ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

ดนตรีเพื่อพัฒนาสมอง


ดนตรีเพื่อพัฒนาสมอง

 ดนตรีเพื่อพัฒนาสมอง

กิจกรรมการบริหารสมองแบบ Brain Gym  เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยคลายเครียด  ช่วยให้ร่างกาย สมองทำงานประสานสัมพันธ์กัน  ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้สมองแข็งแรง  และทำงานสมดุลทั้งสองซีก  ทั้งช่วยเตรียมความพร้อมให้สมองเปิดรับสิ่งต่างๆได้ดี  และช่วยให้สมองตื่นตัวในขณะที่ร่างกายผ่อนคลาย  กิจกรรมบริหารสมองนี้ จะมีประสิทธิภาพขึ้นถ้าเด็กๆได้เคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองเบาๆ  และจังหวะชัดเจน

                การเคลื่อนไหวเพื่อบริหารสมองด้วยกิจกรรม Brain Gym   ประกอบด้วย

1.       การเคลื่อนไหวสลับข้าง / ข้ามเส้นกลางร่างกาย ( Cross-over  Movements)

2.       การยืดส่วนต่างๆของร่างกาย ( Lengthening  Movements )

3.       การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น ( Energing  Movements )

4.       การบริหารร่างกายเพื่อผ่อนคลาย ( Sueful  Exercise )

 

การจัดกิจกรรมดนตรี

กิจกรรมทางด้านดนตรีเป็นกิจกรรมที่แสดงออกที่สำคัญสำหรับเด็ก  ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของความเจริญงอกงามและการดำรงชีวิต   ดนตรีเป็นประสบการณ์สำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  เด็กได้เรียนรู้การฟัง  การเคลื่อนไหว  การร้องเพลง  และการเล่นดนตรีง่ายๆในห้องเรียนที่แวดล้อมด้วยกิจกรรมส่งเสริมด้านดนตรี 

นักการศึกษาได้กำหนดองค์ประกอบของดนตรีศึกษา  และเป็นที่ยอมรับอยู่ในปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น  3  ประเภทคือ

1. การพัฒนาศักยภาพของการเคลื่อนไหวร่างกาย  ซึงเป็นกระบวนการหลอมประสาทการรับรู้และสติปัญญาเข้าด้วยกัน

2.  การพัฒนาประสาทการรับฟัง

3.  ความสามารถในการประดิษฐ์ หรือสร้างโดยอิสระ

 

คุณค่าของดนตรี

1.  ด้านร่างกาย  ดนตรีช่วยให้เกิดพัฒนาด้านการทรงตัว  ความสัมพันธ์ของอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย  และการควบคุมกล้ามเนื้อ  ขณะที่เด็กเคลื่อนไหวหรือเล่นดนตรี  กล้ามเนื้อใหญ่จะมีการพัฒนา

2.  ด้านอารมณ์  ดนตรีคือความสนุกสนาน  ดนตรีช่วยให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์  ได้แสดงออกทางด้านการร้องเพลง  การแสดงละคร  ซึ่งช่วยปลดปล่อยพลังงานและคลายความเครียด  เด็กได้เรียนรู้ว่าดนตรีทีทั้งเศร้า  สุข  เครียด  โกรธ  เห็นใจ  ฯลฯ

3.  ด้านสังคม  ดนตรีช่วยให้เด็กรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  การร้องเพลงด้วยกัน  ทำให้มีความรู้สึกร่วมกัน  เด็กรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองว่ามีความสำคัญและประสบความสำเร็จ  โดยเฉพาะเพลงพื้นบ้านจะช่วยสืบสานวัฒนธรรมจากคนรุ่นก่อนไปยังรุ่นต่อไป

4.  ด้านสติปัญญา  ดนตรีเป็นเรื่องของนามธรรม  จึงต้องอาศัยกระบวนการรับรู้ การจำและการสร้างมโนทัศน์  ดังนั้นเด็กจึงต้องมีประสบการณ์ตรงในการลงมือทำ  หยิบ  จับ  สัมผัส  การรวบรวมการรับรู้และจินตนาการ  ได้แก่การฟัง  การดู  และการเคลื่อนไหว  จากสัญลักษณ์และเครื่องหมาย

5.  การสร้างสรรค์  เด็กสามารถแสดงออกอย่างสร้างสรรค์โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ  ด้านความคิด  ความรู้สึกอย่างอิสระ ในการเล่นดนตรี  หรือการเต้นไปตามจังหวะเพลง  เด็กต้องการเวลา  วุฒิภาวะ  ทักษะความรู้ที่จะคิดสิ่งใหม่ๆและการแสดงออกด้วยวิธีของตนเอง

 

 

หมายเลขบันทึก: 206034เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณค่ะคุณ tanarat ที่มาเยี่ยมเยียนกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท