กินพืชผัก+ไข่อย่างไร ท้องไม่เสีย


พวกเราคงจะมีประสบการณ์ท้องเสียหลังกินอาหารบางอย่างมาแล้วไม่มากก็น้อย สาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาดังกล่าวเป็นผลจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหาร

...

พวกเราคงจะมีประสบการณ์ท้องเสียหลังกินอาหารบางอย่างมาแล้วไม่มากก็น้อย สาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาดังกล่าวเป็นผลจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหาร

เร็วๆ นี้เพิ่งมีการระบาดของเชื้อซาลโมเนลลาในสหรัฐฯ จากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนไปกับมะเขือเทศ และพริก ทำให้คนป่วยกันมากกว่า 1,300 คน วันนี้มีผลการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อโรคในมะเขือเทศไทยมาฝากครับ

...

ท่านอาจารย์ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า ผลการตรวจสอบมะเขือเทศจากตลาดสด 36 แห่งทั่วประเทศ 172 ตัวอย่างพบมีการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา 1 ตัวอย่าง หรือ 0.58%

เชื้อซาลโมเนลลานี่ชอบคนที่มีภูมิต้านทานต่ำได้แก่ เด็ก คนสูงอายุ และคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เอดส์ ฯลฯ มากกว่าคนทั่วๆ ไป

...

คนที่มีภูมิต้านทานต่ำทำลายเชื้อโรคได้น้อยกว่าคนทั่วไป เชื้อโรคปริมาณเล็กน้อยก็ทำให้คนอ่อนแอป่วยได้ ขณะที่คนแข็งแรงกว่าต้องโดนเชื้อโรคปริมาณมากๆ จึงจะป่วย

ปรากฏการณ์นี้อาจอธิบายได้ว่า ทำไมบางครั้งกินอาหารด้วยกันทั้งบ้าน ทว่า... ป่วยกันไม่กี่คน

...

เชื้อที่ปนเปื้อนมักจะปนเปื้อนมากับมูลสัตว์ ผักสด ผลไม้ และอาหารอื่น เช่น ไข่ ฯลฯ ผู้ที่ได้รับเชื้ออาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดท้อง หรือมีไข้ได้

สัตว์ใกล้ตัว โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลาน เช่น อีกัวนา จิ้งจก ฯลฯ อาจเป็นพาหะของเชื้อเหล่านี้ได้

...

ขอเรียนเสนอวิธีลดโอกาสได้รับเชื้อซาลโมเนลลาที่ติดมากับอาหารคือ ก่อนนำไข่หรือผลไม้ไปปรุงอาหาร ให้เตรียมฟองน้ำตาข่ายล้างจานมา หยดน้ำยาล้างจานไป 2-3 หยด ฟอกๆ ถูๆ ให้ทั่ว ก่อนล้างน้ำ

ถ้าเป็นผักควรแช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู หรือน้ำเกลือก่อน เพื่อลดโอกาสได้รับยาฆ่าแมลงให้น้อยลง เขย่าหลายๆ ครั้ง ก่อนนำไปผ่านน้ำสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค

...

และอย่าลืมนำตาข่ายฟองน้ำ และแปรงสีฟันไปผึ่งให้แห้งนอกบ้าน หรือตากแดดได้ยิ่งดี ทำอย่างนี้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเติบโตมากับของใช้ในบ้าน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ที่มา                                                             

...

  • ขอขอบพระคุณ > ผลตรวจมะเขือเทศปลอดภัย > ไทยรัฐ. 26 สิงหาคม 2551. หน้า 15.

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร > 25 สิงหาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 203601เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท