ส.ศรีสุนทร
พระมหาธรรมธรณ์ พระอาจารย์ สุวรรณาจารย์

ใบความรู้ศาสนาคริสต์


ศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์
๑.  ประวัติความเป็นมาของศาสนาคริสต์
๑.๑  ถิ่นกำเนิด  ศาสนาคริสต์มีถิ่นกำเนิดในดินแดนปาเลสไตน์ (ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  แต่ไปเจริญรุ่งเรืองในทวีปยุโรป  และภูมิภาคอื่น ๆ  ของโลก  ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากที่สุดในโลก
๑.๒  ศาสดาผู้ประกาศศาสนา  ศาสนาคริสต์มีวิวัฒนาการมาจากศาสนายูดาย (หรือศาสนายิว,  นับถอกันมากในประเทศอิสราเอล  ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศของชนชาติยิว)  เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว  คือ พระยะโฮวา  และศาสดาของคริสต์ศาสนา  คือพระเยซู
 พระเยซู  ทรงเป็นชาวยิว  ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. ๕๔๓  หรือ  ค.ศ. ๑  (คริสต์ศักราชที่ ๑ เริ่มนับในปีที่พระเยซูประสูติ)  เณ  หมู่บ้านเบธเลเฮม  แคว้นยูดายห์  ในดินแดนปาเลสไตน์  บิดาของพระเยซูเป็นช่างไม้ชื่อโยเซฟ  และมารดาชื่อมาเรียหรือมารีอา
 ในวัยเยาว์  พระเยซูเติบโตในหมู่บ้านเล็ก ๆ  แห่งหนึ่ง  ในเมืองนาซาเรธ  แคว้นกาลิลี  เป็นผู้สนใจศึกษาหลักคำสอนอของศาสนายูดายโดยตลอดมา  ครั้นเมื่อทรงมีพระชนม์ได้  ๓๐  พรรษา  ทรงรับศีลล้างบาปตามลัทธิของนักบุญโยฮัน  และได้ปลีกตัวไปประทับที่ป่าแห่งหนึ่ง  เพื่อบเพ็ญศีลภาวนา  เจริญสมาธิ   และนมัสการพระเจ้า  หลังจากนั้นจึงทรงประกาศศาสนาใหม่  เรียกว่า  ศาสนาคริสต์
๑.๓  การต่อต้านจากผู้เสียผลประโยชน์  พระเยซูเผยแผ่หลักคำสอนของพระองค์ได้  ๓ ปี  มีผู้คนศรัทธาเปลี่ยนมานับถือคริสต์ชนจำนวนมาก จึงเกิดผลกระทบต่อศาสนาเดิม  ทำให้กลุ่มผู้นำทางศาสนายูดายคิดกำจัดพระองค์  โดยใส่ร้ายพระองค์และฟ้องร้องต่อผู้ปกครองแคว้น
 ในที่สุด  พระเยซูถูกจับและถูกประหารชีวิตด้วยการตรึงร่างกายไว้บนไม้กางเขนรวมพระชนม์ได้ ๓๓ พรรษา  ภายหลังที่สิ้นพระชมน์  บรรดาสาวกได้ร่วมมือกันเผยแผ่หลักคำสอนของพระองค์ต่อไป
๑.๔  ศาสนาคริสต์ลงรากฐานที่มั่นคงในดินแดนยิว  ผู้คนที่นับถือคริสต์ศาสนาในระยะแรกส่วนใหญ่เป็นชาวยิว  ต่อมากได้เผยแผ่เข้าไปในหมู่ชาวกรีก  ชาวโรมัน ฯลฯ  และกลายเป็นศาสนาประจำชาติของอาณาจักรโรมันและประเทศอื่น ๆ ใสยุโปในเวลาต่อมา
๒.  นิกายสำคัญของศาสนาคริสต์
 ศาสนาคริสตือกำเนิดในโลกนี้นานกว่า  ๒,๐๐๐ ปี  มีนิกาย ๆ  ๓ นิกาย
 ๒.๑  นิกายโรมันคาทอลิก  เป็นนิกายที่ยึดมั่นคำสอนของพระเยซูโดยเคร่งครัด  มีศูนย์อยู่ที่นครวาติกัน (ใจกลางกรุงโรม  ประเทศอิตาลี)  มีพระสันตะปาปา  หรือโป๊ป (Pope)  เป็นประมุข  ผู้นับถือนิกายนี้จะเคารพพระแม่มาเรียหรือนักบุญต่าง ๆ
 ๒.๒  นิกายออร์โธด๊อกซ์  มีหลักคำสอนที่เหมือนกับนิกายโรมันคาทอลิกทุกประการ  แต่มีความแตกต่างในรูปแบบของพิธีกรรมและระเบียบปฏิบัติของนักบวช  เช่น  ยินยอมให้นักบวชชั้นผู้น้อยแต่งงานหรือมีครอบครัวได้  ในขณะที่นักบวชทุกระดับของนิกายโรมันคาทอลิกจะใช้ชีวิตสมรสไม่ได้
 ประการสำคัญ  นิกายออร์โธด็อกซ์จะไม่ขึ้นกับสันตะปาปาที่นครวาติกัน  แต่ถือว่าประมุขทางศาสนาของแต่ละประเทศต่างเป็นอิสระและมีฐานะเท่าเทียมกัน
 ๒.๓  นิกายโปรเตสแตนต์  เป็นนิกายที่แยกออกจากนิกายโรมันคาทอลิก  เนื่องจากมีความเห็นเกี่ยวกับหลักคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลที่แตกต่างกัน  และการปฏิบัติในพิธีกรรมก็ไม่เหมือนกัน  โดยนิกายโปรเตสแตนต์นิยมความเรียบง่าย  ไม่หรูหรา  ในปัจจุบัน  นิกายนี้แยกเป็นนิกายย่อย ๆ  อีกหลายนิกาย
 นอกจากนั้น  นิกายโปรเตสแตนต์จะไม่ยอมรับในอำนาจของพระสันตะปาปาหรือโป๊ปที่นครวาติกัน  ไม่ยอมรับในพระแม่มาเรียหรือนักบุญทั้งหลาย  (ในโบสถ์จึงไม่มีรูปปั้นของนักบุญดังกล่าว  จะมีเพียงไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายเท่านั้น)  ไม่มีนักบุญหรือบาทหลวง  จะมีแต่ผู้ทำหน้าเผยแผ่ศาสนา  ซึ่งสามารถแต่งงานมีครอบครัวได้
๓.  คัมภีร์ของศาสนา
    ศาสนาคริสต์รวบรวมหลักคำสอนไว้ในคัมภีร์ “ไปเบิล” (Bible)  ซึ่งเป็นพระวจนะ (คำพูด)  ของพระเจ้า  เพื่อชี้แนวทางให้มนุษย์หลุดพ้นจากบาป  และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับพระเจ้าบนอาณาจักรสวรรค์
๔.  หลักคำสอนสำคัญ
 หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์  มี  ๔  หัวข้อ    ดังนี้
 ๔.๑  บัญญัติ  ๑๐  ประการ  เป็นหลักธรรมของศาสนายูดาย (ศาสนาชนชาติยิว)  ซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่ชาวยิวผ่านทาง “โมเสส”  ผู้นำชาวยิวในสมัยนั้น  เนื่องจากศาสนาคริสต์มีวิวัฒนาการมากจากศาสนายูดาย  จึงนำหลักบัญญัติ  ๑๐  ประการมาปฏิบัติด้วย  มีดังนี้
  ๑.  จงนมัสการพระเจ้า  (พระยะโฮวา)  เพียงพระองค์เดียว
  ๒.  อย่ากล่าวนามพระเจ้าโดยไม่สมควร
  ๓.  อย่าทำรูปปั้นรูปเคารพศาสนาอื่นใด
  ๔.  จงนับถือบิดามารดา
  ๕.  จงนับถือวันพระเจ้าหรือวันสะบาโต (วันเสาร์)  เป็นวันศักสิทธิ์
  ๖.  อย่าฆ่าคน
  ๗.  อย่าหลักทรัพย์
  ๘.  อย่าใส่ความนินทาให้ร้ายผู้อื่น
  ๙.  อย่าผิดประเวณี
  ๑๐.  อย่าโลภสิ่งของผู้อื่น
 ๔.๒  หลักตรีเอกานุภาพ  เป็นหลักคำสอนที่ระบุว่า “พระเจ้ามีองค์เดียว  แต่มีสามบุคคล”  คือ พระบิดา  พระบุตร  และพระจิต  มีความหมายดังนี้
  ๑.  พระบิดา  คือ  พระเจ้าผู้สร้างโลก  และให้กำเนิดแก่ชีวิตทุกชีวิต
  ๒.  พระบุตร  คือ  พระเจ้าทรงมาเกิดเพื่อไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์  ซึ่งหมายถึงพระเยซู
  ๓.  พระจิต  คือ  พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าที่ปรากฏในจิตใจของมนุษย์  คอยกระตุ้นให้มนุษย์สำนึกใสคุณธรรมความดี  และนำมนุษย์ไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า
 ๔.๓  หลักความรัก  ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก  เพราะสอนให้มนุษย์มีความรักต่อพระเจ้า  และมีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (แม้แต่ศัตรู)  ความรักดังกล่าว  หมายถึง  ความเมตตา  กรุณา  เสียสละ  และการให้อภัย
 ๔.๔  อาณาจักรพระเจ้า  เป็นหลักคำสอนที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต  ซึ่งชาวคริสต์ทุกคนจะต้องไปให้ถึง  คือ  เข้าไปสู่อาณาจักรพระเจ้า
  อาณาจักรพระเจ้า  หมายถึงอาณาจักรแห่งจิตใจ  บุคคลผู้มีใจบริสุทธิ์  อันเกิดจากการปฏิบัติตามหลักคำสอน  และมีความศรัทธาต่อพระเจ้าและพระเยซู  บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงการเป็นบุตรพระเจ้าอย่างแท้จริง  และได้เป็นสมาชิกของอาณาจักรอันบริสุทธิ์ของพระองค์
  หลักคำสอนเรื่องอาณาจักรพระเจ้า  ช่วยให้มนุษย์สร้างศรัทธาขึ้นในจิตใจของตนเพื่อรับฟังคำสั่งสอนปละปฏิบัติได้ถูกต้อง  อาณาจักรพระเจ้าแบ่งออกเป็น  ๒  ส่วน
 ๑.  อาณาจักรพระเจ้าบนโลกมนุษย์  คือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนชาวคริสต์อย่างมีระเบียบและสงบสุข  ผู้ยึดมั่นในหลักคำสอน  และมีศรัทธาในพระเจ้าอย่างเปี่ยมล้น
 ๒.  อาณาจักรพระเจ้าบนสวรรค์  ชาวคริสต์ที่ศรัทธาในพระเจ้า  ประกอบแต่คุณงามความดี  เมื่อตายไปวิญญาณจะไปอยู่ร่วมกับพระเจ้าบนสรวงสวรรค์  และมีชีวิตนิรันดร
๕.  พิธีกรรมทางศาสนา
 พิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญของศาสนาคริสต์  เรียกว่า  “พิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์”  ซึ่งนิกายโรมันคาทอลิกกับนิกายออร์โธด็อกซ์  จะรับปฏิบัติทั้ง ๗ พิธี
 ๑.  ศีลล้างบาป  เป็นพิธีกรรมแรกสำหรับผู้เริ่มนับถือคริสต์ศาสนา  ทั้งเด็กทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่  เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์มีบาปติดตัวมาตั้งแต่เกิด  โดยบาทหลวงจะเทน้ำลงบนศรีษะ  ๓  ครั้ง  เพื่อล้างบาปมลทินต่าง ๆ  นิกายโปรเตสแตนต์  เรียกพิธีกรรมนี้ว่า  “ศีลจุ่ม”
 ๒.  ศีลกำลัง  เป็นพิธีกรรมที่ทำให้เป็นชาวคริสต์ที่สมบูรณ์  โดยบาทหลวงจะเจิมน้ำมันที่หน้าผากเป็นรูปไม้กางเขน  เป็นการยืนยันว่าพระจิตหรือวิญญาณอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าได้เสด็จเข้าสู่จิตใจของชาวคริสต์ผู้นั้นแล้ว  โดยทั่วไป  การทำพิธีถือ “ศีลกำลัง” จะทำเมื่อมีอายุ ๗ ขวบขึ้นไป
 ๓.  ศีลมหาสนิท  เป็นพิธีกรรมที่ชาวคริสต์จะร่วมกันปฏิบัติที่โบสถ์ทุกวันอาทิตย์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พิธีมิสซา”  เพื่อระลึกถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซู  ชาวคริสต์จะอดอาหารก่อนเข้าร่วมพิธีหนึ่งชั่วโมง  แล้วจึงสวดมนต์  ต่อจากนั้นจึงรับขนมปังและเหล้าองุ่นจากบาทหลวงมารับประทาน
 ๔.  ศีลแก้บาป  ชาวคริสต์จะทำพิธีแก้บาปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง  โดยคุกเข่าและกล่าวคำสารภาพบาปหรือความผิดที่ตนได้กระทำลงไปต่อบาทหลวง  เพื่อให้พระเจ้ายกโทษให้  ทั้งนี้ต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำผิดซ้ำอีก
 ๕.  ศีลเจิมคนไข้  เป็นพิธีเจิมคนไข้ด้วยน้ำมันอันศักดิ์สิทธิ์  บาทหลวงจะทำพิธีนี้แก่ผู้ป่วยเรื้อรังหรือคนไข้ที่เจ็บหนัก  เพื่อให้มีกำลังใจเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บ  และลดบาปให้
 ๖.  ศีลบวช (หรือศีลอนุกรม)  เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์สำหรับบวชให้ชาวคริสต์ผู้สมัครใจเป็นบาทหลวง  ผู้บวชจะต้องมีอายุ  ๒๔ ปีบริบูรณ์  มีความประพฤติดี  โดยพระสังฆราชจะเป็นผู้ทำพิธีนี้ให้  โดยเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่มือของผู้รับศีล
 ๗.  ศีลสมรส  เป็นพิธีแต่งงานของชายและหญิงในโบสถ์  โดยบาทหลวงเป็นผู้ทำพิธีให้  สำหรับนิกายโรมันคาทอลิก  ถือว่าเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์  คู่สมรสจะต้องอยู่ร่วมกันไปตลอดชีวิต  จะหย่าร้างกันมิได้
.............................................................................................

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาคริสต์
หมายเลขบันทึก: 201175เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เป็นใบความรู้ที่มีประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณนะคะ กำลังทำรายงานเรื่องนี้พอดี

กำลังจะทำรายงานกลุ่มพอดีขอบคุณค่ะ

รักเทอที่สุด รักแท้

เป็นใบความรู้ที่มีประโยชน์มาก

ขอบคุณค่ะ เป็ประโยชน์มากๆเลย ^_________-^

ตรงกับที่อาจารให้หามากเลยค่ะ ขอบคุณมากๆเลยนะคะ ^^''

เเม่มึงตายหรือ

มีประโยชน์มากนะ แต่ยาวไปหน่อย

^ - ^

ขอบคุณนะคะ><//เป็นความรู้ที่ดีมากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท