59. ปรัชญา


ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญา หรือ Philosophy มาจากภาษากรีก คือ Philos แปลว่า ผู้รัก และ Sophos แปลว่า ความปราดเปรื่อง เพราะฉะนั้น Philosophy จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่า ความรักหรือความปรารถนาที่จะเป็นปราชญ์

 

            สำหรับความหมายตามรากศัพท์ภาษาไทย พระเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ บัญญัติศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า ปฺร แปลว่า สูงสุด หรือ ประเสริฐ และ ชญา แปลว่า รู้ รวมความแล้วหมายถึง ความรู้อันสูงสุด

 

            นอกจากนี้ถ้าจะอธิบายว่า ปรัชญา คือ ประมวลความคิดเห็นของคนเกี่ยวกับความเป็นจริงต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งศึกษาค้นคว้าเพื่อตอบคำถาม 3 ประการ

 

          คือ 1.ความเป็นจริงคืออะไร 2.เรารู้ความจริงได้อย่างไร 3.เราพึงปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับความเป็นจริงที่พบ

 

             ดัง นั้น ปรัชญา เป็นแนวคิด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในหลายเรื่องๆเช่นการนำความรู้ทางปรัชญาไปจัดการ ศึกษา ก็ต้องพยายามแปลความหมายของข้อค้นพบในปรัชญาแล้วนำมาสัมพันธ์กับการจัดการ ศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยในการแนะแนว ในการเลือกจุดหมายปลายทางและนโยบายเพื่อจัดการศึกษา(หลักการสอนและการเตรียม ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ, 2527 : 5-10 )

 

            ดัง นั้น ความคิดเห็นที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ หรือยังสรุปแน่นอนไม่ได้ คือ ปรัชญา ความคิดเห็นที่พิสูจน์ได้หรือสรุปแน่นอนแล้ว คือ ศาสตร์ เป็นเรื่องของเหตุผล ศาสนา เป็นเรื่องของความเชื่อถือและการยอมรับนับถือคนที่ได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา คือ คนที่รักในการแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ตนเองเห็นว่าเป็น ความรู้ที่แท้จริง แจ่มชัดที่สุดคุณค่าของการศึกษาปรัชญานิตเช่ เรียกว่า อภิมนุษย์ = Superman คือ มนุษย์พิเศษ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพในเรื่อง ความรู้ ความคิด ฯลฯ

 

            ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา

 

            ปรัชญา กับการศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเพราะปรัชญานั้นทำให้เราคุ้นเคย กับคุณค่าของชีวิต และการศึกษาก็ช่วยชี้แนะวิธีการที่พึงได้มาซึ่งคุณค่า

 

            สรุป ปรัชญาคือแนวคิด ส่วนการศึกษาเป็นการนำแนวคิดนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผลซึ่งความเชื่อ แนวคิด ของคนนั้นแตกต่างกันไปความเชื่อดังกล่าวเรียกว่า อุดมการณ์ ความ เชื่อเกี่ยวกับความเป็นครู ก็เรียกว่า อุดมการณ์ในความเป็นครู ซึ่งอุดมการณ์นี้เองมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคล ยึดมั่นถือมั่นเพราะอุดมการณ์เสมือนหนึ่งแนวทางยึดหรือเข็มทิศ กำหนดการกระทำของคนบุคคลให้เป็นไปตามนั้นๆ ทำนองเดียวกัน การให้การศึกษาแก่พลเมืองของชาติจะดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อ เช่นความเชื่อเกี่ยวกับ การจัดการศึกษา แทนที่จะเรียก อุดมการณ์ กับเรียก ปรัชญาทางการศึกษา

 

            จาก ที่กล่าวมาข้างต้นปรัชญาเป็นการประมวลความคิดเห็นของคนในเรื่องต่างๆ ที่ผู้คิดเชื่อถือ ยึดถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ การที่ผู้มีอำนาจทางการศึกษามีความคิด ความเชื่ออย่างไรก็จะส่งผลให้มีการปฏิบัติกิจกรรมทางการศึกษา ทั้งด้านเป้าหมาย ทิศทาง องค์ประกอบของการศึกษาแตกต่างกันตามความเชื่อนั้นเองปัจจุบันเรามีปรัชญาการ ศึกษาหรือไม่

 

            ถ้า มีปรัชญาการศึกษานั้นว่าอย่างไร ปรัชญาการศึกษานั้นเขียนไว้ที่ไหน ซึ่งไทยจะเขียนปรัชญาการศึกษาแฝงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ ในหลักสูตร เป็นต้นการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษา การพัฒนาการเมืองก็ขึ้นอยู่กับการศึกษา สังคมกำลังเสื่อมโทรม ผู้คนติดยาเสพติด เป็นโรคเอดส์ยิ่งขึ้น ก็ต้องหันไปพึ่งการศึกษา          การพัฒนาการศึกษาจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาประเทศ(วิชัย ตันศิริ, 2549 : 2)เพื่อ ให้การจัดการศึกษามีความเข้มแข็ง ต้องมีการดำเนินการด้านองค์ประกอบของการศึกษาคือ หลักสูตร สถานศึกษา ผู้สอน ผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และด้านระบบการบริหารการศึกษา ไปพร้อม ๆ กันให้มีความสอดคล้องกับความเชื่อทางการศึกษาบรรลุจุดประสงค์ เป้าหมายของการศึกษาตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จนั้นทุกฝ่ายจะต้องมีความตั้งใจ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง พ่อแม่ต้องดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิด

 

            ครู ต้องมีจิตสำนึกและวิญญาณของความเป็นครู ที่แท้จริง ภาครัฐและเอกชน องค์การศาสนา และสื่อมวลชน ต้องตื่นตัว กระตือรือร้น และผนึกกำลังเพื่อการพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าอย่างมั่นคง และผลจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ส่งผลให้มีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน การปฏิรูปมีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การดำเนินงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาอุดมศึกษา แผนพัฒนาอาชีวศึกษา แผนปฏิบัติการระดับพื้นที่และสถานศึกษา มีการจัดทำแผนปฏิบัติการโดยทุกแผนต้องมีความเชื่อมโยง สอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาให้มีการบูรณาการในลักษณะองค์รวม ที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงสภาพ ปัญหา ความต้องการ วิถีชีวิตของคนไทยในท้องถิ่นต่างๆ ประกอบการพิจารณาด้วย

 

            สรุป ปรัชญา เป็นแนวคิด ส่วน การศึกษา เป็นการนำแนวคิดนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผลตามองค์ประกอบของการศึกษาหรือการ นำเอาปรัชญาทั่วไปมาจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาการศึกษา ศาสตร์ทางการศึกษา มีหลักการ แนวคิด ทฤษฎี รวมทั้งการปฏิบัติก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในยุคโลกาภิวัฒน์แต่ ปรัชญา อุดมการณ์ ความเชื่อ ก็ยังดำรงอยู่อย่างเดิม อุดมการณ์ของการศึกษา หรือ ปรัชญาการศึกษาก็เป็นแนวทางสู่ภาคปฏิบัติของการศึกษา เพื่อพัฒนามนุษย์ สังคมมนุษย์ เพื่อบรรลุความเป็นมนุษย์และสังคมอารยะ สำหรับประเทศไทย ปรัชญาการศึกษา มีผลควบคุมไปถึงการจัดการศึกษาทุกระดับของชาติ ในการดำเนินการศึกษาทุกระดับจะสำเร็จผลมากน้อยเพียงใดนั้น ก็อยู่ที่การปฏิบัติจะต้องเป็นไปตามความเชื่อที่ถูกต้อง เป็นจริงที่สุด เพื่อชีวิตและสังคมไทยโดยแท้จริง

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา#ปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 209908เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2008 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท