เขตพื้นที่มัธยม


ครูประถม ครูมัธยมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

นายมังกร กุลวานิช รองเลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากการที่ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ยังไม่อนุมัติข้อเสนอการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลในเรื่องการโยกย้าย สรรหา แต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระดับประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา

ตามที่คณะอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การมัธยมศึกษา ที่ ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นประธาน เสนอนั้น

ก.ค.ศ. ได้ให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมากลั่นกรองเรื่องที่อนุกรรมการฯเสนอว่า มีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรบ้าง เพื่อให้ครูประถมฯ และมัธยมฯ อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ซึ่งคาดว่าคณะทำงานจะพิจารณาได้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน 
 
“หากหลักเกณฑ์ที่อนุกรรมการฯของสภาการศึกษา เสนอมามีความชัดเจนและทุกฝ่ายยอมรับความแตกแยกก็ไม่เกิด แต่ความแตกแยกเกิดเพราะหลักเกณฑ์ไม่ชัดเจน

ดังนั้นต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ ทั้งนี้ในการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว จะต้องเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มครูประถมฯ และมัธยมฯ รวมทั้งคนกลางมาร่วมพิจารณาด้วย” นายมังกร กล่าว 
 
ด้าน นายยงยุทธ์ ทิพรส ประธานสมาพันธ์ครูมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า เท่าที่ศึกษาข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ สภาการศึกษาเห็นว่า หลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมฯ และมัธยมฯ นั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เพราะเป็นการกำหนดบรรทัดฐานที่ดีในการแต่งตั้ง และสรรหาผู้บริหารโรงเรียน

แต่เป้าหมายขององค์กรครู คือ การจัดตั้งสำนักเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา 76 จังหวัด ซึ่งเรายืนยันที่จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไป

โดยในวันที่ 11 ก.ย.นี้ จะมีการประชุมสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ครูมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษาแห่งประเทศ สมาพันธ์ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย และสมาคมรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่โรงแรมแอม บาสเดอร์ กรุงเทพฯ เพื่อหาแนวทางในการ เดินหน้าเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวตนเห็นว่าหลังจากปฏิรูปการศึกษามา 9 ปีแล้วขณะนี้ถึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ได้แล้ว รวมถึงการปรับโครงสร้างด้วย.

จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 

คำสำคัญ (Tags): #ประถม + มัธยม
หมายเลขบันทึก: 208965เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 01:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

....ขอแสดงความดีใจ กับพี่มัธยม จริงๆถ้าได้แยก เขตพื้นที่การศึกษา เพราะบริบท สองระดับต่างกันมาก วัฒนธรรมต่างกันมาก

....กว่าจะได้เป็น ครูมัธยมต้องสอบแข่งขันกับคู่แข่งขันมากมาย เช่น 1 ต่อร้อย แต่เดียวนี้ ครูประถมย้าย มามัธยม ได้โดย ......พว.....เส้..... เง.... เป็นการเอาเปรียบ ครูมัธยมที่มีสิทธิขอย้าย นี่คือการถูกกดขี่ ด้วยองค์กร...........

....รองมัธยม ในอดีต จะเป็นได้ ต้องได้รับยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน เช่น มีวุฒิ ความรู้ หรืออาวุโส โรงเรียนจะส่งเข้าอบรม เพื่อมาพัฒนางาน ให้ได้รับการยอมรับ และรู้สึกอบอุ่น เพราะการถือวัยวุฒิ และคุณวุฒิเป็นที่ตั้ง

...แต่ปัจจุบัน มีรองมาจากประถม โดยการสอบ บางครั้ง เป็นรุ่นลูกๆ ของครูในโรงเรียน ให้มาพูดจาดุด่าว่าส่อเสียด คนรุ่นพ่อแม่

ให้คายเคือง ใช่หรือนี่สังคมไทย นี่หรือคือความยุติธรรม

ผู้หลักบักใหญ่ โปรดจงมองเห็นความจริง ลดอำนาจ แสวงหาพวกพ้อง ลูกน้อง โดยไม่ลืมหูลืมตาดูความเป็นธรรม ก่อนที่บ้านเมืองจะวิบัติไปกว่านี้

ควรแยกการบริหารจัดการ เขตพื้นที่มัธยม ให้เขาสร้างคุณภาพ เพื่อความเป็นธรรมเถิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท