สื่อโมเดล


สื่อโมเดล

 

   สื่อโมเดล เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนในเรื่องรูปทรงต่างๆ

ใช้ประกอบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องรูปทรงต่างๆ

    สื่อโมเดล

1.       ชื่อผู้เสนอนวัตกรรม             
                นายประกอบ     แก้วใจดี  ตำแหน่งครู  คศ.2     วิชาเอก  คณิตศาสตร์
2.       สถานที่ติดต่อ  
                  โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์  อำเภอร่อนพิบูลย์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  80130                                 
                โทรศัพท์  (075) 449104      โทรสาร  (075) 336075
  มือถือ   086-5931892
 3. สนองนโยบาย สพฐ.ด้าน 
             การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
 4. สภาพปัญหาและความจำเป็นที่พัฒนา
             การจัดการศึกษา มุ่งเน้นทั้งด้านความรู้  ความคิด  ความสามารถ  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และความรับผิดชอบต่อสังคม  เพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุล  โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ  ดังนั้น  จึงจัดการเรียนการสอน  โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวเชื่อมระหว่างนักเรียนกับความรู้  จึงได้ผลิตนวัตกรรม    มีชื่อว่า  สื่อโมเดล  เป็นตัวเชื่อม 
   5. กระบวนการผลิตนวัตกรรม
     
  5.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของนวัตกรรม
              
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม สื่อโมเดล  
        5.2 การออกแบบ ยึดนโยบาย  เศรษฐกิจพอเพียง 
        
5.3 การทดลองใช้หรือพัฒนานวัตกรรมได้ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 /4 , 3/5 , 3/6 , 3/7 , 3/8 และ 3/9  โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์   อำเภอร่อนพิบูลย์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ปีการศึกษา2550   จำนวนนักเรียน  210  คน
         
5.4 ผลการใช้นวัตกรรม  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกปีที่   3/4 , 3/5  และ 3/6 3/7 , 3/8  และ 3/9   จำนวน  210  คน  สูงขึ้น
   6. การเผยแพร่
        6.1  การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาคุณภาพนวัตกรรม  ได้พัฒนาให้ง่ายต่อการใช้งาน  ประหยัด   คงทน  และปลอดภัย
       
6.2  การยอมรับหรือการเผยแพร่
               
เผยแพร่  กับครูในโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 24  และเว็ปไชด์โรงเรียน

 การดำเนินการผลิตสื่อโมเดล
 การออกแบบนวัตกรรม

 ขั้นเตรียม
  
1. กำหนดแบบ ขนาด ฐานยาว 50 ซม. สูง 60 ซม.
   
2. รูปแบบ
           1. ปริซึม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสามเหลี่ยมด้านเท่า
           2. พีระมิด สี่เหลี่ยมจัตุรัสและพีระมิดสามเหลี่ยมด้านเท่า
           3. ทรงกระบอกและกรวย

การสร้างต้นแบบนวัตกรรม
     อุปกรณ์ เครื่องมือช่าง
    1. เครื่องเชื่อมไฟฟ้า
    2. ลวดเชื่อม 2.6 มม.
    3. มีดคัดเตอร์
    4. ฉากเหล็ก
วัสดุ
     1. แผ่นพลาสติก
     2. ที่หนีบกระดาษ
     3. สี
               1. การผลิตรูปทรงปริซึม สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสามเหลี่ยมด้านเท่า
                   - ใช้เหล็กเส้น 3/8 นิ้ว ท่อนละ 50 ซม. ประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัสตุรัส โดยการเชื่อมด้วยไฟฟ้า
                    - เหล็กเส้น 3/8 นิ้ว ยาวท่อนละ  60 ซม. ประกอบเป็นส่วนสูงของปริซึม เชื่อมด้วยไฟฟ้า  เชื่อมระนาบที่ขนานกับฐาน  งานเชื่อมทำเสร็จพ่นสี ตัด แผ่นพลาสติกขนาดเท่าแต่ละด้าน หนีบด้วยที่หนีบกระดาษ
                  -  ปริซึมสามเหลี่ยมด้านเท่า  การผลิต ทำนองเดียวกันเริ่มเชื่อมประกอบฐานก่อน
               2.  การผลิตพีระมิดสี่เหลี่ยมจัตุรัส
        
          - นำเหล็กเส้น 3/8 นิ้ว ยาว 50 ซม. ประกอบฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วแบ่งครึ่งด้านฐานด้านตรงข้าม เชื่อมเหล็กเพื่อ เชื่อมส่วนสูง ยาว 60 ซม.
ต่อด้วยด้านสันของพีระมิดทั้ง 4 ด้าน                    - ประกอบส่วนสูงทั้ง 4 มุม
                   -
เชื่อมระนาบที่ขนานกับฐาน    งานเชื่อมทำเสร็จพ่นสี ตัด แผ่นพลาสติกขนาดเท่าแต่ละด้าน หนีบด้วยที่หนีบกระดาษ

                -   ปริซึมสามเหลี่ยมด้านเท่า  การผลิต ทำนองเดียวกันเริ่มเชื่อมประกอบฐานก่อนจะสำเร็จ

                  - เมื่อเชื่อมสำเร็จพ่นสีตัดพลาสติกแต่ละส่วนหนีบกับที่หนีบกระดาษ

                                                                                                  ****************

 

คำสำคัญ (Tags): #สื่อโมเดล
หมายเลขบันทึก: 203574เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท