การออกแบบผลิตสื่อ


การออกแบบผลิตสื่อ

การออกแบบผลิตสื่อ

 

 

 

การออกแบบที่ดีทำอย่างไร ?

0

การออกแบบ

 

 

คือการจัดตัวอักษรและรูป(ภาพถ่ายและกราฟิคต่างๆ)บนกระดาษเราไม่สามารถบอกได้ว่าการออกแบบที่ดีนั้นเป็นอย่างไรแต่มีเกณฑ์ที่จะ

บอกได้ 3 ข้อคือ

 

1. WORKS หมายถึงงานออกแบบนั้นต้องสามารถสื่อความหมายได้อย่างรวดเร็ว

2. ORGANIZES หมายถึงการจัดลำดับเนื้อหาเป็นระเบียบดูง่าย ไม่สับสน

3. ATTRACTS หมายถึงต้องสะดุดตา น่าสนใจทุกๆ ครั้งที่ออกแบบควรยึดหลัก 3 ข้อดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลงานในการออกแบบที่ดี

 

 WORKS

1.ต้องการให้ผู้อ่านทราบอะไร?

2.ผู้อ่านเป็นใคร ?

3.จะให้อ่านที่ไหน ? หรือ เผยแพร่อย่างไร ?

เมื่อตอบคำถามเหล่านี้ได้ง่ายในการตัดสินใจว่าจะออกแบบอย่างไร เช่น ถ้าต้องการออกแบบโปรเตอร์ จะต้องออกแบบให้เรียบง่ายส่วนประกอบน้อย ขนาดตัวอักษรใหญ่และให้ผู้อ่านสามารถอ่านในระยะไกลได้ชัดเจน

 

ข้อควรคำนึงในการออกแบบเพื่อสื่อความหมายได้รวดเร็ว

1.เลือกข้อความสำคัญของงานและเลือกรูปภาพมาประกอบเพื่อให้มีเนื้อหาชัดเจนขึ้น

2.เลือกขนาดที่เหมาะสม

3.ต้องคำนึงถึงสถานที่ว่าจะให้คนดูดูที่ไหน

4.ต้องคำนึงว่าใครเป็นผู้อ่านงานของเรา เช่นถ้าเป็นผู้สูงอายุควรทำตัวอักษรขนาดใหญ่

5.ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ต้องตรวจสอบขนาดให้เหมาะสม

6.เลือกกระดาษให้เหมาะสมกับชิ้นงาน เช่น ขนาดกระดาษ คุณภาพของกระดาษ

7.ถ้าต้องการสำเนาชิ้นงานจงเลือกกระดาษที่มีสีอ่อนๆ และหมึกมีความเข้ม เลือกขนาดและความชัดเจน ของโลโก้ที่จะใช้

 

สิ่งที่จะช่วยในการออกแบบให้มีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นระเบียบและดูง่ายคือ

 

 

ใช้ขนาดตัวอักษรที่แตกต่างกันเช่น หัวข้อใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าหัวข้อย่อย

1.ใช้สีเน้นในส่วนที่สำคัญ

2.ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา

3.เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการเน้น

4.ใช้ช่องว่างเพื่อแบ่งกลุ่มเนื้อหาแต่ละกลุ่มออกจากกัน

5.ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อนควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้ากระดาษ

6.การทำสำเนาชิ้นงานต้องทำให้เหมือนต้นฉบับ

7.พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว

8.ขึ้นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด

9.เปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรให้เหมาะสม

10.ใช้สีที่แตกต่างกันหรือตัวอักษรสีกลับกัน (จากตัวดำบนพื้นขาวเป็นตัวขาวบนพื้นดำ)

 

ORGANIZES

ารออกแบบต้องให้ผู้อ่านทราบว่าข่าวสาร ข้อมูลใดที่ต้องอ่านก่อน และอันดับต่อไปต้องอ่านข้อความใดตามลำดับ

ปกติผู้อ่านมักจะอ่านจากข้างบนซ้ายก่อนนอกจากนั้นระหว่างภาพหรืออักษรควรมีช่องว่าที่เหมาะสม

 

ATTRACTS

 

การออกแบบที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นที่น่าสนใจ สามารถดังดูดสายตาผู้ดูได้ จุดเด่นนี้ได้จากการใช้ขนาดของอักษรที่ใหญ่ให้เด่นจากข้อความอื่น ๆ หรือใช้สีที่แตกต่างออกไป

 

การออกแบบให้มีจุดเด่นและดึงดูดความสนใจ

 

1. ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีขนาดเล็กก็ขยายใหญ่เพื่อสะดุดตา

2. เอียงภาพหรือข้อความแล้วไปวางที่มุมใดมุมหนึ่ง

3. เว้นช่องว่างรอบภาพให้มาก ๆ เป็นภาพที่มีขนาดเล็ก

4. เลือกสีที่สดใสกับชิ้นงานที่ทาสีเทาเป็นส่วนใหญ่ เช่น นิตยสารตัวหนังสือมาก ๆ เป็นต้น

5. ใช้พื้นที่สีดำเข้มหรือให้มีลักษณะสีขาวมากๆ สำหรับหนังสือพิมพ์

6. ตัดภาพเอาเฉพาะบางส่วนต้องเสียดายส่วนประกอบ เช่น เอาเฉพาะตาข้างเดียวไม่เอาภาพทั้งหมด

7. ใช้ขนาดและรูปร่างที่แตกต่างจากธรรมดา

8. เลือกกระดาษให้ดูน่าสนใจบนพื้นผิวและสี

9. กำหนดความสำคัญโดยเปลี่ยนลักษณะของตัวอักษร เช่น เปลี่ยนเป็นตัวโค้ง หรือเปลี่ยนรูปแบบของอักษรชนิดต่าง ๆ

 

สรุปแนวทางปฏิบัติในการออกแบบ

 

1. การออกแบบที่ดีจะต้องทราบถึงจุดประสงค์ว่าคืออะไร   ออกแบบเพื่อใคร  ดูให้ดูที่ไหนมีการเผยแพร่อย่างไร

2.การออกแบบที่ดีจะต้องวางขั้นตอนในการอ่านให้เป็นไปตามลำดับ 1-2-3

 

3.การออกแบบที่ดีจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจและสะดุดตาผู้อ่าน

4.หลังจากที่เราเห็นตัวอย่างการออกแบบที่ดีแล้วเมื่อเราต้องการสร้างงานออกแบบสิ่งแรกที่ต้อง คือ การทดลองการออกแบบ

5.การออกแบบไม่มีวิธีที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียวแต่มีหลายวิธีการที่จะออกแบบให้ดูน่าสนใจสื่อความหมายง่ายและมีการเรียงลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสมถ้าเราสามารถ

ตอบคำถามว่าทำอย่างไรงานออกแบบจึงจะน่าสนใจ ออกแบบอย่างไรจึงสื่อความหมายได้ง่าย และเรียงลำดับอย่างไรผู้อ่านจึงจะไม่สับสน ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้ แสดงว่าเรารู้วิธีการออกแบบที่ดีเดียว

 

การเน้น (EMPHASIS)

 

การเน้น

เป็นการเน้นให้เด่นชัดโดยใช้หลักความตัดกัน แต่จะเน้นที่ตรงจุดเดียว เช่น จุดสีดำ บนพื้นสีขาว เป็นต้น

EMPHASIS

กับการออกแบบเสื้อผ้าออกแบบโดยการใช้ หรือ นำเอาสิ่งที่ขัดแย้งกันเช่นลายเส้น ช่องว่าง วงกลมหรือ สี่เหลี่ยม มาประยุกต์ใช้ กับลวดลายเสื้อผ้า โดยเน้นให้เด่นชัดตรงเดียว

 

 ความเข้มข้น (CONCENTRISM)

ความเข้มข้น เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของลวดลาย โดยใช้วงกลม ลายเส้น หรือสี่เหลี่ยมมาช่วยเน้น แต่เป็นการที่เน้นอย่างมีรูปทรง

ONCENTRISM กับการออกแบบเสื้อผ้าออกแบบโดยการใช้ หรือการนำเอาลายเส้น ช่องว่าง วงกลม หรือ สี่เหลี่ยมมาประยุกต์ใช้กับลวดลายเสื้อผ้า โดยเน้นอย่างมีรูปทรง

 

การตัดกัน (CONTRAST)

การตัดกัน คือ การที่สิ่ง 2 สิ่งเกิดการแตกต่างกัน หรือ เกิดการขัดแย้งกัน เช่น พื้นลายตัดกับพื้นขาว หรือสีดำตัดกับสีขาว เป็นต้น

CONTRAST กับการออกแบบเสื้อผ้าออกแบบโดยการใช้ หรือ นำเอาสิ่งที่ขัดแย้งกันเช่นลายเส้น ช่องว่าง วงกลมหรือ สี่เหลี่ยม มาประยุกต์ใช้ กับลวดลายเสื้อผ้า

 

 

จังหวะ

(RHYTHM)

จังหวะ “ลีลา” เมื่อพูดถึงจังหวะก็จะนึกถึงเส้นของดนตรีที่มีจังหวะ สูง ต่ำ แหลม ต่อเนื่องกัน ในทางออกแบบจังหวะ หมายถึง ความเคลื่อนไหวที่มีจังหวะ การเน้นระยะ และการต่อเนื่องของรูปลักษณะรูปทรง และเงาเรามองไปในทะเล จะเห็นการเคลื่อนไหวของคลื่นในทะเล มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่อง จังหวะนี้เป็นจังหวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในการออกแบบ เราสามารถใช้จังหวะ 3 วิธี

1. การจัดจังหวะให้ซ้ำกัน (REPETTTION RHYTHM) คือการจัดช่วงจังหวะในงานออกแบบโดยการใช้รูปลักษณะ หรือรูปทรงที่มีเส้น สี ให้มีช่วงจังหวะที่ประสานต่อเนื่องที่เท่า ๆ กันและซ้ำกัน

2. การจัดจังหวะก้าวหน้า (PROGRESSION RHYTHM) คือการจัดช่วงจังหวะให้มีเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มเส้นให้มีความหนา บาง หรือออกจะเพิ่มสี เพิ่มลักษณะขนาด รูปรง ให้มีลักษณะต่อเนื่อง ทั้งมีเส้นสีและขนาดและจะต้องสัมพันธ์กันและมีช่วงจังหวะที่งดงาม

3. การจัดจังหวะต่อเนื่อง (CONTINUOUS RHYTHM) คือการจัดจังหวะให้มีการต่อเนื่อง ในงานออกแบบที่สร้างผลงานต้องการให้ผู้มองได้มองต่อเนื่องกัน

 

ช่วงความถี่

(SEQUENCE)

ในการออกแบบเราจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. เส้น ซึ่งประกอบด้วย ลายเส้นที่มีลักษณะเป็นช่วงจังหวะที่ซ้ำ ๆ กันตามลำดับ

2. ช่องว่าง มีช่วงจังหวะ ในการเว้นเป็นระยะ ๆ ที่ซ้ำกันอย่างสม่ำเสมอ และมีระเบียบ

3. รูปร่าง ประกอบด้วยหน่วยที่ต่างกันแต่มีตำแหน่งที่ซ้ำกันตามลำดับ

4. พื้นผิว ประกอบด้วยบางส่วนที่หยาบและบางส่วนที่ละเอียดซ้ำกันเป็นช่วง ๆ

5. รูปแบบ เป็นแบบสำเร็จที่มีลวดลายตามลำดับกันอย่างมีระเบียบ

ช่วงความถี่ ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการออกแบบเพราะมองดูแล้วทำให้เกิดความรู้สึกที่ มั่นคง หนักแน่นมีความเป็นระเบียบ เป็นไปตามลำดับ อย่างสม่ำเสมอ

 

ความสมดุล

(BALANCE)

ความสมดุล (Balance) หมายถึงความเท่ากัน หรือภาวะที่เสมอกันเป็นการเท่ากัน    ความสมดุล เป็นหลักในการออกแบบที่สำคัญยิ่งของการออกแบบ เพราะจะทำให้งานออกแบบนั้นออกมามีความสวยงาม น่าสนใจ มีความมั่นคงในภาพ และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การออกแบบให้มีความสมดุล จะต้องอาศัยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ภายในเพื่อประกอบกันอย่างมีสัดส่วน อาทิเช่น รูปร่าง ขนาดเส้น น้ำหนักทิศทาง สีและการตัดสิน หรือเสมอกันตามสภาพที่มองเห็นในขณะนั้น หรือการถ่วงเพื่อให้เกิดการการเท่ากัน หรือเสมอกันนั้นอาจจะมองกันในความรู้สึกในการรับรู้ขณะนั้น หรือจะเรียกว่าเป็นการสมดุลกันในทวงศิลปะก็ได้  ความสมดุล มี 2 แบบ

 

 

 

 

1. ความสมดุลที่สองข้างเท่ากัน

1. ความสมดุลที่สองข้างเท่ากัน

(Formal Balance) ความสมดุลแบบนี้เป็นความสมดุลเท่ากันที่พบเห็นทั่วไปเป็นความสมดุลที่เท่ากัน ทั้งบนล่าง จะมีขนาดรูปร่าง และน้ำหนักที่สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนตัวอย่างเช่น

 

 

2. ความสมดุลที่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(InformalBalance)เป็นความสมดุลที่จัดให้ซ้ายขวาไม่เท่ากันไม่เหมือนกันมีการจัดวางให้ขนาดรูปร่าง สีให้มีความแตกต่างกันทั้งสองด้านแต่ถ้าหากมองในภาพรวมแล้วจะให้ความรู้สึกว่ามีความถ่วงหรือน้ำหนักเท่ากันเป็นความสมดุลในทางศิลปะปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่นิยมกันมาก ในการจัดความสมดุลแบบนี้ก็มีข้อควรคำนึงดังนี้

 

 

- เกี่ยวกับน้ำหนัก วัตถุที่ใหญ่ว่าย่อมหนักกว่าวัตถุที่เล็ก ฉะนั้นการจัดความสมดุลแบบนี้ ต้องเพิ่มจำนวนวัตถุที่เล็กกว่าให้มีจำนวนมากขึ้น หรือใกล้เคียงกับวัตถุที่ใหญ่กว่า

 

 

- เกี่ยวกับความเข้มบริเวณที่เข้มมาก  จะมีน้ำหนักมากกว่าบริเวณที่เข้มน้อย

- เกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุในภาพวัตถุที่อยู่ใกล้ จะมีน้ำหนักมากกว่าวัตถุที่อยู่ไกลว่า และภาพที่อยู่เหนือจุดศูนย์กลางให้ความรู้สึกเบากว่าภาพ ที่อยู่ใต้จุดศูนย์กลางของภาพ

 

 เส้นกระจาย

(RADIATION)

เส้นกระจาย หมายถึง ความเป็นรัศมี ฉายออกมาเป็นแฉก ๆ คล้ายกับรัศมีของแสง มีความสำคัญในการออกแบบภาพเย็นวงกลม ที่มีจุดเด่นอยู่ที่จุดศูนย์กลาง จะให้ความรู้สึก เน้นไปที่จุดศูนย์กลางของรัศมีและเคลื่อนไหวโดยมีแกนกลาง มีคุณสมบัติทำให้เกิดความเด่น

Radiation นำมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบได้มากมายเป็นต้นว่า การออกแบบเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ตลอดจนเครื่องประดับต่าง ๆ โดยใช้เน้นให้เห็นถึงความเด่นในส่วนที่ต้องการจะเน้นเป็นต้นว่านำมาออกแบบกระโปรง โดยจะเน้นให้เห็นความโดดเด่น และสวยงามของส่วนบั้นเอว หรือนำมาเป็นหลักในการออกแบบเสื้อ เพื่อเน้นให้เห็นความโดดเด่นและความงามของหน้าอก 

 

(PROPORTION)

สัดส่วน

 

 

เรื่องของสัดส่วน เป็นปัญหาเกี่ยวกับขนาด (SIZE) โดยตรงโดยเน้นความสัมพันธ์ในภาพส่วนรวมให้มีความเหมาะสมการนำเรื่องของ สัดส่วน มาใช้ในการออกแบบ จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมสัมพันธ์ ของรูปร่างสิ่งนั้น ๆสัดส่วนของมนุษย์ จะต้องคำนึงถึงการมีรูปร่างและขนาดของศีรษะ แขน ขา ลำตัว ที่เหมาะสม ตัวอย่างการออกแบบเครื่องแต่งกาย จะต้องออกแบบ ให้ดูว่าส่วนที่พอดี ตรงกันข้าม หากร่างกายบางส่วนเล็กไป หรือสั้นไป จะต้องออกแบบเครื่องแต่งกาย ที่จะสวมแล้วมองดูว่าได้สัดส่วนสวยงาม

 

ลักษณะการซ้ำ

(REPETITION)

ลักษณะการซ้ำ (Repetition) หมายถึง การซ้ำจะปรากฏที่มีสีลักษณะต่อเนื่อง จะมีรูปแบบเป็นลวดลายเหมือนผลงานของรูปและพื้นในลักษณะการซ้ำ ถ้าเหมือนกันตลอดทั้งสีรูปและพื้นจะสร้างความเบื่อหน่าย การซ้ำ นิยมใช้ในการออกแบบปกหนังสือ พิมพ์ลายผ้า

 

ขนาด (SCALE)

 

 

ขนาด (Scale) เป็นการออกแบบที่เน้นขนาดของรูปทรง ความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ในสภาพส่วนรวมหรือพื้นที่บริเวณต่าง ๆ ของงานออกแบบ ขนาดและส่วนประกอบของรูปทรง ควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมและงดงาม

 

 

 

 

ความกลมกลืน

(HARMONY)

 

 

ความกลมกลืน หมายถึง การประสานให้กลมกลืนเป็นพวกเดี่ยวกันให้เกิดความสวยงาม วิธีการออกแบบที่ดีต้องให้รู้ รูปแบบส่วนใหญ่กลมกลืน และส่วนน้อยที่แตกต่างจึงจะปรากฎผลงานที่น่าดูการออกแบบให้มีลักษณะที่กลมกลืนกันแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ

 

 

1. การกลมกลืนด้วยรูปร่าง ลักษณะช่วงระยะสี และลักษณะพื้นผิว

 

 

2. การกลมกลืนด้วยความคิด การสร้างสรรค์ ให้มีองค์ประกอบ เป็นแบบเดียวกัน ใกล้เคียงกัน เป็นการประสานความคิดให้กลมกลืนกัน

3. การกลมกลืนตามธรรมชาติ คือลักษณะของ ต้นไม้ คน สัตว์ จะมีรูปแบบลักษณะที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาพอเหมาะพอได้สัดส่วนกลมกลืนกัน

การสร้างความกลมกลืนกันในภาพมี 7 วิธี

1. ใช้เส้นให้กลมกลืนแนวทะแยง

2. ใช้เส้นให้กลมกลืนในแนวราบ

3. ใช้เส้นให้กลมกลืนในแนวโค้ง

4. กลมกลืนในทางรูปร่าง

5. กลมกลืนกันด้วยขนาด

6. กลมกลืนกันด้วยสี

7. กลมกลืนกันด้วยพื้นผิว

 

 เอกภาพ (UNITY)

เอกภาพ หมายถึง การจัดวางสิ่งของต่าง ๆ ในภาพให้เป็นกลุ่มเดียวกัน ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรวางไว้กึ่งกลางภาพ

 

 

การออกแบบ ที่มีเอกภาพจะต้องให้สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กันไม่แตกกระจายออกจากกัน ถ้าจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งแยกออกจากกัน ถ้าจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งแยกออกมาบ้างส่วนนั้นจะต้องเป็นส่วนที่เล็กดูแล้วไม่ให้ความรู้สึกเด่นชัดแตกกระจายออกไป

ความเป็นเอกภาพ จะต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดและกลมกลืนกันกับรูปร่าง เส้น พื้นผิว และสี.

www.taoilk.thatphanom.com

หมายเลขบันทึก: 203636เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ตามมาดูการออกแบบ ผลิตสื่อ
  • ขั้นตอนเยอะน่าดูครับ
  • เป้นกำลังใจให้ครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท