ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย   

 Øที่มาของการวิจัย   วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ (Methods of acquiring knowledge) มนุษย์มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมานานนับตั้งแต่ยุคเริ่มแรกมาแล้ว โดยเฉพาะความรู้ต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่อยู่รอบตัว ความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ ในปัจจุบันนี้ประกอบด้วย ข้อเท็จจริงและ ทฤษฎีต่าง ๆ ซึ่งนับวันจะมีข้อค้นพบมากยิ่งขึ้นไปตามระยะเวลา ซึ่งความรู้เหล่านี้ช่วยให้มนุษย์มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถที่จะอธิบาย ควบคุมหรือพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้ การเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์มิใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ แต่เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยสติปัญญา และการฝึกฝนต่าง ๆ ซึ่งมีวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์จำแนกได้ดังนี้
       1. วิธีโบราณ (Older methods) ในสมัยโบราณมนุษย์ได้ความรู้มาโดย
                1.1 การสอบถามผู้รู้หรือผู้มีอำนาจ (Authority) เป็นการได้ความรู้จากการสอบถามผู้รู้ หรือผู้มีอำนาจ เช่น ในสมัยโบราณเกิดโรคระบาด ผู้คนก็จะถามจากผู้ที่มีอำนาจว่าควรทำ อย่างไร ซึ่งในสมัยนั้นผู้มีอำนาจก็จะแนะนำให้ทำพิธีสวดมนต์อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ให้ช่วยคลี่คลายเหตุการณ์ต่าง ๆ คนจึงเชื่อถือโดยไม่มีการพิสูจน์
                1.2 ความบังเอิญ (Chance) เป็นการได้ความรู้มาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งไม่ได้เจตนาที่จะศึกษาเรื่องนั้นโดยตรง แต่บังเอิญเกิดเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์บางอย่างทำให้มนุษย์ได้รับความรู้นั้น เช่น เพนนิซิลินจากราขนมปัง
                1.3 ขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition) เป็นการได้ความรู้มาจากสิ่งที่คนในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ผู้ที่ใช้วิธีการนี้ ควรตระหนักด้วยว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงตรงเสมอไป ดังนั้นผู้ที่ใช้วิธีการนี้ควรจะได้นำมาประเมินอย่างรอบคอบเสียก่อนที่จะยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
                1.4 ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) เป็นการได้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เมื่อมีปัญหาหรือต้องการคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใดก็ไปถามผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะเรื่องนั้น เช่น เรื่องดวงดาวต่าง ๆ ในท้องฟ้าจากนักดาราศาสตร์ เรื่องความเจ็บป่วยจากนายแพทย์
                1.5 ประสบการณ์ส่วนตัว (Personal experience) เป็นการได้ความรู้จากประสบการณ์ที่ตนเคยผ่านมา  ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลช่วยเพิ่มความรู้ให้บุคคลนั้น เมื่อประสบปัญหาก็พยายามระลึกถึงเหตุการณ ์หรือวิธีการแก้ปัญหาในอดีตเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ประสบอยู่
                 1.6 การลองผิดลองถูก (Trial and error) เป็นการได้ความรู้มาโดยการลอง แก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาที่ไม่เคยทราบมาก่อน เมื่อแก้ปัญหานั้นได้ถูกต้องเป็นที่พึงพอใจ ก็จะกลายเป็นความรู้ใหม่ที่จดจำไว้ใช้ต่อไป ถ้าแก้ปัญหาผิดก็จะไม่ใช้วิธีการนี้อีก
       2. วิธีการอนุมาน (Deductive method) คิดขึ้นโดยอริสโตเติล (Aristotle) เป็นวิธีการคิดเชิงเหตุผล ซึ่งเป็นกระบวนการคิดค้นจากเรื่องทั่ว ๆ ไปสู่เรื่องเฉพาะเจาะจง หรือคิดจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อยจากสิ่งที่รู้ไปสู่ สิ่งที่ไม่รู้ วิธีการอนุมานนี้จะประกอบด้วย
                 1. ข้อเท็จจริงใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่ในตัวมันเอง หรือเป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเป็นกฎเกณฑ์
                2. ข้อเท็จจริงย่อย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงใหญ่ หรือเป็นเหตุผลเฉพาะกรณีที่ต้องการทราบความจริง
                3. ผลสรุป เป็นข้อสรุปที่ได้จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของเหตุใหญ่และ เหตุย่อย

     ตัวอย่างการหาความจริงแบบนี้ เช่น

         ตัวอย่างที่ 1  ข้อเท็จจริงใหญ่ : สัตว์ทุกชนิดต้องตาย
                        ข้อเท็จจริงย่อย : แมวเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง
                        ผลสรุป : แมวต้องตาย

        ตัวอย่างที่ 2  ข้อเท็จจริงใหญ่ : ถ้าโรงเรียนถูกไฟไหม้ ครูจะเป็นอันตราย
                       ข้อเท็จจริงย่อย : โรงเรียนถูกไฟไหม้
                       ผลสรุป : ครูเป็นอันตราย

                ถึงแม้ว่าการแสวงหาความรู้โดยวิธีการอนุมาน จะเป็นวิธีการที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ก็มีข้อจำกัด ดังนี้
                1. ผลสรุปจะถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงใหญ่กับข้อเท็จจริงย่อย หรือทั้งคู่ ไม่ถูกต้องก็จะทำให้ข้อสรุปพลาด ไปด้วย ดังเช่นตัวอย่างที่ 2 นั้น การที่โรงเรียนถูกไฟไหม้ ครูในโรงเรียนอาจจะไม่เป็นอันตรายเลยก็ได้
                 2. ผลสรุปที่ได้เป็นวิธีการสรุปจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ แต่วิธีการนี้ไม่ได้เป็นการยืนยันเสมอไปว่า ผลสรุปที่ได้จะเชื่อถือได้เสมอไป เนื่องจากถ้าสิ่งที่รู้แต่แรกเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนก็จะส่งผลให้ข้อสรุปนั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย
     3. วิธีการอุปมาน (Inductive Method) เกิดขึ้นโดยฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เนื่องจากข้อจำกัดของวิธีการอุมานในแง่ที่ว่าข้อสรุปนั้น จะเป็นจริงได้ต่อเมื่อข้อเท็จจริงจะต้องถูกเสียก่อน จึงได้เสนอแนะวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อย ๆ เสียก่อนแล้วจึงสรุปรวบไปหาส่วนใหญ่ หลักในการอุปมานนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
                3.1 วิธีการอุปมานแบบสมบูรณ์ (Perfect inductive method) เป็นวิธีการแสวงหาความรู้โดยรวบรวม ข้อเท็จจริงย่อย ๆ จากทุกหน่วยของกลุ่มประชากร แล้วจึงสรุปรวมไปสู่ ส่วนใหญ่ วิธีนี้ปฏิบัติได้ยากเพราะบางอย่างไม่สามารถนำมาศึกษาได้ครบทุกหน่วย นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายมาก
                3.2 วิธีการอุปมานแบบไม่สมบูรณ์ (Imperfect inductive method) เป็นวิธีการ เสาะแสวงหาความรู้ โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อย ๆ จากบางส่วนของกลุ่มประชากร แล้วสรุปรวมไปสู่ส่วนใหญ่ โดยที่ข้อมูลที่ศึกษานั้นถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งที่จะศึกษาทั้งหมด ผลสรุปหรือ ความรู้ที่ได้รับสามารถอ้างอิงไปสู่กลุ่มที่ศึกษาทั้งหมดได้ วิธีการนี้เป็นที่นิยมมากกว่าวิธีอุปมานแบบสมบูรณ์ เนื่องจากสะดวกในการปฏิบัติและประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่าย
      4. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นการเสาะแสวงหาความรู้โดยใช้หลักการของ วิธีการอนุมานแล ะวิธีการอุปมานมาผสมผสานกัน Charles Darwin เป็นผู้ริเริ่มนำวิธีการนี้มาใช้ ซึ่งเมื่อต้องการค้นคว้าหาความรู้ หรือแก้ปัญหาในเรื่องใดก็ต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นก่อน แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการสร้างสมมติฐาน ซึ่งเป็นการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้า ต่อจากนั้นเป็นการตรวจสอบปรับปรุงสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล และการทดสอบสมมติฐาน และJohn Dewey ปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วให้ชื่อวิธีนี้ว่า การคิดแบบใคร่ครวญรอบคอบ (reflective thinking) ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
                 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ที่ดีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางการศึกษาด้วย
     ขั้นตอนของวิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์มีดังนี้
                 1. ขั้นปัญหา (Problem)
                  2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis)
                3. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering Data)
                4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)
                 5. ขั้นสรุป (Conclusion)

     ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แก้ปัญหาทางการศึกษา
                 1. การตระหนักถึงปัญหา ขั้นนี้ผู้เสาะแสวงหาความรู้มีความรู้สึก หรือตระหนักว่าปัญหาคืออะไร หรือมีความสงสัยใคร่รู้เกิดขึ้นว่าคำตอบของปัญหานั้นคืออะไร
                2. กำหนดขอบเขตของปัญหาอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจง ขั้นนี้จะต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ตนจะศึกษาหาคำตอบนั้นมีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน
                3. กำหนดสมมติฐาน ผู้แสวงหาความรู้ คาดคะเนคำตอบของปัญหาโดยการสังเกตจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่
                 4. กำหนดเทคนิคการรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่มีคุณภาพไว้ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่จะตอบปัญหาที่ต้องการ
                 5. รวบรวมข้อมูล ผู้เสาะแสวงหาความรู้ นำเครื่องมือที่พัฒนาไว้ในขั้นที่ 4 มารวบรวมข้อมูลที่จะตอบปัญหาที่ต้องการทราบ
                6. วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่รวบรวมได้ในขั้นที่ 5 มาจัดกระทำเพื่อหาคำตอบ
                 7. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เสาะแสวงหาความรู้ สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับสมมติฐานที่คาดคะเนไว้บนพื้นฐานของผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล

             Øความหมายของการวิจัย      การวิจัย ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Research” ถ้าจะแปลตามตัวหมายถึง การค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งความหมายของคำว่าวิจัย ทางด้านวิชาการได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน เช่น
                เบสท์ (Best, 1981 อ้างถึงใน บุญเรียง ขจรศิลป์ , 2533 : 5) ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าเป็นวิธีการที่เป็นระบบระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ และคิดบันทึกการสังเกตที่มีการควบคุมเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปอ้างอิง หลักการหรือทฤษฎีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำงานและการควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
                รัตนะ บัวสนธ์ (2543, 3) ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่า เป็นการหาความจริงเชิง สาธารณะด้วยวิธีการที่เรียกว่ากระบวนการวิจัยซึ่งมีลักษณะเป็นระบบมีขั้นตอน
                ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล (2543 : 21) สรุปความหมายของการวิจัยไว้ว่า การวิจัยคือการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบระเบียบเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและแสวงหาคำตอบ เป็นกระบวนการที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
                บุญเรียง ขจรศิลป์ (2533 : 5) ได้ให้ความหมายของคำว่า การวิจัยทางด้านวิชาการ หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
                ดังนั้น การวิจัยทางการศึกษาจึงหมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นความจริงเชิงตรรกะ (Logical) หรือความจริงเชิงประจักษ์ (Empirical) เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก  
        Øลักษณะที่สำคัญของการวิจัย   เบสท์ (Best , 1981อ้างถึงใน บุญเรียง ขจรศิลป์ , 2533 : 5) ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการวิจัยไว้ดังนี้
                 1. เป้าหมายของการวิจัยมุ่งที่จะหาคำตอบต่าง ๆ เพื่อจะนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีอยู่โดยพยายามที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวแปรในลักษณะความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
                 2. การวิจัยเน้นถึงการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป้าหมายของการวิจัยนั้นมิได้ หยุดอยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาเท่านั้น แต่ข้อสรุปที่ได้มุ่งที่จะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร เป้าหมาย
                 3. การวิจัยจะอาศัยข้อมูล หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตได้รวบรวมได้ คำถามที่น่าสนใจบางคำถามไม่สามารถทำการวิจัยได้ เพราะไม่สามารถรวบรวมข้อมูลมาศึกษาได้
                4. การวิจัยต้องการเครื่องมือและการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำ เที่ยงตรง
                5. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ จากแหล่งปฐมภูมิหรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิมเพื่อหาคำตอบของวัตถุประสงค์ใหม่
                 6. กิจกรรมที่ใช้ในการวิจัย เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างมีระบบแบบแผน
                 7. การวิจัยต้องการผู้รู้จริงในเนื้อหาที่จะทำการวิจัย
                8. การวิจัยเป็นกระบวนการที่มีเหตุผล และมีความเป็นปรนัยสามารถที่จะทำการตรวจสอบความตรงของวิธีการที่ใช้ข้อมูลที่รวบรวมมา และข้อสรุปที่ได้
                9. สามารถที่จะทำซ้ำได้ โดยใช้วิธีเดียวกัน หรือวิธีการที่คล้ายคลึงกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มประชากร สถานการณ์ หรือระยะเวลา
                10. การทำวิจัยนั้นจะต้องมีความอดทนและรีบร้อนไม่ได้ นักวิจัยควรจะเตรียมใจไว้ด้วยว่า อาจจะต้องมีความลำบากในบางเรื่อง ในบางกรณีที่จะแสวงหาคำตอบ ของคำถามที่ยาก ๆ
                11. การเขียนรายงานการวิจัยควรจะทำอย่างละเอียดรอบคอบ ศัพท์เทคนิคที่ใช้ควรจะบัญญัติความหมายไว้ วิธีการที่ใช้ในการวิจัยอธิบายอย่างละเอียด รายงายผลการวิจัยอย่างตรงไป ตรงมาโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่บิดเบือนผลการวิจัย
                12. การวิจัยนั้นต้องการความซื่อสัตย์และกล้าหาญในการรายงานผลการวิจัยในบางครั้ง ซึ่งอาจจะไปขัดกับความรู้สึกหรือผลการวิจัยของคนอื่นก็ตาม

   Ø ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา  

1. ความซับซ้อนของเนื้อหาหรือปัญหาที่จะศึกษา
2. ความยากในการรวบรวมข้อมูล
3. ความยากในการทำซ้ำ
4. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มประชากรมีผลกระทบต่อผลการวิจัย
5. ความยากในการควบคุมตัวแปรเกิน
6. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษา มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ น้อยกว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์

   Øประโยชน์ของการวิจัย
           1. ช่วยส่งเสริมความรู้ทางด้านวิชาการและศาสตร์สาขาต่าง ๆ ให้มีการค้นคว้าข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าการวิจัยจะทำให้มีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมซึ่งทำให้วิทยาการต่าง ๆ  เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทั้งตัวผู้วิจัยและผู้นำเอาเอกสารการวิจัยไปศึกษา
           2. นำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหาโดยตรง ช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติได้เลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ก่อให้เกิดการประหยัด
           3. ช่วยในการกำหนดนโยบาย หรือหลักปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นไปด้วยความถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
           4. ช่วยให้ค้นพบทฤษฎีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกอย่างมีความสุขสบาย
             5. ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

           Øคุณสมบัติที่สำคัญ ๆ ของผู้ที่เป็นนักวิจัย        เนื่องจากงานวิจัยเป็นงานหนัก เป็นการค้นคิดเพื่อแก้ปัญหา เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ ดังนั้น นักวิจัย (Researcher) หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในงานวิจัยจึงมักจะมีบุคลิกภาพ และความสามารถตามที่รวบรวมได้ดังนี้คือ
     1. ในด้านอารมณ์หรือทัศนคติ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยนั้นมักจะมีความมุ่งหวัง และแรงขับทางอารมณ์ต่าง ๆ ดังนี้ คือ
                1.1 มีแรงกระตุ้นเตือนภายในตัวเอง อันเกิดขึ้นจากความอยากรู้อยากเห็นมากเป็นพิเศษ
                1.2 เป็นคนที่มีความสุข เพลิดเพลินต่อการงานคิดสร้างสรรค์ของใหม่
                 1.3 เป็นบุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) หรือเป็นคนที่มุ่งหวังหรือต้องการจะทำอะไรให้สำเร็จมาก เพราะคิดว่าผลงานนั้นจะมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
     2. ในทางความรู้ความสามารถ มักจะมีลักษณะเด่น ๆ ในทางความรู้ที่มีประสิทธิภาพ คือเป็นความรู้ที่ใช้งานแต่มิใช่ความรู้ที่เก็บสะสมไว้ ได้แก่
                 2.1 เป็นผู้ที่มีความสามารถในการค้นหา เลือก และใช้ผลงานการวิจัยของคนอื่นได้อย่างดีและรวดเร็ว
                2.2 เป็นคนที่มีความรู้และทักษะในการใช้แบบแผนการวิจัย (Research Design) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะในการใช้หลักตรรกวิทยาในการแก้ปัญหา
                2.3 เป็นคนที่มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือการวิจัยประเภทต่าง ๆ
                 2.4 เป็นคนที่มีความรู้และทักษะในวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการทางสถิติวิเคราะห์
                 2.5 เป็นคนที่มีความสามารถในการสรุปความคิดให้เป็นข้อยุติ แล้วนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างกว้างขวาง (Generalization)
                2.6 เป็นคนที่มีความสามารถในการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์และคาดคะเนได้
                2.7 เป็นคนที่มีระบบในการทำงาน โดยทำงานมีระเบียบ และสามารถจัดหมวดหมู่ของความคิดสามารถเขียนรายงานการวิจัยได้ดี
      3. ในด้านความสามารถในการตัดสินใจ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยมักจะมีความสามารถในการเลือกกระทำ หรือสามารถตัดสินใจดี เช่น
                3.1 เป็นคนที่กล้าคิด
                3.2 เป็นคนที่อดทน
                3.3 เป็นคนใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
                3.4 เป็นคนที่ถ่อมตน รอบคอบ สุภาพต่อคนทั่วไป ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ แต่ใช้ปัญญาที่รอบคอบในการ ตัดสินใจทุก ๆ อย่าง
                3.5 เป็นคนที่มีแรงศรัทธาในปัญญา และมีรสนิยมในทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ เป็นผู้ยึดมั่นในหลักวิชาที่ดีงามและ ยุติธรรม
                3.6 เป็นคนที่มีความคิดเป็นอิสระและทำงานไปในทางที่ดีงาม
                3.7 เป็นคนที่ประมาณตัวเองได้ คือรู้ฐานะแห่งตน รู้กำลังของตน รู้ขอบเขตของตน
                3.8 เป็นคนที่มีความสามารถในการควบคุมตัวเองให้เป็นไปตามหลักวิชาที่ดีงามและยุติธรรม
                3.9 เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในกฎเกณฑ์ธรรมชาติ เชื่อมั่นตามหลักเหตุผล
                3.10 เป็นคนที่มีความหวังที่จะเห็นผลงานวิจัยอยู่เสมอ
                คุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้นับได้ว่าเป็นลักษณะที่เด่น ๆ โดยเฉพาะของนักวิจัยผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการวิจัย ซึ่งสมาคมการวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมไว้  ดังนั้นถ้าท่านต้องการเป็นนักวิจัยที่มีคุณสมบัติ  ิและความสามารถดังกล่าวมาแล้ว ก็ควรจะได้ฝึกฝนตนเองในด้านต่าง ๆ เท่าที่จะกระทำได้

      Øจรรยาบรรณนักวิจัย   

                คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติิ ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2541 ได้กำหนดจรรยาบรรณนักวิจัยขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวหลักเกณฑ ์ควรประพฤติของนักวิจัยทั่วไป ไม่ว่าสาขาวิชาการใด ๆ โดยให้มีลักษณะเป็นข้อพึงสังวรณ์คุณธรรม และจริยธรรมในการทำงานวิจัยของนักวิจัยไทย ดังนี้ (สภาวิจัยแห่งชาติ , 2541)
                 “นักวิจัยหมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีดังกล่าวจึงครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
                 “จรรยาบรรณหมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในสาขา วิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติเพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตนจรรยาบรรณในการวิจัย จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระเบียบวิธีวิจัย เนื่องด้วยในกระบวนการค้นคว้าวิจัย นักวิจัยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสิ่งที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต การวิจัยจึงอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งที่ศึกษาได้หากผู้วิจัยขาดความรอบคอบระมัดระวัง การวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผน และกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศทุกด้าน โดยเฉพาะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของ นักวิจัยในเรื่องที่จะศึกษา และขึ้นอยู่กับคุณธรรมจริยธรรมของนักวิจัยในการทำงานวิจัยด้วย ผลงานวิจัยที่ด้อยคุณภาพด้วยสาเหตุใดก็ตาม หากเผยแพร่ออกไป อาจเป็นผลเสียต่อวงวิชาการและประเทศชาติได้
                ด้วยเหตุนี้สภาวิจัยแห่งชาติจึงกำหนดจรรยาบรรณนักวิจัยไว้เป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัยไว้ 9 ประการ ดังนี้
                1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
          นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มา ของข้อมูลที่นำมาใช้ในวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
                2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับ หน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด
         นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัยให้ได้ผลที่ดีที่สุดและเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ
                3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
         นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันปัญหาการ



ความเห็น (12)

เป็นประโยชน์มากใช้สอบของครุสภาได้เปล่าตอบด้วยนะ

ทำไมเห็นรายงานชิ้นนี้ ในหลายเว็บไซต์จังค่ะ

"นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มา ของข้อมูลที่นำมาใช้ในวิจัย"

อันนี้สำคัญค่ะ

เรามีงานให้เลือกทำ 5 งาน คือ
 1. ทำแบบสอบถาม ชุดละ 15 บาท รายได้ 300-500 บาท/วัน
 2. รับโทรศัพท์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับงาน วันละ 500-1,000 บาท/วัน
 3. รับโทรศัพท์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพ วันละ 500-1,000 บาท/วัน
 4. งาน Internet 500-1,000 บาท/วัน
 5. ออกสื่อโฆษณา 500-1,000 บาท/วัน
 
คุณสมบัติ
1. อายุ 20 ปีขึ้นไป (ถ้าไม่ถึงขออนุญาตผู้ปกครองก่อน)
2. ต้องมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเอง
3. มีเวลาว่าง 2-5 ชั่วโมง/วัน
4. ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ต่างจังหวัดก็ทำได้
 (บริษัทมีระบบสอนผ่านcompute และ Internet )
 5.เหมาะสำหรับ แม่บ้าน นักศึกษา วิศวกร ข้าราชการ พนักงานประจำ ,
 แพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือบุคคลทั่วไป
> ติดต่อ คุณสุวิมล 08
1 -5795205

http://doiop.com/f01idb

ขอบคุณมากๆๆนะคร้า

สำหรับความรู้ที่มอบให้

เอามาอีกนะคร้า

ขอบคุณครับดีมาก

ขอบคุณบันทึกดีๆ ค่ะอาจารย์

จตุรพัฒน์รักพิมพ์ใจ

ขอบคุณครั

มีประโยชน์สำหรับทุก ๆ คนจริง ๆ ครับ


ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท