37. "รักคี" วันแห่งความรักของพี่น้องชายหญิงอินเดีย


ความรักของพี่/น้องผู้ชายปกป้องคุ้มครองพี่/น้องผู้หญิง

"รักคี" วันแห่งความรักระหว่างพี่น้องชายหญิงอินเดีย

http://www.rudraksha-ratna.com/rakhi.htm 

รักคี" (Rakhi-ด้ายศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง) หรือ รักชา บันดฮัน  (Rakshaa Bandhan) เป็นเทศกาลของพี่น้องต่างเพศแสดงออกซึ่งความรักและความผูกพันต่อกัน ความสัมพันธ์ที่งดงามระหว่างพี่ๆ น้องๆ ชายและหญิงที่มีความเคารพกันที่แสดงออกถึงพลังของชาวฮินดู ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูจัดให้มีการฉลองความสัมพันธ์ที่น่าชื่นชมนี้ทั้งวัน ชุมชนชาวฮินดูฉลองวันพิเศษนี้เสมือนเป็นเทศกาลและเรียกว่า รักคี” (Rakhi) หรือ รักชา บันดฮัน (Rakshaa ‘ปกป้อง รักษา’ Bandhan ‘ความผูกพัน’) หมายถึง ความผูกพันเพื่อการปกป้องคุ้มครอง ในวันรักคี พี่ๆ น้องๆ ผู้ชายสัญญาว่าจะดูแล ปกป้องคุ้มครองพี่ๆ น้องๆ ผู้หญิงจากความชั่วร้ายต่างๆ 

 

          เทศกาล รักคี มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับพี่ๆน้องๆ ชาย หญิงและกับทั้งครอบครัวตลอดจนญาติๆ ต่างก็ฉลองเทศกาลนี้ด้วยความสนุกสนานอย่างเต็มที่ เทศกาล รักคี มิใช่เป็นแต่เพียงความผูกพันระหว่างพี่ๆน้องๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสดีที่ญาติพี่น้องจะได้มาพบปะกัน ฟื้นความสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันทางสังคม

            เทศกาลต่างๆ ของศาสนาฮินดูตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทพนิยายต่างๆ และมีเจตนาแนะนำเทพเจ้าต่างๆที่เชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดพลังเหนือธรรมชาติต่างๆ รักคี ปูรนิมา หรือ รักชา บันดฮัน เป็นเทศกาลหนึ่งในหลายๆ เทศกาลของประเทศและมีการฉลองด้วยความสนุกสนานมาก 

 ประวัติ 

            ความศักดิ์สิทธิ์ของเทศกาลนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระเวทจนถึงยุคปัจจุบันที่เรียกว่ายุค

อุตสาหกรรมที่คุณค่าของชีวิตกำลังเปลี่ยนแปลงไป เด็กผู้หญิงอาจจะผูกรักคีไว้รอบข้อมือของ

คนแปลกหน้า ทั้งคู่ผ่านช่วงเวลาอันเป็นมงคลก็เป็นเหมือนพี่น้องกันที่มีความสัมพันธ์อันบริสุทธิ์

ใกล้ชิดกันกว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือดอื่นๆ 

          เทศกาลนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับพี่ๆน้องๆ ตามที่มีความเชื่อกันเพราะในสมัยพระเวท การผูกรักคีเป็นสัญลักษณ์ของการที่คนอ่อนแอกว่าแสวงหาความช่วยเหลือหรือการปกป้องคุ้มครองจากคนที่มีกำลังมากกว่า ภรรยาผูกด้ายไว้ที่ข้อมือสามีเมื่อสามีต้องจากบ้านไปทำงานหรือไปสงครามเป็นเวลานานๆ (กรณีของกษัตริย์) ชาวอารยะทำพิธียัจนาส (บูชาไฟ) ก่อนไปทำสงครามเพื่อขอพรจากพระเจ้าให้ทรงคุ้มครอง ก่อนที่บรรดาผู้ชายเดินทางไปรบ บรรดาผู้หญิงผูกด้ายศักดิ์สิทธิ์หรือยันต์ป้องกันตัว และเป็นการเตือนให้พวกผู้ชายรู้ถึงหน้าที่ๆ ต้องรักษาเกียรติยศของเผ่าไว้ นี่เป็นที่มาของรักชา บันดฮัน 

      ตำนานที่มีชื่อของรักคีมาจาก บฮาวิชยา ปุราณ (Bhavishya Puran=หนังสือเก่า) เล่าเรื่อง

ราวของพระอินทร์และภรรยา ว่าพระอินทร์กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตในการสู้รบกับปิศาจต่างๆ ที่

นำโดยกษัตริย์บรุตา (Bruta) ในขั้นนี้พระอินทร์ขอความช่วยเหลือจากกูรูบริหาสปาตี

(Brihaspati) ท่านนักปราชญ์นี้ได้แนะนำให้พระอินทร์ผูกด้ายที่เป่ามนตร์ไว้ที่ข้อมือในวันอัน

ศักดิ์สิทธิ์ชราวัน ปูรนิมา(Shravan Purnima) พระอินทร์ปฏิบัติตาม พระอินทร์ให้ภรรยาผูกข้อมือ

ด้วยด้ายศักดิ์สิทธิ์ไว้ที่ข้อมือในช่วงที่ตัดสินใจนั้น

 

          แนวคิดเรื่องการผูกด้ายที่ข้อมือค่อยๆ กระจายไปยังภาคต่างๆ ของอินเดียอย่างช้าๆ และมีความสำคัญกว้างขึ้น ตัวอย่างของประวัติศาสตร์ยุคใกล้ๆ นี้ที่เกี่ยวกับรักชา บันดฮันมาจากการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย ในการต่อต้านการแบ่งแยกแคว้นเบงกอล ท่านกวีผู้ยิ่งใหญ่รพินทรนาถ ฐากอร์จัดให้มีรักชา บันดฮันเพื่อส่งเสริมความเป็นพี่น้องกันและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างฮินดูและมุสลิม ในระหว่างการต่อสู้เพื่ออิสรภาพสาวๆผูกรักคีไว้ที่ข้อมือหนุ่มๆ และขอคำมั่นสัญญาว่าจะรักษาชีวิต วัยหนุ่มสาว อาชีพ ความกระตือรือร้น และแม้แต่ความฝันของพวกเขาไว้ด้วยการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของแผ่นดินแม่จากพันธนาการของจักรวรรดินิยมอังกฤษ อาจเป็นไปได้ว่าด้วยเหตุนี้ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของเบงกอลท่านสุเรนทรนาถ แบนเนอพยายามยกระดับความสำคัญของเทศกาลรักชา บันดฮันให้เป็นเทศกาลระดับชาติ

 

          ในอินเดียยุคใหม่ ภาพยนตร์ฮินดีทำให้รักคีและการที่พี่สาวผูกข้อมือให้น้องชายเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่งขึ้น ในปัจจุบันเหลือเป็นเพียงการกระทำระหว่างพี่น้อง (หรือคนที่คิดถึงกันเหมือนเป็นพี่น้อง) แต่ก็พบว่าพราหมณ์ผูกด้ายให้กับลูกศิษย์เช่นกัน รักคีมีความโดดเด่นทางอินเดียภาคเหนือ ภาคอื่นมีชื่อเรียกต่างไป เช่น นาริยัล ปูรนิมา (Nariyan Purima) อวานี อวิตตัม (Avani Avittam)- ภาคใต้ของอินเดีย  บาเลฟ (Balev) เป็นต้น เทศกาลรักคี หรือ นาริยัล ปูรนิมา หรือ มะพร้าวในวันพระจันทร์เต็มดวง ที่มุมไบ ชายทะเลที่มีชื่อเสียง มีการโยนมะพร้าวไปในทะเลเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งทะเล ฝนหรือวารุนา (Varuna) เป็นสิ่งหลักหลักในการบูชาในเทศกาลนี้ เพราะพระพิรุณหรือฝนเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของจักรวาล ผลมะพร้าวจึงเปรียบเหมือนที่พักพิงของน้ำเพื่อ มวลมนุษย์ มะพร้าวเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู

 

อวานี อวิตตัม (Avani Avittam) คือรักคีที่เรียกกันทางอินเดียใต้ซึ่งเป็นเวลาของ อุปาการมัม” (กลางคืนในสมัยกฤษณะ) มีการเฉลิมฉลองกันมากมายในวันพระจันทร์เต็มดวงของชารวัน (Sharvan) คือ เดือนสิงหาคม-กันยายนซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญของฮินดูในอินเดียใต้

          บาเลฟ (Balev) คือรักคีที่มีความสำคัญสำหรับพราหมณ์ซึ่งเป็นวันที่พราหมณ์เปลี่ยนด้ายศักดิ์สิทธิ์ ในเดือนที่สองของฤดูฝนในเดือนกรกฎาคมหรือกลางสิงหาคมเมื่อพระจันทร์อยู่ท่ามกลางหมู่ดาวเป็นการถวายตัวเองเพื่อการศึกษาพระเวทและเป็นการยกระดับจิตวิญญาณให้สูงขึ้น

อีกครั้ง

 http://www.rudraksha-ratna.com/rakhi.htm 

          พิธีกรรมของรักคี ผู้คนจะตื่นแต่เช้าและอาบน้ำเพื่อชำระร่างกายและจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ลูกสาวพร้อมมารดาเตรียมอาหารรวมทั้งขนมหวานต่างๆ ลูกสาวเตรียมถาดบูชาประกอบด้วยด้าย ผงสีแดงสำหรับแต้มหน้าผาก ขนมหวาน (ที่ไม่มีไข่) และหม้อดิน และเครื่องสำหรับบูชาอื่นๆ

                                                               

                                                   http://www.rudraksharatna.com/rakhi.htm

           พี่และน้องสาวจะผูกข้อมือให้พี่หรือน้องชาย แต้มผงแดง (tika) ที่หน้าผากให้ด้วยแล้วให้

พี่หรือน้องชายบูชาเทวดาด้วยการวนมือเหนือเปลวไปในถาด พี่และน้องสาวสวดมนต์เพื่อให้พี่

หรือน้องชายมีอายุยืนยาว และหยิบขนมใส่ปากพี่น้องผู้ชาย พี่หรือน้องชายให้ของขวัญแก่พี่

หรือน้องสาวตอบแทนและสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองพี่หรือน้องสาวให้ผ่านพ้นอุปสรรคในชีวิต

พิธีที่เรียบง่ายของรักคีนี้เป็นสัญลักษณ์และสร้างความเข้มแข็งให้กับความผูกพัน ความรัก

ระหว่างพี่น้อง ในอินเดีย บรรยากาศของการเตรียมการเทศกาลทำล่วงหน้าเป็นเดือน เทศกาลนี้

เป็นการรวมกันของคนในครอบครัวอีกครั้งด้วยความสนุกสนาน เสร็จแล้วทุกคนรับประทาน

อาหารร่วมกัน ในปีนี้คือวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม

 

            วิธีการฉลองพิธีรักคีนี้เปลี่ยนไป แต่พิธีกรรมพื้นฐานยังเหมือนเดิมด้วยแนวคิดเดิมคือเพื่อการปกป้องคุ้มครอง ในปัจจุบัน พิธีกรรมนี้อยู่เหนือปัจจัยต่างๆ เช่น ระบบวรรณะ ระบบเผ่าพันธุ์ ศาสนา ไม่มีขอบเขต เช่น คนทั่วทั้งประเทศอาจผูกด้ายรักคีหรือส่งด้ายรักคีที่ออกแบบสวยงามทางไปรษณีย์ไปให้ทหาร นายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีก็ได้ ประเพณีนี้แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของอินเดียอย่างแท้จริง

 

                                                                    -----------------------

 

ขณะนี้ ใกล้จะถึงกำหนดการรับสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทหลักสูตรวัฒนธรรมและการพัฒนา วิชาเอกอินเดียศึกษา ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว ท่านที่สนใจจะศึกษา "อินเดีย" ในมิติต่างๆ เพื่อการเตรียมตัวสำหรับเป็นผู้เชี่ยวชาญในทศวรรษที่อินเดียจะมีบทบาทสำคัญต่อภูมิภาคและต่อโลกในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านสามารถสมัครได้ที่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป หรือเข้าไปชมใน www.lc.mahidol.ac.th หรือโทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3101 หรือ

02-8002323 ท่านเป็นผู้หนึ่งที่จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยไปในเวทีโลกอย่างเข้าใจ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มิใช่หรือ

หมายเลขบันทึก: 201552เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

เป็นประเพณีที่น่าชื่นชมครับ

ที่สำคัญยังรักษาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆๆ ครับ

เรียน ท่านพลเดช

ค่ะ ดิฉันเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีที่ควรเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท