จุ้ม
นาย วิรัตน์ จุ้ม เกษสุริยงค์

ความเคลื่อนไหวทางการศึกษา


กระทรวงศึกษาธิการ-สพฐ.

1.นโยบายการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าช้จ่าย   อุดหนุนรายหัวต่อคนต่อปี ระดับอนุบาล  1,700 บาท ระดับประถมศึกษา  1,900บาท  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  3,500 บาท ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  3,800 บาท

2.กพฐ.นำร่องการใช้หลักสูตรใหม่ปี  2552  และใช้ทั่วประเทศปี  2553  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 (ฉบับปรับปรุง)  มีโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตร  155 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ

3.สพฐ.เดินหน้าพิสูจน์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก  สนับสนุนคอมพิวเตอร์โรงเรียนละ 5 เครื่อง  เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คนต่อ 4 โรงเรียน 

                                                                                   

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิตรุ่น32550
หมายเลขบันทึก: 203030เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2008 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การพัฒนาโรงเรียขนาดเล็ก

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ทาง สพฐ.มีนโยบายในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ.ในปัจจุบันมีจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีโรงเรียนจำนวนมากที่มีแนวโน้มที่จำนวนนักเรียนจะลดลง เนื่องจากเกิดการไหลของนักเรียนเข้าไปเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่หรือโรงเรียนที่อยู่ในเมืองซึ่งมีความพร้อมมากกว่า สาเหตุจากภารกิจในการจัดการศึกษามีมากไม่เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็ก เช่น ภารกิจในการจัดการเรียนการสอน ครูโรงเรียนขนาดเล็กมีไม่ครบกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูมีวุฒิไม่ตรงกับกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ เป็นต้น ภาระกิจด้านงานธุรการ การเงิน ระบบสารสนเทศ มีมากทำเหมือนกับโรงเรียนขนาดใหญ่ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญรับผิดชอบ เป็นต้น ภาระกิจในงานสังคม ชุมชน และการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นมีมากเหมือนกับโรงเรียนขนาดใหญ่ แต่มีบุคลากรน้อยทำให้เกิดภาวะงานล้นมือไม่มีเวลาดำเนินการ มีเวลาจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนน้อย ทำให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียนย้ายที่เรียนหรือมีนักเรียนมาสมัครเรียนน้อย

การสนับสนุนคอมพิวเตอร์โรงเรียนขนาดเล็กโรงละ 5 เครื่อง เป็นการช่วยเหลือให้โรงเรียนขนาดเล็กมีเครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่จะใช้ในการจัดการศึกษาเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กขาดบุคลากรด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่จบมาโดยตรง และมีปัญหาการดูแลซ่อมแซมด้วย กระผมเห็นว่าควรให้บุคลากรด้านนี้กับโรงเรียนขนาดเล็กด้วย การให้เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ต่อ 4 โรงเรียน กระผมเห็นว่าน้อยไป ควรให้ 1 คน ต่อ 1 โรงเรียน เพราะงานธุรการ การเงินและระบบสารสนเทศ ของโรงเรียขนาดเล็กในปัจจุบันก็มีมากเหมือนกับโรงเรียนขนาดใหญ่ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทางโรงเรียนต้องเอาครูซึ่งมีหน้าที่สอนมาทำหน้าที่นี้จึงทำให้มีเวลาสอนนักเรียนน้อยส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนตกต่ำ ทำให้เกิดการย้ายที่เรียนของนักเรียนหรือมีนักเรียนมาสมัครเรียนน้อย เกิดปัญหาด้านการจารจรในเมือง เกิดปัญหาด้านอุบัติเหตุ เกิดปัญหาด้านสังคม เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจรายได้ไม่กระจายไปกระจุกอยู่ในเมือง

การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กนั้นกระผมเห็นว่าควรเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาใหม่ คือ ยึดคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก ไม่ควรยึดจำนวนนักเรียนที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นหลัก เพราะหากยึดจำนวนนักเรียนเป็นหลัก ก็จะคำนวณจำนวนครูตามจำนวนนักเรียน คำนวณจำนวนเจ้าหน้าที่ธุรการตามจำนวนนักเรียน คำนวณงบประมาณตามจำนวนนักเรียน สรุปก็จะได้ครูไม่ครบกลุ่มสาระเหมือนเดิม เจ้าหน้าที่ธุรการไม่ครบโรงเรียน งบประมาณการบริหารน้อยเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โรงเรียนขนาดใหญ่ก็ได้มากเหมือนเดิมส่งเสริมให้เกิดความพร้อมมากขึ้น เกิดช่องว่างในเรื่องความพร้อมในการจัดการศึกษาห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการไหลของนักเรียนมากขึ้น เกิดปัญหาด้านการจัดการศึกษามากขึ้น เกิดปัญหาด้านการจราจรมากขึ้น เกิดปัญหาด้านสังคมมากขึ้น เกิดปัญหาด้านการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ถ้ายึดคุณภาพการจัดการศึกษาเป็นหลัก มีการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ถึงคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กทำไมไม่มีคุณภาพ เช่น มีครูไม่ครบกลุ่มสาระ ภาระกิจด้านงานธุรการ การเงิน ระบบสารสนเทศมีมาก ภารกิจด้านงานบริการสังคมหรือหน่วยงานอื่นมาก ภารกิจบางอย่างซ้ำซ้อนกัน และศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ว่าโรงเรียนขนาดเล็กโรงไหนควรจะพัฒนามีความเป็นไปได้ เนื่องจากมีเขตบริการมาก พื้นที่ห่างจากโรงเรียนอื่น สภาพสังคมและเศรษฐกิจไม่ค่อยดี เป็นต้น การพัฒนาตรงตามสภาพโรงเรียน ตรงตามความต้องการ เช่น ให้ครูครบกลุ่มสาระหรือตรงความต้องการของโรงเรียน ให้เจ้าหน้าที่ธุรการเพียงพอ ให้สื่อเทคโนโลยีเพียงพอ พัฒนากระบวนการบริหารการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพมากขึ้นและทำให้มีนักเรียนมาเรียนมากขึ้น เป็นการแก้ปัญหาการไหลของนักเรียนไปแออัดในโรงเรียนขนาดใหญ่หรือโรงเรียนในเมือง ส่งผลให้ปัญหาการจารจรลดลง อุบัติเหตุลดลง ปัญหาด้านสังคมลดลงและมีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจมากขึ้น ที่สำคัญทำให้การจัดการศึกษาของประเทศโดยภาพรวมมีคุณภาพสูงขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท