เรื่องเล่าจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้;เรื่องเล่าจากตุ๊กตาบาร์เด้น


เรื่องเล่า ตุ๊กตาบาร์เด้น แผลกดทับ

....วันที่25-26สค.ที่ผ่านมาผู้เขียนและเพื่อนร่วมวิชาชีพได้รับความกรุณาเป็นอย่างสูงจากท่านอาจารย์ไพทูรย์ ช่วงฉ่ำอาจารย์จากคณะแพทย์ศาสตร์ม.นเรศวรและท่านอาจารย์สุการดา เมฆทรงกรด จากโรงพยาบาลพิจิตร มาให้ความรู้กับชาวเรา ผู้เข้าอบรมส่วนมากเป็นหัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานอายุรวมๆคงประมาณ10000ปีได้ค่ะบรรยากาศเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างมาก ผู้เขียนในฐานะมือใหม่ตั้งใจเรียนเป็นอย่างยิ่ง วันที่สองอาจารย์ให้เล่าเรื่องโดยอาศัยไดอะล็อค(D-I-A-L-O-G-U-E):สุนทรียสนทนา..ผู้เขียนมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากถึงมากที่สุดว่าจะเป็นเช่นไรเพราะได้รับการแต่งตั้งจากกลุ่มให้เป็นผู้บันทึกการเล่าเรื่องครั้งนี้..ยากมากเลยนะสำหรับมือใหม่เช่นเรา... 

 ผู้เล่าเรื่องเป็นพยาบาลวิชาชีพตึกไอซียูอายุรกรรมทำงานมาประมาณ20ปีหลังกลับจากเรียนจบปริญญาโทได้1เดือนได้รับคำบอกเล่าจากหัวหน้าหน่วยงานว่าที่หน่วยงานเกิดปัญหาแผลกดทับจำนวนมาก ผู้เล่าซึ่งเป็นความคาดหวังของหน่วยงานเกิดความวิตกกังวลที่ต้องชี้แจงให้หัวหน้าพยาบาลทราบ   จึงหาสาเหตุจากข้อมูลที่น้องๆเก็บไว้ทุกเดือนทำอย่างไรการหาคำตอบให้หัวหน้าพยาบาลจะไม่ใช่เรื่องแก้ตัว  และทำอย่างไรผู้เล่าจะหาแนวทางลดการเกิดแผลกดทับได้ผู้เล่ารวบรวมข้อมูลจากการพูดคุยกับน้องๆเอาสถิติ3ปีย้อนหลังมาทำกราฟให้น้องๆดู ได้คำตอบว่าตัวชี้วัดและสถิติที่เก็บไว้ไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ หาสาเหตุแก้ไขปัญหาและแนวทางป้องกัน  ผู้เล่าจึงปรึกษาหัวหน้าหน่วยงานและจัดการระดมสมองโดยใช้เวทีประชุมประจำเดือน พูดคุยแลกเปลี่ยนตอนเช้าก่อนรับส่งเวรทุกวันทบทวนสิ่งที่ทำไปแล้วและสิ่งที่ควรทำต่อไป  จากการทบทวนพบว่าการป้องกันการเกิดแผลกดทับมีคู่มือเป็นแนวทางปฏิบัติชัดเจนแต่พบว่าน้องบางคนบางเวรไม่ปฏิบัติตามแนวทางเช่นไม่พลิกตะแคงตัวตามเวลาที่กำหนด เช่นถึงเวลาไม่พลิกตะแคงตัว ผู้ป่วยปัสสาวะอุจจาระไม่เปลี่ยนทันทีที่อับชื้นการพลิกตะแคงตัวไม่ใช้ผ้าขวางเตียง หัวหน้าเวรอายุไล่เรี่ยกัน บอกกันไม่ได้ หรือหัวหน้าเวรไม่ทำเอง..

ปัญหาต่างๆถูกนำมาแก้ไขหาแนวทางการดูแลร่วมกันเพิ่มขึ้น..

โดยมีแนวทางตรวจสอบ  ทำตารางกำหนดเวลาพลิกตะแคงตัวในชั่วโมงคู่ติดไว้

ในแฟ้มประวัติแต่พบว่าไม่สะดวก จึงทำตารางพลิกตะแคงตัวติดผนังให้มอง

เห็นชัดเจน  ใช้นวตกรรมตุ๊กตาบาร์เด้นติดที่เสาน้ำเกลือสื่อบอกว่าถ้าประเมินบาร์

เด้นได้น้อยกว่า12ให้ติดตุ๊กตาบาร์เด้นทุกทุกรายถือว่าเป้นผู้ป่วยเสี่ยงสูงที่จะเกิด

แผลกดทับให้พลิกตะแคงตัวทุก1-2ชั่วโมงตรวจสอบโดยหัวหน้าหน่วยงานผู้ช่วย

หัวหน้าหน่วยงานและผู้ประสาน พบว่าผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการจัดให้นอน

เตียงalpha bed (ที่นอนลม)พลิกตะแคงตัวตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  ผิวหนังได้รับการ

เฝ้าระวังความอับชื้น รวมทั้ง

ประเมินภาวะโภชนาการทุกวันอังคาร  และปรึกษานักโภชนาการกรณีผู้ป่วยพร่อง

โภชนาการ เพื่อการป้องก้นไม่ให้เกิดแผลกดทับ 

 ผลลัพธ์........

ติดตามไปตั้งแต่เดือนมค.-กค.แผลกดทับลดลงจาก3.76/1000เหลือ0""""

ประเด็นหลัก/หลักการ/เคล็ดลับ

-ใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว

-ผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพไว้เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการดูแลแผล

-ใช้ตุ๊กตาเตือนให้ตระหนักถึงการเกิดแผลกดทับ

-ใช้ระบบแสดงความคิดเห็น ร่วมคิดร่วมทำ(ร่วมมือ ร่วมใจ)ลองทำดูก่อน

-ให้ทุกคนได้แสดงถึงความรักและผูกพันต่อองค์กร

-สร้างเสริมการยอมรับในบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน

-ถ้ามีแผลกดทับเกิดขึ้นทำการทบทวนหาสาเหตุและหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำทันที

วาดหวังไว้เองไม่เกี่ยวกับตัวผู้เล่านะคะว่า...การดูแลผู้ป่วยโดยเอาใจเขามาใส่เรา  ส่งมอบความเอาใจใส่ถ้วนทั่ว...ทุกด้าน"บริการดุจญาติมิตร ทุกชีวิตมีความหมาย"  ทุกๆผลงานต้องออกมาดีแน่เลย

การอบรมจบลงด้วยความชื่นมื่นเข้าใจบทเรียนและเข้าใจตนเอง...ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านเป็น

อย่างสูง............................................................................................................

 

 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม;ICU. อายุรกรรม รพ.อุดรธานี

หมายเลขบันทึก: 203671เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีพี่นุส นำเรื่องสั้นตอนจบ มาให้อ่านนะพี่ http://gotoknow.org/blog/kelvin/203573

รออ่านค่ะพี่นุช ฝากความคิดถึงอาจารย์ทั้งสองค่ะ อิอิ ...รอๆๆๆๆ

 สวัสดีค่ะคุณน้องกวิน

  • ห่างหายการเขียนblogไปนาน เที่ยวเข้าไปคุยไปอ่านกับชาวบ้าน..  หนุกดี....ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะpaula ที่ปรึกษา~natadee
  • กลับมาเขียนอีกทีคนรอเหนื่อยไหม..
  • อ่านต่อนะคะ  เม้นท์ให้ทีค่ะอาจารย์
  • ขอบคุณค่ะ

แวะมาอ่านอีกทีนะครับพี่นุส อืมพยาบาลนี่ก็ทำงานหนักแฮะ สู้ๆ นะพี่..

  • อันความกรุณาปรานี
  • จะมีใครบังคับก็หาไม่
  • หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
  • จากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน...ข้อความนี้องค์พระธีรราชเจ้า ประทานให้เราเหล่าพยาบาลนำไปเป็นครรลองในการพยาบาลและการดำเนินชีวิต สืบมา....ดั่งบทกลอนที่ว่า                   
  • เมื่อเราได้ก้าวเข้ามา
  • สู่สายทางแห่งศรัทธาจนเต็มย่าง
  • นั่นหมายความว่าเราได้สลัดวาง
  • ซึ่งทุกอย่างที่เราได้ชาชิน    ขอบคุณกำลังใจจากน้อง..สู้ๆ.....                 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท