:) พุทธรักษา..ไม้มงคล..ช่วยคุ้มครองภยันตราย :)


คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้าน ละผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง

มารู้จัก....

ดอกพุทธรักษา กันนะคะ

 

ซึ่งถือว่าเป็น.. 

ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ  ด้วยค่ะ

ชื่อสามัญ                     Canna, Indian shoot

ชื่อวิทยาศาสตร์           Canna generalis

ตระกูล                         CANNACEAE

ถิ่นกำเนิด                     หมู่เกาะฮาวาย

 ลักษณะทั่วไป

พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

 การเป็นมงคล

คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง

 

ดอกพุทธรักษา   แถวๆที่ทำงานค่ะ

 

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นพุทธรักษาไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ

 

 การปลูก นิยมปลูก 2 วิธี

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรใช้แปลงปลูกขนาด 2 x 10 เมตร  โดยการยกร่องคล้ายแปลงปลูกผัก การเตรียมดินใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10-20 กิโลกรัม/แปลง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30  x30 แต่ถ้าปลูกเพื่อประดับบ้าน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้านหรือปลูกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่จำกัด ขนาดหลุม  ปลูก 30 x 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก
2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่ใช้เป็นดอกประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว    ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา1:1:1ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถาง12ครั้งต่อปีเพราะการขยายตัวของหน่อแน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

ดอกพุทธรักษา   แถวๆที่ทำงานค่ะ

การดูแลรักษา

แสง  ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง

น้ำ    ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง

ดิน   เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย

ปุ๋ย   ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ

ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธุ์ นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด

วิธีที่นิยมและได้ผลดี การแยกหน่อ

โรคและแมลง    ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่รบกวน

ได้แก่ พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากในหน้าร้อน

การป้องกันกำจัด    ฉีดพ่นด้วย มาลาไธออนหรือไดอาซินอน

ถ้าหากกอมีขนาดใหญ่และทึบอาจใช้ยาดูดซึม จำพวก

ไซกอน   ละลายน้ำรด ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากก็ได้

 

ดอกพุทธรักษา   แถวๆที่ทำงานค่ะ

ขอบคุณข้อมูลhttp://www.maipradabonline.com/maimongkol/putaraksa.htm

หมายเลขบันทึก: 208729เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 04:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มาเยี่ยมมาเยือนยามเช้าครับ เอาดอกพุทธรักษามาฝากครับ รักษาสุขภาพด้วยนะครับ ได้เวลาทำงานหลังจากหยุดพักมาอีกแล้ว สู้ขาดใจครับ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

ดอกพุทธรักษา สีสวย ข้างทางไปโรงเรียนมีหลายสีมากเลย แต่ที่บ้านไม่มี ไม่มีดินปลูกด้วย เทปูนรอบบ้านแล้ว

ขอบคุณP

คนพลัดถิ่น

ที่แวะมาทักทาย

เสาร์ - อาทิตย์ที่ผ่านมา ก็ไปทำงานตลอด ค่ะ

ตอนนี้ช่วยพี่ๆเค้าทำวิจัย ฯลฯ 

มีแต่สิ่งดีๆ  รักษาสุขภาพนะคะ

 

สวัสดีค่ะ ชอบดอกไม้ทุกชนิดค่ะ

                ดอกก็งาม  นามก็เป็นมงคล

                ดูแล้วสบายตา สบายใจครับ

ขอบคุณค่ะP

พี่NONGYAO - CHAMCHOY

          ที่แวะมาทักทาย

                       มีแต่สิ่งดีๆ  นะคะ

 

ขอบคุณค่ะP

คุณสุนันทา

ชอบดอกไม้ เช่นกันค่ะ

ดอกไม้  ทำให้รู้สึกสดชื่น ปลอดโปร่งค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

ขอบคุณค่ะP

ท่านรองฯsmall man~natadee

ที่แวะมาทักทาย

ขอท่านมีแต่สิ่งดีๆในทุกๆวัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท