ประเพณีสลากภัตร


 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา

โรงเรียนมงคลวิทยาได้มีโอกาสอันดี

ที่ได้นำตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมประเพณีสลากภัตร

ณ วัดพระธาตุหริภุญไชย

เด็กๆได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม กับชุมชน

ได้มีโอกาสสัมผัสถึงประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ

เป็นที่น่ายินดีค่ะ

 

 

 

สงสัยกันไหมหล่ะคะว่า ประเพณีสลากภัตรคืออะไร มีที่มีที่ไปอย่างไร

ขออนุญาตนำความรู้เกี่ยวกับประเพณีสลากภัตรมาเผยแพร่นะคะ

 

     ประเพณีถวายสลากภัตรหรือประเพณีถวายเข้าสลาก หรือ กินก๋วยสลากนั้น ทำกันมาตั้งแต่เดือน 12 เหนือเพ็ญ เรื่อยมาจนถึงต้นเดือนยี่เหนือ คือช่วงเดือน 11-12 ของภาคกลาง ชาวบ้านจะนำพืชผลมาถวายเป็นก๋วยสลาก นิมนต์พระสงฆ์จากวัดใกล้เคียง มารับไทยทานสลาก ซึ่งศรัทธาประชาชนร่วมกันถวาย สลากภัตรของทางเมืองเหนือ ประกอบด้วย
      1. สลากหน้อย คือ สลากกระชุเล็กๆ
      2. สลากก๋วยใหญ่หรือสลากโชค
       สลากก๋วยเล็ก ใช้ถวายอุทิศแด่ผู้ตาย หรือทำบุญเพื่อเป็นกุศลในภายหน้า ส่วนสลากก๋วยใหญ่ ใช้ถวายเป็นมหากุศลสำหรับบุคคลผู้มีกำลังศรัทธาและร่ำรวยเงินทอง ทำถวายเพื่อเป็นพลวปัจจัย ให้มีบุญกุศลมากขึ้น พิธีถวายสลากภัตร ที่ยิม มี 3ประเภท
      1. สลากเอาเส้น ซึ่งประชาชนจับสลาก แล้วนำไทยทานไปถวาย
      2. สลากที่พระสงฆ์จับสลากเอาเอง
      3. สลากย้อม ซึ่งนิยมทำกันในกลุ่มไทยยอง ซึ่งหญิงสาวภายในหมู่บ้านจัดถวายเป็นประเพณี

     ก่อนวันทำพิธี "ทานก๋วยสลาก" 1 วัน เรียกว่า "วันดา" คือเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทาน พวกผู้ชายจะจักตอกสาน "ก๋วย"(ตะกร้า) ไว้หลายๆใบทางฝ่ายผู้หญิงก็จะจัดเตรียมห่อของกระจุกกระจิก เช่น ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม เกลือ กะปิ ปลาร้าขนมข้าวต้ม และอาหาร เช่น ห่อนึ่ง, จิ้นทอด, หมาก, เมี่ยง, บุหรี่ , ไม้ขีดไฟ, เทียนไข ,สีย้อมผ้า ผลไม้ต่างๆ , เครื่องใช้สอยสิ่งของต่างๆเหล่านี้จะบรรจุลงในก๋วยซึ่งกรุด้วยใบตอง หรือกระดาษสีต่างๆ เมื่อจัดการบรรจุสิ่งของต่างๆลงในก๋วยเรียบร้อยแล้วก็จะเอา"ยอด" คือ สตางค์หรือธนบัตร ผูกติดไม้เรียวเสียบไว้

       เส้นสลาก ผู้เป็นเจ้าของก๋วยสลาก จะต้องเอาใบลานหรือกระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ จารึกชื่อเจ้าของไว้และบอกด้วยว่า อุทิศส่วนกุศลนั้นให้ใครบ้าง และจะต้องเขียนให้ครบจำนวนก๋วยสลาก เมื่อชาวบ้านนำเอาก๋วยสลากไปที่วัดแล้ว ก็จะเอาสลากไปรวมกันไว้ที่หน้าพระประธานในวิหาร ซึ่งผู้รวบรวมสลาก
มักจะเป็นมัคทายก หรือที่เรียกกันว่า "อาจารย์" รวบรวมได้เท่าไหร่ ก็จะเอาจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มาจากวัดต่างๆ นั้นหารจำนวนสลากและหักไว้เป็นส่วนหนึ่งของ"พระเจ้า" และในที่นี้หมายถึงเป็นส่วนพิเศษของวัดที่จัดทำพิธีทานก๋วยสลากนั่นเอง สลากของพระเจ้าเมื่อเสร็จจากการทำบุญ ก็จะแบ่งปัน
ให้พระภิกษุสามเณรและเด็กวัดโดยทั่วถึงกันและอาจารย์หรือมัคทายกก็จะได้ส่วนหนึ่ง แต่เงินยอดก๋วยสลากนั้น ส่วนของ "พระเจ้า" จะต้องเป็นเงินกองกลาง ของวัดสำหรับใช้จ่ายในกิจของวัดต่อไป

ที่มาของข้อมูล
   
      มณี พยอมยงค์.2529.ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย.เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ

 

 

ร่วมอนุโมทนา สาธุด้วยกันนะคะ 

หมายเลขบันทึก: 209439เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ ท่านผ.อ. ประจักษ์

รัฐธนินท์ สิทธิไชยเจริญ

คิดถึงโรงเรียน มงคลวิทยา จัง

ว่างๆ จะแวะไปหาคับ

...นิว (นรินทร์)

ครูแอนก็กำลังจะเขียนเรื่องสลากภัตรค่ะ..ขออนุญาตนำไปอ้างอิงบันทึกน่ะค่ะ

ขอบพระคุณมากเลยครับอาจารย์เมษาพอดีผมต้องการค้นคว้าเกียวกับเรื่องนี้พอดีเลยครับ

masao

ครู งับ ทามไมมีแต่ ของ ฟ้า 203 ป๋มไม่เห็นมีเย้ย ป๋ไปด้วยแท้ๆ ไม่มีเลย น้อยจัย งะ

อยากไปขอโทษครู

กรุณางดการใช้ข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ และสื่อมัลติมีเดียใดๆ ที่ไม่สุภาพ คำหยาบ ส่อเสียด กล่าวร้าย ดูหมิ่น พาดพิงทำให้ผู้อื่นเสียหาย และทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคม และกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท