บทเรียนแบบโปรแกรม


บทเรียนแบบโปรแกรม
จากการเข้าร่วมกิจกรรม " การปรับกระบวนทัศน์การวิจัย ครู และบุคลากรการศึกษา " ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครษรีธรรมราช เขต 1 วันที่ 30 สิงหาคม 2551 โดยได้เป็นพิธีกร และได้แจ้งแก่คุณครูว่าจะส่งบทเรียนแบบโปรแกรมมาให้ทาง Internet สำหรับบทเรียนแบบโปรแกรมชุดนึ้ เป็นงานที่ผ่านการประเมินอาจารย์ 3 คะ คุณครูลองศึกษาดูนะคะ ส่งมาให้เฉพาะตอนที่ 1 ใช้พร้อมกับแผนการสอน 1 แผน เมื่อจบหน่วอย่าลืมทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยนะคะ กรอบนำ คำแนะนำในการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม 1. บทเรียนแบบโปรแกรมฉบับนี้ให้ความรู้ในเรื่อง “ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย” 2. ก่อนศึกษาบทเรียนนี้ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดพื้นฐานความรู้ 3. เนื้อหาในบทเรียนสำเร็จรูปแบ่งเป็นข้อย่อยๆ เรียกว่า “กรอบ” (FRAME) ซึ่งได้จัดเป็นลำดับขั้นอย่างง่ายๆ เพียงแต่นักเรียนอ่านข้อความในแต่ละกรอบ โดยศึกษาไปตามลำดับกรอบทุกกรอบ นักเรียนจะสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง 4. ผู้เรียนจะทราบคำตอบทันทีว่าคำตอบที่ตอบไปนั้นถูกหรือผิด เพราะมีคำตอบเฉลยไว้ในกรอบถัดไปของแต่ละกรอบ 5. ถ้านักเรียนตอบไปแล้ว ปรากฏว่าตอบถูกให้ศึกษากรอบต่อไปได้ แต่ถ้าตอบผิดให้กลับไปศึกษาเนื้อหาในกรอบนั้นใหม่อีกครั้ง 6. บทเรียนจะได้ผลตามความมุ่งหมาย ผู้เรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยไม่เปิดดูคำตอบเสียก่อน 7. เมื่อเรียนจบแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้งเพื่อทดสอบว่า นักเรียนเข้าใจในบทเรียนมากน้อยเพียงใด การ์ตูน แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ------------------------ คำชี้แจง 1. แบบทดสอบมีทั้งหมด 20 ข้อ 2. ห้ามนักเรียนทำเครื่องหมายใดๆลงในแบบทดสอบ 3. กาเครื่องหมายกากบาท (X) ข้อที่ถูกที่สุดในกระดาษคำตอบ 1. ข้อใดเกี่ยวข้องกับจารีตประเพณี ก. กฎหมาย ข. มารยาทสังคม ค. หลักศีลธรรม ง. การแสดงความเคารพ 2. ประเพณีในข้อใดถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ถือว่ามีความผิด ก. จารีตประเพณี ข. ขนบประเพณี ค. มารยาททางสังคม ง. ธรรมเนียมประเพณี 3. ประเพณี “ปอยส่างลอง” หมายถึง ประเพณีใด ก. บวชเณร ข. บวชพระ ค. การตั้งชื่อ ง. โกนผมไฟ 4. การบรรจุอัฐิ เกี่ยวข้องกับประเพณี ในข้อใด ก. งานวัด ข. งานศพ ค. งานมงคล ง. งานบุญประเพณี 5. การส่งบัตรอวยพร นิยมทำกันใน เทศกาลใด ก. วันตรุษ ข. วันขึ้นปีใหม่ ค. วันสงกรานต์ ง. วันลอยกระทง 6. วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันใด ก. 13 เมษายน ข. 14 เมษายน ค. 15 เมษายน ง. 16 เมษายน 7. ทุกข้อเป็นประเพณีที่คนไทยในชาติร่วม กันปฏิบัติยกเว้นข้อใด ก. เวียนเทียนในวันวิสาขบูชา ข. ทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ ค. ทำบุญเลี้ยงพระในวันแต่งงาน ง. การรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ 8. ประเพณีทำบุญวันสารทของคนไทย เพื่อจุดประสงค์อะไร ก. ฉลองวันสิ้นปี ข. ฉลองฤดูใบไม้ร่วง ค. ทำบุญก่อนวันสงกรานต์ ง. อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ 9. ข้อใดคือวันที่พระรัตนตรัยครบองค์ 3 ก. วันมาฆบูชา ข. วันวิสาขบูชา ค. วันอาสาฬหบูชา ง. วันเข้าพรรษา 10. ข้อใดเกี่ยวข้องกับประเพณี วันเข้าพรรษา ก. ทอดกฐิน ข. สรงน้ำพระ ค. แห่เทียนพรรษา ง. ลอยพระประทีป 11. วันฉัตรมงคลมีความสำคัญอย่างไร ก. วันเฉลิมพระชนมพรรษา ข. เป็นวันฉลองรัฐธรรมนูญ ค. เป็นวันสถาปนาราชวงศ์จักรี ง. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองราชย์ 12. ประเพณีในข้อใดเป็นรัฐพิธี ก. ลอยกระทง ข. พระราชพิธีฉัตรมงคล ค. พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ ง. พิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 13. ความเชื่อที่ว่า “ผู้ที่มีบาปเมื่อเสียชีวิต ต้องไปเป็นเปรตชดใช้กรรม” ทำให้ เกิดประเพณีในข้อใด ก. ลากพระ ข. แห่ผ้าขึ้นธาตุ ค. การให้ทานไฟ ง. สารทเดือน 10 14. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เกี่ยวข้องกับ วันสารทอย่างไร ก. เป็นวันจ่าย ข. เป็นวันเที่ยว ค. เป็นวันชิงเปรต ง. เป็นวันยกหมฺรับ 15. ประเพณีใดมีในวันสารทเดือน 10 ก. ลากพระ ข. ชิงเปรต ค. เล่นสะบ้า ง. รดน้ำดำหัว 16. ประเพณียกหมฺรับตายายจะทำ ในวันใด ก. ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ข. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ค. แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ง. แรม 15 ค่ำ เดือน 10 17. ศาสนาใดเป็นที่มาของประเพณี ลากพระของชาวเมืองนครศรีธรรมราช ก. พระพุทธศาสนา ข. คริสตศาสนา ค. ศาสนาอิสลาม ง. ศาสนาพราหมณ์ 18. ประเพณีใดที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้นเพื่อฉลองการที่พระพุทธเจ้าเสด็จ กลับจากการเสด็จเทศนาโปรดพุทธ มารดา ณ สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก. ลากพระ ข. แห่หมฺรับ ค. แห่ผ้าขึ้นธาตุ ง. สารท เดือน 10 19. การตีเกราะเคาะโพนของชาวเมืองนคร ศรีธรรมราชใกล้วันออกพรรษา เรียกว่า อะไร ก. ตีโพน ข. คุมพระ ค. คุมโพน ง. เคาะโพน 20. การตักบาตรด้วยห่อต้มบนเรือพระ เรียกว่าอะไร ก. ตักบาตร ข. ยืนบาตร ค. ตักบาตรเทโว ง. ตักบาตรหน้าล้อ การ์ตูน เรื่อง ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความหมายของขนบธรรมเนียมประเพณีได้ 2. จำแนกประเภทของประเพณีในสังคมไทย และอธิบายประเพณี แต่ละประเภทได้ 3. นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีในท้องถิ่นได้ กรอบที่ 1 ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ความหมายของประเพณี ประเพณี หมายถึง สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติสืบๆกันมาจนเป็นธรรมเนียม1 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือจารีตประเพณี ขนบประเพณี และธรรมเนียมประเพณี จารีตประเพณี คือประเพณีที่เป็นฮีต หรือรีต มีความเคร่งครัดมาก ฝ่าฝืน ไม่ได้ ใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดและชั่ว2 ได้แก่ประเพณีอันเนื่องด้วยศีลธรรม เช่น การประพฤติผิดด้านชู้สาว ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ประเพณีแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ตอบ.......................................................................... 2. มิ้มเป็นภรรยาของโมทย์ ต่อมามิ้มประพฤติตนในทางชู้สาวกับไมค์ การกระทำของมิ้มขัดประเพณีไทยด้านใด ตอบ.......................................................................... 3. ประเพณีใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติถือว่ามีความผิด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 1 พลิกดูกรอบที่ 2 ซิคะ คนเก่ง ) คำเฉลยกรอบที่ 18 1. ตักบาตรหน้าล้อ 2. ทับ ตะโพน กลองเพล 1 ไพฑูรย์ พงศะบุตรและวิลาศวงศ์ พงศะบุตร ประเทศของเรา 1 หน้า 36. 2 จำรัส น้อยแสงศรี, สมจิตต์ คงสัตย์และกัลยา ภูมิภาค หนังสือเรียนและแบบทดสอบสังคมศึกษา ประเทศของเรา ส 101-ส101 หน้า 110. กรอบที่ 2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับระเบียบแบบแผนต่างๆ เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญในโอกาสต่างๆ ธรรมเนียมประเพณี คือประเพณีที่ปฏิบัติเฉพาะบุคคลต่อบุคคล หรือแนวปฏิบัติในสังคม1 ถ้าปฏิบัติฝ่าฝืนหรือทำผิดประเพณีก็ไม่สำคัญอะไร เพียงแต่เป็นเรื่องเสียมารยาทและไม่สุภาพ เช่น การแสดงความเคารพผู้ใหญ่ การแต่งชุดดำไปงานศพ รวมถึงกริยามารยาท การเดิน ยืน นั่ง นอน การรับประทานอาหาร เป็นต้น ทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. มารศรีรักกับสมชาย ทั้งสองจึงตกลงแต่งงานกัน แสดงว่าทั้งสองคน ปฏิบัติตนตามประเพณีใด ตอบ.......................................................................... 2. ชนิดาแต่งชุดดำไปงานศพ เพราะปฏิบัติตนตามประเพณีประเภทใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 2 พลิกดูกรอบที่ 3 ซิคะ ตอบถูกเก่งมาก ) คำเฉลยกรอบที่ 1 1. 3 ประเภท คือ จารีตประเพณี ขนบประเพณี และธรรมเนียมประเพณี 2. จารีตประเพณี 3. จารีตประเพณี 1. จำรัส น้อยแสงศรี, สมจิตต์ คงสัตย์และกัลยา ภูมิภาค หนังสือเรียนและแบบทดสอบสังคมศึกษา ประเทศของเรา ส 101-ส101 หน้า 110. กรอบที่ 3 ประเพณีแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ประเพณีเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา และประเพณีทางราชการ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับคนส่วนใหญ่ในสังคม เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด ประเพณีบวช ประเพณีแต่งงาน ประเพณีงานศพ เป็นต้น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด เช่น พิธีทำขวัญ ตั้งชื่อ โกนผมไฟ ลงอู่ โกนจุก ทำบุญวันเกิด เป็นต้น การทำบุญวันเกิดนิยมนิมนต์พระอย่างน้อย 5 รูป หรือเท่าอายุ ประเพณีบวช การบวชมี 2 แบบ บวชเณร เรียกว่า บรรพชา ผู้บวชต้องเป็น เด็กชายอายุ 7 ปี ขึ้นไป บวชพระ เรียกว่าอุปสมบท ชายไทยจะบวชพระต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ส่วนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะเรียกการบวชเณรลูกแก้วว่า “ปอยส่างลอง” การอุปสมบท กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ยกตัวอย่างประเพณีเกี่ยวกับการเกิด ตอบ.......................................................................... 2. ประเพณี “ปอยส่างลอง” หมายถึงประเพณีใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 3 พลิกดูกรอบที่ 4 ซิคะ ตอบถูกอีกแล้วเก่งจริง ๆ ) คำเฉลยกรอบที่ 2 1. ขนบประเพณี 2. ธรรมเนียมประเพณี กรอบที่ 4 ประเพณีแต่งงาน การแต่งงานคือการดำรงวงศ์ตระกูลให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป การแต่งงานจะมีการรดน้ำและอวยพรบ่าวสาวให้มีความสุข อยู่ร่วมกันจนถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร การแต่งงานจะสมบูรณ์ต้องมีการจดทะเบียนสมรส ประเพณีงานศพ มีการจัดกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การแสดงความเคารพศพ อาบน้ำศพ รดน้ำศพ บรรจุอัฐิ การรดน้ำศพจะรดที่มือขวาของผู้ตาย เพื่อเป็น การขออโหสิกรรม การทำบุญเลี้ยงพระมักทำเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน 100 วัน หรือ เมื่อเผา ทำบุญอัฐิ บรรจุอัฐิ การรดน้ำบ่าวสาวในงานแต่งงาน กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. “ไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร” เกี่ยวข้องกับประเพณีใด ตอบ.......................................................................... 2. การบรรจุอัฐิ เกี่ยวข้องกับประเพณีใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 4 พลิกดูกรอบที่ 5 ซิคะ รอบคอบดีมากค่ะ ) คำเฉลยกรอบที่ 3 1. พิธีทำขวัญ พิธีโกนผมไฟ ตั้งชื่อ โกนจุก 2. บวชเณร กรอบที่ 5 ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล คือประเพณีที่คนในชาติมาร่วมกันปฏิบัติ ได้แก่ การ ทำบุญขึ้นปีใหม่ ทำบุญสงกรานต์ ทำบุญวันสารท ลอยกระทง เป็นต้น ประเพณีทำบุญขึ้นปีใหม่ ตามหลักสากล ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ ปัจจุบันมีการส่งบัตรอวยพร และให้ของขวัญปีใหม่ ประเพณีทำบุญตรุษ “ตรุษ” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าตัด หมายถึงตัดปี หรือสิ้นปี ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 ถึง วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทำกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันทางราชการได้รวมกับพิธีสงกรานต์ เรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ มีการทำบุญเลี้ยงพระ รดน้ำผู้ใหญ่ กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การส่งบัตรอวยพร นิยมทำกันในเทศกาลใด ตอบ.......................................................................... 2. การทำบุญตรุษ ปัจจุบันยังมีหรือไม่ ตอบ.......................................................................... 3. ตรุษ มาจากภาษาอะไร แปลว่าอะไร ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 5 พลิกดูกรอบที่ 6 ซิคะ เยี่ยมมาก ) คำเฉลยกรอบที่ 4 1. แต่งงาน 2. งานศพ กรอบที่ 6 ประเพณีทำบุญสงกรานต์ วันสงกรานต์คือวันปีใหม่ของไทยตามสุริยคติ โดยปกติจะมี 3 วันคือ วันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา วันที่ 15 เมษายน เป็นวันขึ้นศักราชปีใหม่1 มีการปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ การละเล่นที่นิยมกันมากคือการรดน้ำ หรือสาดน้ำ การทำบุญตักบาตรในวันสงกรานต์ กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันใด ตอบ.......................................................................... 2. การละเล่นใดที่นิยมเล่นกันในวันสงกรานต์ ตอบ.......................................................................... 3. วันขึ้นปีใหม่ไทย ตรงกับวันใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 6 พลิกดูกรอบที่ 7 ซิคะ เยี่ยมจริง ๆ ) คำเฉลยกรอบที่ 5 1. วันขึ้นปีใหม่ 2. มี แต่รวมกับพิธีสงกรานต์ เรียกว่าตรุษสงกรานต์ 3. ภาษาสันสกฤต แปลว่าตัดปี หรือสิ้นปี 1 กระมล ทองธรรมชาติและคณะ ประเทศของเรา 1-2 ส 101-ส 102 หน้า 107. กรอบที่ 7 ประเพณีทำบุญวันสารท “สารท” เป็นภาษาอินเดีย หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 มีการทำบุญตักบาตร ขนมที่นิยมทำสำหรับทำบุญ วันสารท คือ กระยาสารท พอง ลา ขนมบ้า ขนมเจาะหู เมื่อทำบุญเสร็จแล้วจะอุทิศ ส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เดิมเรียกว่า “จองเปรียงลอยพระประทีป” สันนิษฐานกันว่า เป็นการลอยกระทงเพื่อสักการบูชารอยพระพุทธบาท หรือเพื่อขอขมาต่อพระแม่คงคา การลอยกระทง กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ประเพณีทำบุญวันสารทของคนไทย เพื่อจุดประสงค์ใด ตอบ.......................................................................... 2. ประเพณีลอยกระทง จัดเป็นประเพณีประเภทใด ตอบ.......................................................................... 3. ประเพณีลอยกระทงเกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 7 พลิกดูกรอบที่ 8 ซิคะ ตอบถูกเก่งมากค่ะ ) คำเฉลยกรอบที่ 6 1. 13 เมษายน 2. สาดน้ำ 3. วันที่ 15 เมษายน กรอบที่ 8 ประเพณีเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา คนไทยประมาณร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา จึงมีประเพณีต่างๆ เนื่องใน วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาดังนี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระอรหันต์ 1,250 รูป อาจเรียกว่าวัน “จาตุรงคสันนิบาต” วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก และเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. โอวาทปาฏิโมกข์ เกี่ยวข้องกับวันใด ตอบ.......................................................................... 2. วันที่พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือวันใด ตอบ.......................................................................... 3. พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน คือวันในข้อใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 8 พลิกดูกรอบที่ 9 ซิคะ เก่งที่สุดเลย ) คำเฉลยกรอบที่ 7 1. อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ 2. ประเพณีเทศกาล 3. เพื่อสักการบูชารอยพระพุทธบาท และเพื่อขอขมาพระแม่คงคา กรอบที่ 9 วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลังจากวันอาสาฬหบูชา เพียงวันเดียว ประชาชนนิยมถวายเทียนพรรษา จะมีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รักษาศีลที่วัด วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ที่วัด จะมีการทอดกฐิน ถวายผ้าจำนำพรรษาด้วย ประเพณีแห่เทียนพรรษา กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ในวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนจะนิยมประกอบพิธีกรรมใด ตอบ.......................................................................... 2. ประเพณีใดบ้างที่เป็นประเพณีทางศาสนา ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 9 พลิกดูกรอบที่ 10 ซิคะ เก่งจริง ๆ นะตัวแค่นี้ ) คำเฉลยกรอบที่ 8 1. วันมาฆบูชา 2. วันอาสาฬหบูชา 3. วันวิสาขบูชา กรอบที่ 10 ประเพณีทางราชการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือราชพิธี และรัฐพิธี ราชพิธี เป็นพิธีหลวงสำหรับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ จัดขึ้นประจำตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ราชพิธีที่สำคัญได้แก่ พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นวันคล้ายวันพระราชบรมราชาภิเษกเป็นพระ มหากษัตริย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา มี 2 วันคือ พระราชพิธีเฉลิมพระชนม พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี และ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี พระราชพิธีฉัตรมงคล กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. วันฉัตรมงคลมีความสำคัญอย่างไร ตอบ.......................................................................... 2. พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประเพณีประเภทใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 10 พลิกดูกรอบที่ 11 ซิคะ เยี่ยมมาก ) คำเฉลยกรอบที่ 9 1. ถวายเทียนพรรษา 2. วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา กรอบที่ 11 รัฐพิธี เป็นพิธีที่รัฐบาลหรือทางราชการเป็นผู้จัดทำ โดยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี รัฐพิธีที่สำคัญได้แก่ พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ โบราณเรียกว่า “จรดพระนังคัล” เดิมเป็นพิธีพราหมณ์มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงดัดแปลง และเพิ่มเติมเป็นพิธีทางพระพุทธศาสนา ปัจจุบันผู้ทำหน้าที่เป็นพระยาแรกนา คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกให้เป็นหลักในการปกครองประเทศแก่ชาวไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ทำให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มาจนถึงปัจจุบัน พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ประเพณีใดบ้างเป็นรัฐพิธี ตอบ.......................................................................... 2. ประเพณีใดมีพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เข้ามากี่ยวข้อง ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 11 พลิกดูกรอบที่ 12 ซิคะ เยี่ยมจริง ๆ ค่ะ ) คำเฉลยกรอบที่ 10 1. วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองราช 2. ราชพิธี กรอบที่ 12 ประเพณีในท้องถิ่น วันสารทเดือน 10 หรือประเพณีแห่หมฺรับ เมืองนครศรีธรรมราช งานบุญสารทเดือน 10 ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือน 10 (ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม) ประเพณีนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่า ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่มีบาปมีกรรมต้องไปเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานอยู่ในอบายภูมิ ยมบาลจะปลดปล่อยเปรตเหล่านี้มาเยี่ยมเยียนลูกหลาน และรับส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้ปีละครั้ง เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 ก็กลับไปรับโทษตามเดิม ถ้าไม่มีใครทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตอนเดินทางกลับเปรตจะเก็บใบไม้ใส่พก แล้วโปรยใบไม้นั้นพลางสาปแช่งลูกหลานคนในตระกูล1 การแห่หมฺรับของเมืองนครศรีธรรมราช กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ประเพณีสารทเดือน 10 ตรงกับวันใด ตอบ.......................................................................... 2. ความเชื่อที่ว่า “ผู้ที่มีบาปเมื่อเสียชีวิตต้องไปเป็นเปรตชดใช้กรรม” ทำให้เกิดประเพณีใด ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 12 พลิกดูกรอบที่ 13 ซิคะ เก่งมากค่ะ ) คำเฉลยกรอบที่ 11 1. พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ พิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ 2. พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ 1 สำนักพิมพ์สารคดี, รวบรวม นครศรีธรรมราช หน้า 151. กรอบที่ 13 วันสารทเดือน 10 พิธีเริ่มตั้งแต่วันแรม 13 ค่ำ เดือน10 ถือเป็นวันจ่าย วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันยกหมฺรับ จะมีการจัดสำรับด้วยอาหารต่างๆ ที่ขาด ไม่ได้คือ ขนมพองแทนแพ ขนมลาแทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม ขนมกงหรือ ขนมไข่ปลาแทนเครื่องประดับ ขนมบ้าแทนลูกสะบ้าสำหรับเล่นสงกรานต์ และ ขนมดีซำแทนเงินเบี้ยไว้ใช้สอย และอาหารอย่างอื่นที่นิยมใส่ในสำรับจะเป็นพวกอาหารแห้ง เช่นข้าวสาร ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอม กระเทียม พริก เกลือ น้ำตาล พืชผลต่างๆ เช่นข้าวโพด เผือกมัน เป็นต้น เพื่อเป็นเสบียงระหว่างที่พระจำพรรษา สำรับหรือหมฺรับจะจัดให้มียอดสูง ขนมที่นิยมจัดใส่หมฺรับ กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เกี่ยวข้องกับวันสารทอย่างไร ตอบ.......................................................................... 2. ขนมอะไรที่นิยมใส่ในหมฺรับ ตอบ.......................................................................... 3. ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนอะไร ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 13 พลิกดูกรอบที่ 14 ซิคะ ขอชมว่าใช้ได้ ) คำเฉลยกรอบที่ 12 1. แรม 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือน 10 2. สารทเดือน 10 กรอบที่ 14 การถวายหมฺรับแก่พระสงฆ์จะใช้การจับฉลาก เรียกว่า “ สลากภัต ” เมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ จะมีพิธียกหมฺรับรับตายาย โดยนำอาหารไปวางไว้ตามต้นไม้ หรือริมกำแพงวัดสำหรับผีไม่มีญาติ เมื่อพระสวดบังสุกุลแล้ว เด็กๆ และผู้ใหญ่ก็จะไปแย่งชิงอาหารในหมฺรับ ตามความเชื่อที่ว่าอาหารเหล่านี้กินแล้วได้กุศลแรง เรียกว่าการ “ ชิงเปรต ”1 หมฺรับของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การที่พระสงฆ์จับฉลากเพื่อรับหมฺรับเรียกว่าอะไร ตอบ.......................................................................... 2. พิธียกหมฺรับตายายจะทำกันในวันใด ตอบ.......................................................................... 3. ประเพณีใดมีในวันสารทเดือน 10 ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 14 พลิกดูกรอบที่ 15 ซิคะ เยี่ยมมาก ) คำเฉลยกรอบที่ 13 1. เป็นวันยกหมฺรับ 2. ขนมลา ขนมพอง ขนมกง ขนมบ้า ขนมดีซำ 3. แพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม 1 สำนักพิมพ์สารคดี, รวบรวม นครศรีธรรมราช หน้า 151. กรอบที่ 15 ประเพณีลากพระชาวเมืองนคร การลากพระ ชักพระ หรือแห่พระเป็นประเพณีนิยมที่เรารับมาจากพราหมณ์ แต่ปรับให้เข้ากับตำนานทางพระพุทธศาสนา โดยมีที่มาจากความเชื่อที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ณ สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ทางบันไดแก้ว ถึงประตูเมืองสังกัสสะในเช้าตรู่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ตรงกับวันออกพรรษา พุทธบริษัท จึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบก แล้วแห่แหนกลับไปยังที่ประทับ 1 ประเพณีลากพระ กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ศาสนาใดเป็นที่มาของประเพณีลากพระ ของชาวเมืองนคร ตอบ.......................................................................... 2. ประเพณีใด ที่ชาวเมืองนครจัดขึ้นเพื่อฉลองการที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับจากการเทศนาโปรดพุทธมารดา ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 15 พลิกดูกรอบที่ 16 ซิคะ เยี่ยมจริง ๆ ) คำเฉลยกรอบที่ 14 1. สลากภัต 2. วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 3. ชิงเปรต 1 สำนักพิมพ์สารคดี, รวบรวม นครศรีธรรมราช หน้า 151. กรอบที่ 16 ใกล้วันออกพรรษาในเมืองนครศรีธรรมราชจะมีการตีเกราะเคาะโพน เรียกว่า “คุมพระ” เป็นการเตือนให้รู้ว่าใกล้วันออกพรรษา และบอกไปในตัวว่าวัดจะมีการลากพระ บางแห่งเรียกว่าการทำเรือพระหรือนมพระ งานลากพระจะเริ่มวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัด และมีการสรงน้ำพระที่จะลากในวันรุ่งขึ้น กลางคืนจะมีมหรสพเฉลิมฉลอง และมีการแสดงธรรมตอนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์ เด็ก ๆ ลากพระอย่างสนุกสนาน กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การตีเกราะเคาะโพนของชาวเมืองนคร ใกล้วันออกพรรษา เรียกว่าอะไร ตอบ.......................................................................... 2. พิธีใดมีความสำคัญในประเพณีลากพระ ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 16 พลิกดูกรอบที่ 17 ซิคะ นักเรียนเก่งมาก ) คำเฉลยกรอบที่ 15 1. ศาสนาพราหมณ์ 2. ลากพระ กรอบที่ 17 ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 มีการ “ตักบาตรหน้าล้อ” โดยชาวบ้านจะนำอาหาร ใส่บาตรที่เรียงกันบนเรือพระ การตักบาตรหน้าล้อนิยมตักด้วย “ห่อต้ม” เมื่อตักบาตรเรียบร้อยแล้วจะอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรประดิษฐานบนบุษบก แล้วแห่ไปตามถนน ในเรือพระจะมีธรรมาสน์ให้พระภิกษุนั่ง และมีศิลปินพื้นบ้าน และเครื่องดนตรีมีทับ ตะโพน กลองเพลใบใหญ่ 1 - 2 ใบ บรรเลงไปด้วย เรือพระ กิจกรรม นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การตักบาตรด้วยห่อต้มบนเรือพระเรียกว่าอะไร ตอบ.......................................................................... 2. เครื่องดนตรีพื้นบ้านที่นิยมใช้บรรเลงบนเรือพระ มีอะไรบ้าง ตอบ.......................................................................... ( อยากรู้คำเฉลยกรอบที่ 17 พลิกดูกรอบที่ 1 ซิคะ ) คำเฉลยกรอบที่ 16 1. คุมพระ 2. สรงน้ำพระ แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ------------------------ คำชี้แจง 1. แบบทดสอบมีทั้งหมด 20 ข้อ 2. ห้ามนักเรียนทำเครื่องหมายใดๆ ลงในแบบทดสอบ 3. ทำเครื่องหมายกากบาท X ข้อที่ถูกที่สุดในกระดาษคำตอบ 1. ประเพณีไทยในข้อใดถ้าฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติถือว่ามีความผิด ก. ธรรมเนียมประเพณี ข. มารยาททางสังคม ค. ขนบประเพณี ง. จารีตประเพณี 2. ข้อใดเกี่ยวข้องกับจารีตประเพณี ก. การแสดงความเคารพ ข. หลักศีลธรรม ค. กฎหมาย ง. มารยาท 3. การบรรจุอัฐิ เกี่ยวข้องกับประเพณีใด ก. งานบุญประเพณี ข. งานมงคล ค. งานศพ ง. งานวัด 4. การส่งบัตรอวยพร นิยมทำกันใน เทศกาลใด ก. วันลอยกระทง ข. วันสงกรานต์ ค. วันขึ้นปีใหม่ ง. วันตรุษ 5. วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันใด ก. 13 เมษายน ข. 14 เมษายน ค. 15 เมษายน ง. 16 เมษายน 6. ประเพณี “ปอยส่างลอง” หมายถึง ประเพณีใด ก. โกนผมไฟ ข. การตั้งชื่อ ค. บวชพระ ง. บวชเณร 7. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เกี่ยวข้องกับ วันสารทอย่างไร ก. เป็นวันยกหมฺรับ ข. เป็นวันชิงเปรต ค. เป็นวันเที่ยว ง. เป็นวันจ่าย 8. ความเชื่อที่ว่า “ผู้ที่มีบาปเมื่อเสียชีวิต ต้องไปเป็นเปรตชดใช้กรรม” ทำให้ เกิดประเพณีในข้อใด ก. สารทเดือน 10 ข. การให้ทานไฟ ค. แห่ผ้าขึ้นธาตุ ง. ลากพระ 9. ประเพณีในข้อใดเป็นรัฐพิธี ก. พิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ข. พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ ค. พระราชพิธีฉัตรมงคล ง. ลอยกระทง 10. วันฉัตรมงคลมีความสำคัญอย่างไร ก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองราชย์ ข. เป็นวันสถาปนาราชวงศ์จักรี ค. เป็นวันฉลองรัฐธรรมนูญ ง. วันเฉลิมพระชนมพรรษา 11. ทุกข้อเป็นประเพณีที่คนไทยในชาติ ร่วมกันปฏิบัติยกเว้นข้อใด ก. การรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ ข. ทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ ค. ทำบุญเลี้ยงพระในวันแต่งงาน ง. เวียนเทียนในวันวิสาขบูชา 12. ประเพณีทำบุญวันสารทของคนไทย เพื่อจุดประสงค์อะไร ก. อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ข. ทำบุญก่อนวันสงกรานต์ ค. ฉลองฤดูใบไม้ร่วง ง. ฉลองวันสิ้นปี 13. ข้อใดคือวันที่พระรัตนตรัยครบองค์ 3 ก. วันมาฆบูชา ข. วันวิสาขบูชา ค. วันเข้าพรรษา ง. วันอาสาฬหบูชา 14. ข้อใดเกี่ยวข้องกับประเพณี วันเข้าพรรษา ก. ลอยพระประทีป ข. แห่เทียนพรรษา ค. สรงน้ำพระ ง. ทอดกฐิน 15. ประเพณีใดมีในวันสารทเดือน 10 ก. รดน้ำดำหัว ข. เล่นสะบ้า ค. ชิงเปรต ง. ลากพระ 16. อาหารในข้อใดที่ชาวนครศรีธรรมราช จัดใส่หมฺรับในวันสารทเดือน 10 ก. ขนมมด ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ข. พอง ลา ขนมบ้า ขนมกง ขนมดีซำ ค. ขนมกง ขนมไข่ ขนมมด ขนมลา ง. ลา พอง ขนมไข่ปลา ขนมกง 17. ประเพณีในข้อใดสันนิษฐานว่า จัดขึ้นเพื่อขอขมาต่อแม่คงคา ก. ขี่ม้าชมเมือง ข. ทำบุญตรุษ ค. ลอยกระทง ง. สงกรานต์ 18. ประเพณีใด ที่ชาวเมืองนครศรีธรรม ราชจัดขึ้นเพื่อฉลองการที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับจากการเทศนาโปรดพุทธ มารดา ณ สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก. สารทเดือน 10 ข. แห่ผ้าขึ้นธาตุ ค. แห่หมฺรับ ง. ลากพระ 19. การตักบาตรหน้าล้อ นิยมตักด้วย อาหารชนิดใด ก. ข้าวต้มมัด ข. ข้าวสวย ค. มันต้ม ง. ห่อต้ม 20. ศาสนาใดเป็นที่มาของประเพณี ลากพระของชาวเมืองนคร ก. ศาสนาพราหมณ์ ข. ศาสนาอิสลาม ค. คริสตศาสนา ง. พระพุทธศาสนา
หมายเลขบันทึก: 204921เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2008 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจเหมาะแก่การสอนนักเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป้นสำคัญครับ

วัชรี กมลเสรีรัตน์

เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่ดีมากค่ะ ขอบคุณค่ะที่เผยแพร่ให้ได้รู้จัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท