การสอนซ่อมเสริม


การสอนซ่อมเสริม

การสอนซ่อมเสริม

(Remedial Teaching)

 

ความสำคัญ

                การสอนซ่อมเสริมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้เพราะผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงต้องการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน
การสอนซ่อมเสริมเป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะหนึ่ง ซึ่งตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

          การจัดการศึกษาควรตั้งอยู่บนพื้นฐานดังต่อไปนี้ (ผดุง อารยะวิญญู ๒๕๓๙ : ๑๗)

๑.      ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม

๒.    ผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน และแต่ละคนจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้าหากัน และให้ทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

๓.    ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความสามารถอยู่ในตัวมากบ้างน้อยบ้าง การศึกษาจะช่วยให้ความสามารถของผู้เรียนปรากฏเด่นชัดขึ้น

๔.    ในสังคมมนุษย์นั้นย่อมมีทั้งคนปกติและคนพิการ ในเมื่อเราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมของคนปกติได้ เราก็ไม่ควรแยกให้การศึกษาแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมกับคนปกติเท่าที่สามารถจะทำได้

๕.    การให้การศึกษาควรมีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีศักยภาพการเรียนรู้ได้เต็มที่

                ในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมมากเพราะเห็นว่า สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยองค์รวม  การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตามความแตกต่างระหว่างบุคคล    จากการเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมดังกล่าว นักการศึกษาจึงได้พยายามแสวงหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ

ดังจะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ดังนี้ (ดวงเดือน อ่อนน่วม  ๒๕๓๓ :๑๕)

๑.      การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กสามารถพิเศษ  หมายถึง การจัดการเรียนการสอน

ให้แก่เด็กที่มีความสามารถเด่นกว่าเด็กปกติ ซึ่งจัดทำในหลากหลายลักษณะ เช่น

๑.๑ จัดชั้นเรียนให้เฉพาะเด็กสามารถพิเศษ  การจัดชั้นเรียนแบบนี้เป็นการจัดกลุ่มตามความสามารถ โดยแยกกลุ่มเด็กสามารถพิเศษออกมาจากกลุ่มเด็กปกติ การแยกกลุ่มอาจเป็นแบบเต็มวัน ครึ่งวัน หรือเฉพาะบางเวลา โดยอาจจัดทำหลายครั้งต่อสัปดาห์ หรือเพียงสัปดาห์ละครั้ง

๑.๒ โรงเรียนฤดูร้อน เป็นการใช้เวลาว่างช่วงฤดูร้อนส่งเสริมความสามารถทางวิชาการให้แก่เด็กสามารถพิเศษ ซึ่งอาจทำในรูปของการเร่งการเรียน คือเรียนหลักสูตรที่สูงกว่าระดับปกติ หรืออาจเป็นการเสริมหลักสูตรปกติ

                ๒. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กด้อยกว่าปกติ  หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความด้อยกว่าปกติทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ตัวอย่างเช่น

                     ๒.๑ เด็กเรียนช้า (ไอคิว ระหว่าง ๘๐ - ๙๕)

                     ๒.๒ เด็กปัญญาทึบ (ไอคิว ระหว่าง ๖๐ - ๘๐)

                     ๒.๓ เด็กที่บกพร่องทางสายตา

                     ๒.๔ เด็กที่บกพร่องทางการฟัง

                สำหรับไอคิว เด็กปกติ ประมาณ ๙๐ ๑๐๙

                ๓. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปกติ  หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนปกติที่อยู่ในชั้นเรียนทั่วไป ตัวอย่างเช่น

                ๓.๑ การแบ่งกลุ่มตามความสามารถ ซึ่งอาจทำโดยแบ่งแยกผู้เรียนเป็น ๓ กลุ่ม คือ เก่ง  ปานกลาง และอ่อน โดยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกันเรียนอยู่ห้องเดียวกัน หรืออาจจะเป็นการแบ่งกลุ่มภายในห้องเรียนเดียวกัน

                ๓.๒ การสอนตามเอกัตภาพ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนก้าวหน้าไปตามความสามารถของตนเอง ตัวอย่างเช่น โปรแกรม IPI (Individually Prescribed Instruction) ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา  โปรแกรมนี้ประกอบด้วยชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณ ซึ่งประกอบด้วยสื่อการสอนหลายประเภท เช่น แบบเรียน แผ่นปลิวสำหรับฝึกทักษะ แบบสอบ  ครูมีหน้าที่บันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียน วินิจฉัยการเรียนและกำหนดโปรแกรม  นอกจากนี้ครูอาจสอนเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มย่อยตามความต้องการของผู้เรียน เมื่อสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดก็เรียนเรื่องอื่นต่อไป  อย่างไรก็ตามนักการศึกษาได้พยายามแสวงหารูปแบบใหม่อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น การจัดการเรียนการสอนแบบ IGE (Individually Guided Education) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Wisconsin Research and development Center for Cognitive Learning

                กล่าวโดยสรุป การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนสามารถทำกันได้หลายลักษณะ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้

 

ความหมาย

                การสอนซ่อมเสริม (Remedial  Teaching) หมายถึง การสอนเด็กที่พัฒนาด้านการเรียนยังไม่เต็มความสามารถในการเรียนตามปกติ โดยการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่จะมีผลต่อการเรียน ขจัดการเรียนรู้ที่ไม่ถูกวิธี ตลอดจนเสริมทักษะในการเรียนรู้ใหม่ๆ  การสอนซ่อมเสริมจะเน้นเด็กเป็นหลัก เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตน การที่ครูจะใช้วิธีสอนนักเรียนทุกคนให้เหมือนกันหมด ประหนึ่งว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถระดับเดียวกัน ย่อมทำให้การสอนไม่บังเกิดผลดีทำให้เด็กบางคนไม่สามารถพัฒนาไปได้ดีเท่าที่ควร เมื่อถูกละเลยนานเข้าปัญหาต่างๆก็ทับทวีจนยากต่อการแก้ไข ด้วยเหตุนี้การสอนซ่อมเสริมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง (ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร  นิยมธรรม ๒๕๒๕ : ๔๗)

 

พื้นฐานแนวคิดของคำ

                การจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม มีคำหลักๆ ๒ คำ ได้แก่ คำว่า การสอนซ่อมและการสอนเสริม  กล่าวคือ

                การสอนซ่อม  เป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง  การสอนซ่อมและการวินิจฉัยเป็นของ คู่กัน กล่าวคือ การวินิจฉัยที่มีคุณค่าจะต้องติดตามด้วยการสอนซ่อม เช่นเดียวกับการสอนซ่อมที่มีคุณค่าจะต้องเป็นการสอนซ่อมที่ดำเนินการต่อจากการวินิจฉัย  การสอนซ่อมใดที่ดำเนินไปโดยปราศจากการวินิจฉัย กล่าวคือ สอนไปโดยไม่ทราบข้อบกพร่องของนักเรียนการสอนซ่อมนั้นย่อมไร้จุดหมายที่แน่นอน จึงไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร

                ครูพึงระลึกอยู่เสมอว่ามีวิธีการต่างๆอย่างหลากหลายวิธีที่ครูสามารถเลือกมาจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อขจัดข้อบกพร่องของเด็กได้ ดังจะเสนอแนะไว้เป็นแนวทางบางประการดังนี้ (Ashlock ๑๙๘๒ : ๑๔๑๗)

๑.       กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการประเมินตนเอง ด้วยการมีส่วนร่วมในกระบวนการวัดและประเมินผล เพื่อหาข้อบกพร่องในการเรียนของตนเอง

๒.     คำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียนในแง่ของการมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอดย่อย  ก่อนที่จะเรียนรู้ความคิดรวบยอดใหม่ซึ่งซับซ้อนกว่าเดิม

๓.     คำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อตนเอง คือ ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าตนเอง

ยังเป็นคนมีคุณค่าละสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้

๔.     การสอนซ่อมควรพยายามให้เป็นการสอนรายบุคคลให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าบางครั้งครู

       จำเป็นต้องสอนซ่อมเป็นกลุ่ม ผู้เรียนแต่ละคนก็ต้องได้รับการดูแลแก้ไขเป็นรายบุคคล

       ด้วย

๕.     สร้างโปรแกรมการสอนซ่อมบนรากฐานของการวินิจฉัยการเรียน

๖.      วางแผนการสอนซ่อมอย่างเป็นลำดับขั้น พยายามให้ง่าย ไม่ซับซ้อน

๗.     พยายามเลือกวิธีสอนที่แตกต่างไปจากวิธีสอนเดิมที่เคยเรียนไปแล้ว เพราะผู้เรียนมักมีความกังวล หรือเกิดความรู้สึกกลัวต่อวิธีการเดิม ซึ่งทำให้ตนไม่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว

๘.     ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ประสบการณ์ที่กว้างขวางแก่ผู้เรียน ซึ่งประสบการณ์ที่หลากหลายเหล่านี้จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

๙.      สนับสนุนให้ผู้เรียนได้จัดกระทำกับวัตถุให้มากที่สุดเท่าที่ตนเองเห็นว่าจะช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นการเสียเวลา

๑๐.   เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความเข้าใจด้วยภาษาของตนเอง

๑๑.   เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจจากกิจกรรมที่ครูเตรียมไว้ให้ โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน

๑๒.จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดด้วยความรอบคอบ โดยเริ่มจาก

       ประสบการณ์รูปธรรมไปสู่ประสบการณ์กึ่งรูปธรรมและไปสู่การใช้สัญลักษณ์

       ในที่สุด

๑๓. เน้นการจัดระบบการเรียนรู้โดยนำผลการเรียนรู้ใหม่ไปผสมผสานกับผลการเรียนรู้

       เดิม ซึ่งจะช่วยให้เกิดผลการเรียนรู้ใหม่ที่มีความหมายต่อตัวผู้เรียนดียิ่งขึ้น

๑๔. เน้นทักษะและความสามารถอันเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน เช่น เด็กที่คิดคำนวณผิด

       จะสามารถคิดคำนวณได้แม่นยำขึ้นถ้ามีความสามารถในการกะประมาณ ซึ่งจะช่วย

       ในการพิจารณาคำตอบว่าน่าจะถูกต้องหรือไม่

๑๕. ให้ความสนใจเรื่องลายมือ เพราะผู้เรียนจำนวนไม่น้อยที่คิดคำนวณผิดเพราะเขียน

        ตัวเลขไม่ชัดเจน ทำให้ตนเองอ่านตัวเลขผิด จึงคิดคำนวณผิดไปด้วย

๑๖. การฝึกหัดควรทำหลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่เรียนดีแล้ว

๑๗. สร้างแรงจูงใจโดยเลือกกิจกรรมการฝึก ซึ่งเห็นผลได้ทันทีว่าคำตอบของผู้เรียนถูก

       หรือผิด

๑๘. ในเรื่องการฝึกทักษะการคิดคำนวณ ควรฝึกโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆแต่ฝึกบ่อยๆ

๑๙. ฝึกให้ผู้เรียนสนใจและเอาใจใส่ต่อความก้าวหน้าของตนเอง เช่น ให้ผู้เรียนเก็บแผนภูมิ

       และกราฟแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของตนไว้

การสอนเสริม    หลังจากการเรียนการสอนตามจุดประสงค์แล้ว ครูอาจพบว่ามีผู้เรียน

บางคนที่มีความสามารถสูง สามรถทำความเข้าใจบทเรียนได้เร็ว ทำแบบฝึกหัดเสร็จก่อนคนอื่น แสดงว่ามีความพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นได้ ครูจึงควรมีวิธีการสอนเสริม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

เพื่อให้การสอนเสริมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้

(ดวงเดือน  อ่อนน่วม ๒๕๓๓ : ๑๓๕-๑๓๖)

๑.       สิ่งที่ไม่ควรทำ

๑.๑ ไม่ควรให้การสอนเสริมเป็นเพียงเพื่อให้ผู้เรียนมีอะไรทำเท่านั้น เพราะจะไม่ช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้น

๑.๒ ไม่ควรให้การสอนเสริมอยู่ในรูปของการให้งานแก่ผู้เรียนมากกว่าเดิม เช่นให้แบบฝึกหัดเพิ่ม เพราะการกระทำนี้นอกจากจะไม่เร้าความสนใจแล้วยังอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเหมือนถูกทำโทษ

๒.     สิ่งที่ควรทำ

๒.๑ การเสริมการเรียนในแนวกว้างและแนวลึก ซึ่งมีความหมายดังนี้

        ๒.๑.๑ การเสริมการเรียนในแนวกว้าง  หมายถึง การขยายขอบเขตของหลักสูตรปกติให้กว้างขึ้น โดยยังสัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับหลักสูตรปกติและอยู่ในวิสัยที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้

        ๒.๑.๒ การเสริมการเรียนในแนวลึก  หมายถึง การที่ผู้เรียนศึกษาตามหลักสูตรปกติอย่างลึกซึ้งและเข้มข้นขึ้น เช่น ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูง             เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาและแก้ปัญหาที่ท้าทายความสามารถ เสริมทักษะการคิดระดับสูง เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

๒.๒ กิจกรรมควรมีลักษณะต่างๆเหล่านี้ เช่น ท้าทาย เร้าความสนใจสนุก ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุผล

๒.๓ ประสบการณ์ที่จัดให้กับผู้เรียนควรมีทั้งแบบทั่วไปและแบบเจาะลึก

 

กล่าวโดยสรุป  ในการสอนซ่อมเสริม ครูควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อ

ตอบสนองความสามารถตามศักยภาพของผู้เรียนที่แตกต่างกันอย่างมีวัตถุประสงค์และต้องมีการวางแผน จึงจะทำให้การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ประเภทของผู้เรียนที่ควรรับการสอนซ่อมเสริม

                ผู้ที่ควรได้รับการสอนซ่อมเสริม อาจจำแนกได้เป็น ๖ ประเภท คือ (ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร  นิยมธรรม ๒๕๒๕ : ๔๗)

๑.       ผู้ที่เรียนช้า  ได้แก่ ผู้ทีที่มีไอคิวระหว่าง ๗๐-๙๐ คนเหล่านี้มีความสามารถจำกัด จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และเรียนรู้ช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังขาดทักษะเบื้องต้นต่างๆ ซึ่งทำให้การเรียนยิ่งช้าลงไปอีก เป็นผลให้เด็กเกิดความท้อแท้และมีปัญหาจึงควรได้รับการสอนเสริม

๒.     ผู้ทีมีปัญญาเลิศ   ปกติคนกลุ่มนี้จะถูกละเลยเพราะครูคิดว่าเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ การสอนตามปกติมักทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริม เพื่อพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ให้เต็มตามศักยภาพ

๓.     ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา  ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาการเรียนอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางสภาพร่างกาย เช่น หูหนวก ตาบอด ปัญญาอ่อน ฯลฯ เป็นต้น

๔.     ผู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้เฉพาะอย่าง   คนเหล่านี้ไม่ใช้ผู้พิการ แต่มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบประสาท มีปัญหาในการเรียนบางเรื่อง เช่น การรับรู้ การฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียนและมักมีช่วงความสนใจสั้น จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริมตามความจำเป็น

๕.     ผู้ที่มีปัญห

หมายเลขบันทึก: 205764เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท