การสร้างตารางแจกแจงความถี่


การสร้างตารางแจกแจงความถี่

การสร้างตารางแจกแจงความถี่

การสร้างตารางแจกแจงความถี่
   ควรทำเป็นขั้นตอนดังนี้
   
1. หาพิสัย (Range) โดย พิสัย = ค่าสูงสุด - ค่าต่ำสุด
   2. ถ้าโจทย์กำหนดจำนวนอันตรภาคชั้นมาให้ เราต้องคำนวณหาความกว้างของแต่ละ อันตรภาคชั้น โดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

ความกว้างของอันตรภาคชั้น( I ) = พิสัย ÷ จำนวนอันตรภาคชั้น

ถ้า I เป็นทศนิยม ให้ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มเสมอ
  ข้อสังเกต

·        ค่าอันตรภาคชั้นที่คำนวณได้จะมีการปัดค่าขึ้นเสมอ (ถึงแม้ว่าจะหารลงตัว) โดยปัดให้อยู่ในลักษณะเดียวกับข้อมูลดิบ เช่น ถ้าข้อมูลดิบเป็นเลขจำนวนเต็ม อันตรภาคชั้นก็จะเป็นเลขจำนวนเต็มด้วย ถ้าข้อมูลดิบเป็นเลขจำนวนทศนิยม 1 ตำแหน่ง อันตรภาคชั้นก็จะเป็นเลขจำนวนทศนิยม 1 ตำแหน่งด้วย

·        ในบางกรณีอาจจะกำหนดให้อันตรภาคชั้นในแต่ละชั้นไม่เท่ากันก็ได้ หรือบางครั้งอาจจะเป็นอันตรภาคชั้นเปิด 
   
   ถ้าโจทย์กำหนดจุดกึ่งกลางมาให้ เราสามารถหาความกว้างของอันตรภาคชั้นได้ดังนี้
   
ความกว้างของอันตรภาคชั้น   =    ผลต่างของจุดกึ่งกลางของชั้นที่อยู่ติดกัน

3. เขียนอันตรภาคชั้นเรียงตามลำดับ แล้วดูว่าค่าจากการสังเกตแต่ละค่าของข้อมูลอยู่ในอันตรภาคชั้นใด ก็ให้ขีด | ลงในอันตรภาคชั้นไปเรื่อยๆ จนครบทุกค่าจากการสังเกตของข้อมูล

.      จัดข้อมูลเป็นชั้น ๆ โดยเรียงลำดับจากคะแนนต่ำไปหาคะแนนสูง  หรือจากคะแนนสูงไปหาคะแนนต่ำก็ได้ (ชั้นแรกจะต้องคลุมคะแนนต่ำสุด และชั้นสุดท้ายจะต้องคลุมคะแนนสูงสุด)


   

4. นับจำนวนขีดในแต่ละอันตรภาคชั้นและสรุปออกมาเป็นจำนวน ซึ่งจำนวนดังกล่าวคือความถี่ (f)

 

4. นับจำนวนขีดในแต่ละอันตรภาคชั้นและสรุปออกมาเป็นจำนวน ซึ่งจำนวนดังกล่าวคือความถี่ (f)

 

 

5.      จัดทำความถี่สะสม (Cumulative frequency)  ความถี่สะสมของชั้นนั้น คือ ความถี่ของชั้นนั้นรวมกับความถี่ของชั้นอื่นซึ่งมีคะแนนน้อยกว่าหรือมากกว่าชั้นนั้นดังนี้

.  ความถี่สะสมชนิดน้อยกว่า (less than)  คือ   ความถี่สะสมที่หาได้จากการรวมความถี่จากชั้นที่ข้อมูลมีค่าน้อยไปหาชั้นที่ข้อมูลมีค่ามาก

.  ความถี่สะสมชนิดมากกว่า  (more than)  คือ    ความถี่สะสมที่หาได้จากการรวมความถี่จากชั้นที่ข้อมูลมีค่ามากไปหาชั้นที่ข้อมูลมีค่าน้อย

6.      ความถี่สัมพัทธ์ (Relative frequency)  คือ สัดส่วนของความถี่ของชั้นนั้น กับความถี่ทั้งหมด

                        ความถี่สัมพัทธืของแต่ละอันตรภาคชั้น = ความถี่ของแต่ละชั้น ÷ ความถี่ทั้งหมด

                   ดังนั้น ผลบวกของความถี่สัมพัทธ์ทั้งหมดย่อมมีค่าเท่ากับ 1 เสมอ

7.      ความถี่สะสมสัมพัทธ์ (Cumulative relative frequency)   หมายถึง ผลรวมของความถี่สัมพัทธ์ จากคะแนนน้อยไปหาคะแนนมาก  หรือจากคะแนนมากไปหาคะแนนน้อย  ส่วนมากนิยมสะสมจากคะแนนน้อยไปหา คะแนนมาก ดังนั้นความถี่สะสมสัมพัทธ์ของชั้นสุดท้ายจะต้องเท่ากับ 1 เสมอ

หมายเลขบันทึก: 203328เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2008 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ละเอียดดีค่ะ ชอบ .. เว็บอื่นบอกแค่ว่าการหาความกว้างของอันตรภาคชั้น "ถ้าเป็นทศนิยมให้ปัดเศษขึ้น" แค่นั้น ไม่ได้บอกว่าถ้าเป็นจำนวนเต็มก็ให้ปัดขึ้นด้วย ^^'

ขอบคุณค่ะ พอดีเจอในตำราแค่จำนวนชั้นมันไม่ได้บอกว่าความกว้างบวกหนึ่งหรือไม่

เพิ่มเติมจากที่เขาบอกนะคะ การหาจำนวนชั้นก็เหมือนกัน ให้ปัดขึ้น ลงตัวก็บวกหนึ่วเหมือนกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ พอดีเจอในตำราแค่จำนวนชั้นมันไม่ได้บอกว่าความกว้างบวกหนึ่งหรือไม่

เพิ่มเติมจากที่เขาบอกนะคะ การหาจำนวนชั้นก็เหมือนกัน ให้ปัดขึ้น ลงตัวก็บวกหนึ่วเหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท