เอา Kaizen มาใช้กันดีไหม


เอา Kaizen มาใช้กันดีไหม

Kaizen

* ไคเซ็น(KAIZEN) มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
* ไคเซ็น (การปรับปรุงให้ดีขึ้น) เป็นการปฏิบัติงานโดยใช้สติปัญญาของคนงานในการทำกิจกรรมเองซึ่งไม่ได้เป็นคำสั่งจากเบื้องบน จึงเป็นลักษณะเฉพาะพิเศษของกิจกรรมนี้ 
* ไคเซ็น ไม่ใช่เป็นการกิจกรรมที่เสร็จสิ้นแค่ครั้งเดียวแต่จะทำอย่างต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุด
 
 
Kaizen
    * กุญแจแห่งความสำเร็จของ KAIZEN
    KAI  คือ Continuous
    ZEN คือ Improvement 
     ดังนั้น KAIZEN เท่ากับ Continuous Improvement คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กระบวนการ Plan-Do-Check-Act คือ การดูปัญหา วางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง แล้วตรวจสอบว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่
 
ไคเซ็น(Kaizen)
     Kaizen ไม่ใช่การเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการปรับปรุง เฉพาะบางจุดเท่านั้น เพื่อให้คนที่ทำงาน ทำงานได้ง่ายขึ้นและผู้รับบริการสะดวกขึ้น สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ หัวใจสำคัญของหลักการ KAIZEN คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด โดยการใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน ด้วยการลงทุนเพียงเล็กน้อย และก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทีละน้อย ๆ แต่ค่อยๆเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากตัวเองจากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่น เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น 
 
 
Kaizen
กุญแจแห่งความสำเร็จของ Kaizen จะประกอบด้วย
    * - หลัก 5 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย ถือเป็นพื้นฐานของ Kaizen
    * - หลัก 5 Why คือ การถามคำถาม 5 ครั้ง จนกว่าจะเข้าใจและสามารถตอบคำถามได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง นั่นคือ ถ้าเราถามว่า “ทำไม” ครบ 5 ครั้ง จะรู้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
    * - หลัก Visualization คือ ทุกอย่างต้องมองเห็น เช่น การมีสัญญาณแสดงความก้าวหน้าของการผลิต หรือการทำงานในแต่ละวัน เพื่อช่วยเตือนสติและควบคุมการทำงานให้เสร็จภายในกำหนด
    การทำ Kaizen เกิดขึ้นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว เช่นการตัดสินใจเลือกเส้นทางในการเดินทางไปทำงาน  จะมีการลองผิดลองถูกและปรับเปลี่ยนเส้นทางไปเรื่อย ๆ จนพบเส้นทางที่ดีที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด และใช้เส้นทางนั้นตลอดไป
 
Kaizen
     * ไคเซ็น เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับไม่เฉพาะแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น หากแต่ทุกประเทศทั่วโลกต่างยอมรับว่า วิธีการทำงานแบบไคเซ็นนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องเรียนรู้ และฝึกทักษะให้สามารถนำไปใช้ได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
    * วัตถุประสงค์
             เพื่อการเพิ่มผลผลิต และเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร ไคเซ็นโดยสรุป ก็คือ จงทำงานให้น้อยลง ด้วยการปรับปรุงงานด้วยตนเอง เพื่อตนเอง เพื่อให้งานนั้น บรรลุเป้าหมายได้ดีกว่าเดิม จึงมุ่งเป้าไปที่การเสริมสร้างศักยภาพส่วนบุคคล ของพนักงานทุกระดับชั้น ทุกหน่วยงาน ในการรู้จักบริหารจัดการกับความแปรปรวน ที่เกิดขี้นในกระบวนการทำงานที่จุดปฏิบัติงาน
Kaizen
    * คุณลักษณะเด่น  เหมาะสำหรับทุกภาคส่วนขององค์กร สามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกับทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากมีความง่าย ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นฐานความรู้ใดๆ ทำได้รวดเร็ว รู้และวัดผลได้ทันทีไม่ต้องรอ ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ เป็นกิจกรรม ล่างสู่บนที่ทำแล้วต่างก็ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย (Win-Win) และที่สำคัญคือ เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จำเป็นที่จะต้องสร้างสมสำหรับจะก้าวไปสู่เครื่องมือบริหารจัดการที่สูงขี้นไป เช่น 5 ส QCC, TQM ได้ง่ายและเร็วขี้น

   วิธีการดำเนินกิจกรรม 
 เนื่องจากกิจกรรมไคเซ็นเป็นเทคนิคของการปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเอง เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายได้สบายกว่าเดิม โดยเริ่มที่ตนเองก่อน ภายใต้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาโดยตรง
 
ดำเนินขั้นตอนการทำ Kaizen ตามแบบ PDCA 
    * 1. คัดเลือกปัญหาที่จะทำ โดยใช้ข้อมูล มาเป็นการกำหนดปัญหาที่จะทำก่อนหลัง
    * 2. ทำความเข้าใจปัญหาให้ถ่องแท้ โดยเน้น การเข้าไปดูสถานที่จริง
    * 3. จัดทำแผนการที่จะแก้ไขปัญหา เตรียมพร้อมเรื่องคน อุปกรณ์ ความรู้
    * 4. วิเคราะห์ปัญหาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดได้อย่างไร มีปรากฏการณ์อย่างไร
    * 5. นำเอาวิธีการที่ได้จากการวิเคราะห์ลองนำไปแก้ไขตามแผนที่ได้วางเอาไว้ DO
    * 6. Check นำเอาผลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าได้ผล หรือมีปัญหาอย่างไร
    * 7. Action หรือการจัดทำมาตรฐาน เพื่อนำไปปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิมอีก
    การทำ PDCA ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบ 7 ขั้นตอนก่อน ถึงไปเริ่มขั้นที่ 1 ใหม่ เวลามีปัญหาติดขัดสามารถย้อนไปทำในขั้นต้น ๆได้เสมอถี่เท่าที่ต้องการ
 
 Kaizen
    * ประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับ
      1. พนักงานทุกระดับจะแสดงศักยภาพในการปรับปรุงงานออกมาด้วยตัวของเขาเอง 
      2. สายการบังคับบัญชาจะมีความเหนียวแน่น-แม่นยำ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้การทำงานลื่นไหลไม่ติดขัด
      3. มีความง่ายที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ในสถานประกอบการของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มมากมายแต่อย่างใด
      4. เป็นการลดการทำงานในกระบวนการที่สูญเปล่าของแต่ละคน
      5. เป็นเรื่องที่ง่าย สามารถทำได้ทันที และวัดผลได้ทันที
 
Kaizen
    * สิ่งที่แต่ละคนในองค์กรจะได้รับ
      1. ผู้บริหารระดับสูงสามารถบริหารจัดการองค์กรให้บรรลุเป้าหมายให้ไปในทิศทางเดียวกันกับที่องค์กรต้องการด้วยพลังรวม
      2. ผู้บริหารระดับกลางสามารถเป็นผู้นำที่พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะกลไกในการทำงานที่ต้องเป็นห่วงโซ่ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยผ่านกระบวนการทำงานที่มีการปรับปรุงอยู่เสมอ
      3. พนักงานจะได้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการทำงานให้น้อยลง จากความสูญเปล่า ความคลาดเคลื่อน ในกระบวนการทำงานที่ตนเองค้นพบ และขจัดออกอย่างต่อเนื่อง

    การนำ KAIZEN มาใช้นั้นจะเริ่มจากการคิดค้นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีการบูรณาการกันระหว่างการคิดสร้างสรรค์(Creative) และ Kaizen คือคิดปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ และกำหนด
     - ปรัชญาการทำงานร่วมกันขององค์กร
     - พฤติกรรมนิยมที่ปฏิบัติร่วมกันในองค์กร
     - วัฒนธรรมองค์กร 
และกำหนดหัวใจสำคัญ 5 ประการ สำหรับพนักงานนำมาถือปฏิบัติทุกคน ได้แก่
    * ความท้าทาย (Challenge)
    * ไคเซ็น (Kaizen)
    *   เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
    *   การยอมรับนับถือ (Respect)
    *   การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

KAIZEN มาใช้ในองค์กร
    * ข้อควรคำนึงถึงในการนำ KAIZEN มาใช้ในองค์กร
1. Kaizen ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างหนึ่ง จะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง
2. Kaizen เป็นสิ่งที่เราทุกคนทำอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว จึงสามารถนำสิ่งที่เคยปฏิบัติมาดำเนินการให้จริงจังและมีหลักการมากขึ้น
3. Kaizen จะต้องทำให้การทำงานง่ายขึ้นและลดต้นทุน แต่ถ้าทำแล้ว ยิ่งก่อความยุ่งยาก จะไม่ถือว่าเป็น Kaizen
 
 KAIZEN กับ Suggestion
คนที่ยังสับสนระหว่าง KAIZEN กับ Suggestion 
   KAIZEN คือ "ฉันทำ" ส่วน Suggestion ระบบข้อเสนอแนะ คือ "คุณน่ะทำ" เสนอให้คนอื่นทำ แต่เนื่องจากจะดูเหมือนเป็นการยุ่งเรื่องของคนอื่น คนคิดไม่ได้ทำ คนทำก็รู้สึกเหมือนถูกสั่งให้ทำ เลยดูไม่ค่อยจะพอใจนัก แต่ก็จำเป็นต้องมี เพราะบางทีสายตาคนนอกจะมองเห็นอีกมุมหนึ่ง
    ดังนั้นอัตราส่วน KAIZEN กับ Suggestion จึงอยู่ที่ 80:20 KAIZEN จึงจัดให้เป็นกิจกรรม ส่วน Suggestion บางส่วนจะถูกจัดไว้ในระบบการทำงาน
 
The end
     * ระบบข้อเสนอแนะ (kaizen) มีประโยชน์อะไรกับการบริหารงานบุคคลในองค์การภาครัฐ
    * ระบบดังกล่าว สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบไทยๆ หรือไม่
    * ถ้าจะใช้  ต้องปรับปรุงอะไรในองค์การก่อน

คำสำคัญ (Tags): #kaizen
หมายเลขบันทึก: 201506เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สุดยอดมากครับสำหรับคำๆ นี้ อ่านแล้วผมรู้สึกว่าดีมากๆเลยครับ และผมขออนุญาติยืมคำๆนี้ไปใช้ ในการดำเนินงานของผมด้วยนะครับ

KEIZEN

สวัสดีค่ะ

ต้องทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะ

แนวคิดสุดยอดคะ ปรับปรุงเป็นบางส่วน ชอบคำนี้ ไม่มีใครชอบการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดแน่นอน ขอบคุณนะคะที่หามาให้อ่าน ประกาย

ผมคิดว่าน่าจะนำ 3 MU ก็เข้าค่าย KAISEN ด้วยนะครับ พี่ๆคิดว่าอย่างไรบ้าง

-muda

-mura

-muri

ช่วยแนะนำด้วยครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประโยชน์

ผมมีความเห็นว่าการทำ kaizen ที่บ้านเรายังต่างจากวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่นมาก ถีงเวลาที่วงการอุตสาหกรรมไทยจะต้องตื่นตัว และได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมในแบบฉบับของญี่ปุ่น

ความรู้ที่ผมได้สุดยอดมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท