราใช้มันมากๆ ส่วนนั้นก็จะโตและแข็งแรงขึ้น สมองของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน

การพัฒนาการทั้งทางด้านสมองประกอบกับการได้นอนหลับอย่างสนิทใจ มนุษย์จึงเริ่มฝัน และได้เห็นตัวตนของตนในอีกสภาพหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับสภาพปกติ จึงได้เกิดจินตนาการต่างๆขึ้น จนเป็นเรื่องเป็นราว เป็นความเชื่อ ในเรื่องของวิญญาณ ตลอดจนถึงเรื่อง การเกิดขึ้นหลังความตาย หรือวัฎฎสงสาร นั่นเอง  

เราเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการต่างๆของสัตว์ ของมนุษย์  แต่เราก็ยังมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณ         

เรารู้จักวิญญาณ เข้าใจถึงวิญญาณได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่เพราะ เห็นตัวตนของเรา หรือที่เรียกว่าวิญญาณของเรา ในความฝัน

ในความฝัน เราจะเป็นฮีโร่ เป็นผู้ที่ไม่รู้จักแพ้ เป็นผู้สมปรารถนาตลอดกาล ไม่มีความเจ็บปวด ป่วยไข้ ปลอดโปร่ง โล่งสบาย ชีวิตในความฝัน เป็นชีวิตที่น่าปรารถนา

แล้วเราก็คาดหวัง จนเกิดเป็นทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับ วิญญาณ ขึ้นมาอย่างมากมาย

เรากลัวความสูญเสีย เราคิดว่าเรากลัวความตาย แต่เราไม่เคยรู้อะไรจริงๆเกี่ยวกับกับความตายเลย เรารู้แต่เพียงเรื่องที่เล่าว่า หรือสิ่งที่คนอื่นที่ยังไม่เคยตายมาเล่าให้เราฟัง

เรากลัวในสิ่งที่เราไม่รู้ไม่ได้         

ที่เรากลัว คือ กลัวในสิ่งที่เรารู้มาผิดๆเท่านั้น

แต่มีคำพูดที่ว่า "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" เลยให้เชื่อไว้ก่อน หรือ ?                   

สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องที่เรียกว่า อภิปรัชญา หรือจะเรียกว่า อจินไตย ก็ได้  ซึ่งมีเพียงเหตุผล ที่ยกเอาเรื่องโน่น เรื่องนี่ มาเปรียบเทียบกันให้พอเห็นได้เท่านั้น แต่มันก็ไม่เกี่ยวกันเลย เช่น

เมื่อวานมีใช่ไหม  ถ้ามี  ก็แสดงว่า อดีตชาติมี เป็นต้น (หรือ ?)

พรุ่งนี้ มีใช่ไหม ถ้ามี ก็แสดงว่า ชาติหน้ามี (หรือ ?)

นั่นมันหมายถึง การที่คุณยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้า

คุณตายลงวันนี้ พรุ่งนี้ก็ไม่มีสำหรับคุณ ก็แสดงว่า ชาติหน้าไม่มี ใช่ไหม ?

ก็เถียงก็จนตายกันไปข้างหนึ่งนั่นแหละ !

พระพุทธองค์ จึงทรงไม่ตรัสพยากรณ์ (ตอบ) คำถามต่างๆ ประเภทนี้ แล้ววัฏฏสงสาร ในทางศาสนาพุทธ เป็นอย่างไร ?

พระพุทธองค์ทรงให้โอวาทตอนหนึ่ง ซึ่งต้องถือเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาพระธรรมคำสอนต่างๆ คือ

ปุพฺเพ   จาหํ   ภิกฺขเว  เอตรหิ จ

ทุกฺขญฺ   เจว   ปัญฺญา  เปมิ  ทุกฺขสฺส    นิโรธํ   แปลความว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี

เราบัญญัติสอน เฉพาะเรื่องความทุกข์ กับเรื่องความดับทุกข์ทุกข์เท่านั้น

วัฏฏะ แปลว่า วนเวียน วน หมุนวน

สง แปลว่า หมู่ กลุ่ม

สาระ แปลว่า สิ่งที่คิดว่าสำคัญ    

วัฎฎสงสาร แปลตามศัพท์ ได้ว่า การวนเวียนอยู่กับสิ่งที่คิดว่าสำคัญ

ชีวิตของเรา ช่างน่าสงสารจริงๆ ช่างเต็มไปด้วยภาระ อันแสนจะหนักหน่วงทั้งวันและทุกวัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นไปจนกลับมานอนจากเกิดไปจนตาย

เวลาอาบน้ำ แปรงฟัน เราก็ไม่เคยรู้ว่าเรากำลังอาบน้ำแปรงฟันอยู่เลย เพราะ เรากำลังคิดถึงเรื่องที่สำคัญกว่านั้นอยู่

เวลาขับรถหรือนั่งรถไปทำงาน ก็ไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังขับรถหรือนั่งรถอยู่ เพราะเรากำลัง คิดถึงเรื่องที่สำคัญกว่านั้นอยู่

เวลาทำงาน ก็ไม่เคยรู้สึกตัวว่าทำงานอยู่เลย เพราะ เรากำลังคิดถึงเรื่องที่สำคัญกว่านั้น อยู่ ฯลฯ  

ไม่ว่าเราจะทำอะไร เราก็มักจะมี เรื่องที่สำคัญกว่า ให้คิดเสมอ

เช่น ขณะทำงานในช่วงเช้า แต่คิดว่า เที่ยงนี้ จะไปกินอาหารที่ไหนดี

พอถึงเวลาพักเที่ยง กำลังกินอาหารเที่ยง เราก็คิดว่า บ่ายนี้จะทำอะไรดี

พอทำงานช่วงบ่าย กำลังทำงานอยู่ ก็คิดว่า เลิกงานแล้ว เย็นนี้จะไปที่ไหนดี ...

เราไม่เคยคิดว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้น มันสำคัญอะไรเลย

เพราะถ้าหาก มันสำคัญต่อคุณจริงๆ เราก็ต้องรู้สิว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ แต่นี่เราคิดแต่เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

สิ่งเหล่านั้น มันช่างเป็นภาระที่สำคัญในชีวิตของเรา มันมาเบียดบังเอาเวลาที่เราจะสามารถแสดงศักยภาพความสามารถของเราไปจนหมด

ชีวิตเราไม่เคยมีความสุข

เพราะเราไม่เคยเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรากำลังทำ

เราไม่เคยมีความสุขที่ได้ทำ ในสิ่งที่เรากำลังทำ        

เราฝากความสุข กับความหวัง ความคาดหวังว่า จะได้ทำ กับอนาคตตลอดเวลา แต่พอได้ไปทำจริงๆ เราก็โยนความสุขไปข้างหน้าๆๆๆตลอดเวลา  

ความหวัง คือ ความอยาก

ความอยาก ก็คือ ความไม่มี            

คุณหวังว่า จะสุข ก็แสดงว่า ในขณะนั้น คุณไม่มีความสุข

มีโอวาทของพระอรหันต์สาวก ท่านได้กล่าวไว้ว่า

มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น   มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่ดับไป

ความหวัง ความอยาก ที่เกิดขึ้น ดับไป ทั้งวันของเรานั่นแหละ คือ วัฏฏสงสาร ที่ พระพุทธศาสนา กล่าวถึง

การวนเวียนอยู่กับความหวังความอยากหรือ สิ่งที่คิดว่าสำคัญ                        

คำสำคัญ (Tags): #วัฏฏสงสาร
หมายเลขบันทึก: 210335เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

อ่านเพลินเลยค่ะ

และเข้าใจดีด้วย

ขอบคุณมาก

นมัสการค่ะ

ถ้าเช่นนั้น........

การหยุดคิดไปล่วงหน้า

หยุดโยนความหวังไปก่อน

แล้ววิ่งไล่ตามไขว่คว้า

เป็นบ้าเป็นหลังนั้นเสีย

หยุดเสียที

คือวิธีการดับทุกข์

ใช่ไหมคะ?

ตอบ คุณเก็จถะหวา..

หยุดคิด หยุดหวัง แต่ให้อยู่กับรู้ในสิ่งที่กำลังทำในปัจจุบัน

พอใจกับปัจจุบัน

ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด..พอ

  • นมัสการค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

ได้อ่านในหลาย ๆ บทความของท่าน

ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท