สังคมผู้ชราในยุค....(ตัวเอง)


ช่วงนี้มีภาระงานในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ติดตามพื้นที่ที่จัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ หลายวันมานี้เห็นภาพความคิดของผู้จัดสวัสดิการ ให้แก่สมาชิกในพื้นที่ของตนเป็นภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชน ให้สมาชิกมีส่วนร่วมกับกองทุนโดยการนำเงินมาออม จำนวนขึ้นอยู่กับแนวคิดของแต่ละกองทุนที่แตกต่างกันไป เท่าที่พบเป็นแนวคิดสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท สัจจะสะสมทรัพย์ อีกภาพคือการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ปัญหาในองค์กร

วันนี้ได้แวะไปติดตามกิจกรรมที่โรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง มีบริเวณติดกับวัดและอยู่ติดแม่น้ำ ด้านหลังโรงเรียนเป็นบ้านเรือนและแปลงนาข้าว สวนแก้วมังกรสลับกันไป  คุณครูเล่าให้ฟังถึงสภาพโรงเรียน มีนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป 1 ถึง ป 6 รวมทั้งหมด 40 คน มีคุณครูจำนวน 5 คน ตกใจว่าทำไมมีนักเรียนน้อยมาก คุณครูบอกว่า นี่เป็นจำนวนทั้งหมดของเด็กวัยประถมละแวกนี้ เดี๋ยวนี้จำนวนเด็กลดลงเรื่อย ๆ ทำให้นึกไปถึงสังคมชราภาพของประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่นักวิชาการได้พูดถึง

เมื่อเดือนก่อนได้ฟังนักวิชาการแสดงความคิดเห็นถึงทิศทางการดูแลผู้สูงอายุไทยควรเป็นอย่างไร ระบบบำนาญอาจไม่สามารถครอบคลุมผู้สูงอายุทั้งหมดได้ และที่สำคัญผู้สูงอายุไม่ได้ต้องการเพียงเงินยังชีพแต่ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานมากกว่าสิ่งอื่น  

ตอนนั่งรถออกจากโรงเรียนคิดเล่น ๆ ว่าในฐานะที่ตัวเองก็ต้องเป็นผู้ชราอย่างโดดเดี่ยวแน่ ไม่มีลูกหลาน มีเพียงญาติพี่น้องและเพื่อนที่ต่างแก่ชราไร้ลูกหลานเช่นกัน ทำให้ลองนึกภาพของผู้ชราในยุคเราตอนนั้น อีกประมาณ 30-40 ปีข้างหน้า คาดคะเนเล่น ๆ(ดูตัวเองและคนรอบข้าง)คิดว่าคงไม่มีปัญหาเรื่องเงินเพราะส่วนมากตอนนี้เป็นผู้ที่มีงานทำ มีรายได้มั่นคง ในตอนนั้นคงเป็นผู้ชราที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ภูมิปัญญาในสายงานของตนอย่างเต็มเปี่ยม น่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียว สังคมจะดูแลผู้ชรากลุ่มแบบนี้อย่างไร หรือจะใช้ประโยชน์จากสังคมผู้ชราที่มีคุณลักษณะแบบนี้อย่างไร?  (ยังไม่ได้ลองนึกภาพผู้ชราของยุคนั้นที่เป็นลักษณะอื่นๆ)

หมายเลขบันทึก: 207585เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดี น้องรัช

น้องรัชทำงานสวัสดิการมากไปหม้าย เพราะประเด็นสวัสดิการทั้งคนจัดและคนรับ ล้วนแล้ว เป็นสว เสียส่วนมาก ทำให้น้องรัชคิดเข้าชมรม "กล้วยไม้" ด้วยมั้ง ฮา ฮา ฮา

มาพัทลุง แวะมากินข้าว สังข์หยด ทีปากพะยูนบ้างน่ะ ไม่ได้ ทะ ทีม อ. ภีม นานแล้ว

คิดถึงทุกคน

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สวัสดีค่ะน้องรัช

ไม่ได้ส่งเสียงทักทาย ได้อ่านบล็อกก็ยังดี :)

น้องรัช "คิดการณ์ไกล" ทำให้ต้องจินตนาการภาพ "ป้ารัช" อีก 30 ปีข้างหน้าตามไปด้วย :)

การคิดเตรียมการ ณ วันนี้ก็ดีค่ะ ถือว่าไม่ประมาท แต่ส่วนบุคคลก็คงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า "ออม" ไปตามอัตภาพ

ท่านพุทธทาสเคยเขียนไว้ทำนองว่า ไม่ต้องกังวลอะไรมาก เพราะนี่คือชีวิต

คิดว่า..ในยามที่ไม่มีลูกหลาน (หรือมีลูกหลานแต่ไม่ได้หวังการพึ่งพา) "ออมความดี" น่าจะดีที่สุด เพราะคนดีย่อมมีเพื่อน เคยคุยกับเพื่อนญี่ปุ่น เขาเชื่อว่า ถ้ามีเพื่อน มีสังคมที่เอื้ออาทร ต่อให้ไม่มีเงินก็พออยู่ได้ (คิดถึงลุงเรือง)

สรุปว่า สะสมความดีและออมเงินตามอัตภาพ ก็เป็นหลักประกันชีวิตในระดับหนึ่งแล้วค่ะ

ต้องยกตัวอย่างเรื่องเดิม คือ คนแก่มีเงินแต่ต้องซื้อหุ่นยนต์มาป้อนข้าว... นั่นเป็นจินตนาการสังคมคนชราของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นค่ะ

รักษาสุขภาพและเจอกันในเร็ววันนี้นะคะ

ปล. ที่โรงเรียนมีนักเรียนน้อย ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเด็กๆหนีเข้าเมือง ตอนไปนอนที่วัดป่ายาง เมืองนครฯ ตอนเช้าไปเดินเล่นดูโรงเรียนใกล้วัดก็สถานการณ์คล้ายๆกัน ยังคิดเล่นๆว่า ถ้าเราไปเป็นครูที่นั่น แล้วถ้าสามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนในฝันได้จริงๆ จะ "ดึง"เด็กเอาไว้ได้ไหม อย่างไร

น้องรัช แวะเข้ามาทักทายค่ะ ไม่ได้เจอเสียนานสบายดีมั้ยคะ แล้วค่อยเจอกันในงานมหกรรมจัดการความรู้เหมือนคอน ที่วิทยาลัยเทคนิคปลายเดือนนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท