35. แผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย


แผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

แผนแม่บทด้านการส่งเสริม

ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.. 2550 - 2554

 

หลักการและเหตุผล

                นโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ได้ให้ความสำคัญต่อความเสมอภาคในโอกาสของบุคคลไว้ ดังจะเห็นได้จากการกำหนดนโยบายสังคมที่มุ่งเน้นให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานของกฎหมาย โดยการส่งเสริมบทบาทครอบครัว สิทธิชุมชน สิทธิสตรี และการคุ้มครองดูแลเด็กและเยาวชน รวมทั้งได้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานซึ่งสอดคล้องกับภารกิจกรมในการเสริมสร้างให้แรงงานมีงานทำ  มีอาชีพเสริม ได้รับการคุ้มครองและดูแลด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนมีหลักประกันที่มั่นคง รวมทั้งสวัสดิการแรงงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้บริหารงานภายใต้กฎหมาย จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.. 2543 และกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ กฎหมายดังกล่าวว่าด้วยการคุ้มครอง ดูแล ให้ความเป็นธรรมในด้านสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจ้าง การทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานทั้งหญิงและชาย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลที่อยู่ในรูปของอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ที่นำมาใช้ในการดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อแรงงานทั้งหญิงและชายทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญา ฉบับที่ 100 ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับคนงานชายและหญิงในงานที่มีค่าเท่ากัน ค.. 1951 และอนุสัญญาฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.. 1958 รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 ซึ่งได้กำหนดให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการตามนโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

                เพื่อให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีการดำเนินการด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานสากล และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น กรมฯ จึงได้จัดทำแผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.. 2550 - 2554  ฉบับนี้ขึ้น

 

วิสัยทัศน์

                มุ่งมั่นบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร และคุ้มครองแรงงาน โดยยึดหลักความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

 

เป้าหมาย

                1. แรงงานหญิงชาย ได้รับการคุ้มครองในเรื่องสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน

                2. ข้าราชการของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทั้งหญิงชายได้รับสิทธิและโอกาสความก้าวหน้าในการงาน  การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และสภาพการทำงานที่เอื้อต่อการแสดงศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

 

กลยุทธ์

                กลยุทธ์หลัก

                บูรณาการมิติหญิงชายในภารกิจหลักของส่วนราชการเพื่อลงสู่กลุ่มประชาชนเป้าหมายในด้านต่าง ๆ

                1. การศึกษาและการฝึกอบรม

2. กฎหมายและนโยบายของรัฐ

3. เศรษฐกิจ/การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ/การทำงานของผู้หญิง

4. ความรุนแรงต่อผู้หญิง

5. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการบริหาร

                กลยุทธ์รอง

                บูรณาการมิติหญิงชายในการสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในส่วนราชการ (ภายในองค์กร)

1. พัฒนาข้าราชการ และพัฒนากลไกในการบริหารงานบุคคล

2. พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

  ที่มา  :  personnel.labour.go.th/data/attra/wo_man/plane.doc -

หมายเลขบันทึก: 204725เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2008 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ สำหรับเรื่องราวดีดี ในยามกลางวัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท