เรียนรู้...หลักการวิเคราะห์และประเมินงานวิจัยในคลินิก(critical appraisal)


Critical appraisal of scientific paper by Dr Kanchana

วันที่ 13 สิงหาคม 2551

เราได้เรียนรู้ หลักการวิเคราะห์และประเมินงานวิจัยในคลินิก(critical appraisal) จาก ท่าน ผศ. พญ. กาญจนา จันทร์สูง

ทำไมเราจะต้องวิเคราะห์และประเมินงานวิจัย

  • เพราะข้อมูลมากเกินไป ข้อมูลที่มีอยู่ไม่รู้จริง ไม่จริง เกี่ยวข้องกับเราไหม ดังนั้นเราจะต้องคัดเรื่องที่ดีที่สุด

การเรียงลำดับหลักฐานที่ดีที่สุด

  • Meta-analysis
  • RCT
  • Non-RCT
  • Case control study
  • Experiences&Opinion

หลักการเลือกอ่านงานวิจัย

  • หัวข้อเรื่อง สำรวจดูว่างานวิจัยชิ้นนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ท่านสนใจ
  • ผู้วิจัย มีชื่อเสียงดี มีผลงานต่อเนื่องในสาขาวิชานั้นๆ หรือไม่
  • สรุปผลการวิจัย อาจใช้วิธีการอ่านในบทคัดย่อเพื่อพิจารณาดูคร่าวๆว่าผลของงานวิจัยชิ้นนั้นมีคุณค่าหรือความสำคัญทางคลินิกที่จะนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้หรือไม่
  • พิจารณาสถานที่ในการทำวิจัย สถานที่ทำวิจัยอาจถูกเขียนไว้ในบทคัดย่อ
  • หรือพิจารณาจากเครือข่ายของผู้ทำวิจัย

หลักการพิจารณางานวิจัย

  • งานวิจัยนั้นมีความถูกต้องเที่ยงตรงเพียงใด (Validity)
  • ผลของงานวิจัยว่าอย่างไร (Results)
  • สามารถนำผลการวิจัยนั้นไปเป็นประโยชน์ในการตัดสินการรักษาพยาบาลได้หรือไม่ (Applicability)
  • การพิจารณาความถูกต้องเที่ยงตรงของงานวิจัย
  • งานวิจัยชิ้นนั้นใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบ Randomized controlled trial หรือไม่
  • ในการสรุปผลวิจัยได้มีการติดตามผลผู้ป่วยทุกราย
  • จัดกลุ่มผู้ป่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสมหรือไม่
  • มีการปกปิดวิธีการรักษาของแต่ละกลุ่มจากผู้ป่วย แพทย์ และ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและประเมินผลการรักษาผู้ป่วยหรือไม่ (Patient,ผู้ให้ Treatment, Assessor)
  • ผู้ป่วยทั้งกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองได้รับการรักษาอื่น ๆ นอกเหนือจากการรักษาที่วิจัยอยู่ โดยเท่าเทียมกันหรือไม่ (Co-intervention)

Randomized controlled trial

  • จะต้องมีกลุ่มควบคุม ซึ่งได้รับการรักษาในช่วงระยะเวลา เดียวกับกลุ่มทดลอง
  • ผู้ป่วยจะต้องถูกจัดเข้าอยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีการแบบสุ่มซึ่งอาจดำเนินการด้วยวิธีการจับสลากใช้ตารางสุ่ม ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้สุ่ม
  • การทำ concealment เป็นการเลือกผู้ป่วยเข้ากลุ่ม การ ceal จะต้องมีองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องในการวิจัยเรื่องนั้นเป็นคนสุ่มให้ จึงจะเชื่อได้ว่า ผู้ป่วยที่ถูกเลือก จะได้เข้าในกลุ่มที่เลือกจริง

การสรุปผลวิจัยได้มีการติดตามผลผู้ป่วยทุกรายและจัดกลุ่มผู้ป่วยเหมาะสมหรือไม่

  • มีการติดตามผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่
  • ผู้ป่วยทุกรายที่เข้าร่วมในการศึกษาจะต้องได้รับการติดตามและประเมินผลอย่างเหมาะสม
  • ผลการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายถูกวิเคราะห์โดยจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกสุ่มเลือกไว้แต่แรกหรือไม่
  • Intention to treat analysis คือ ผู้ป่วยทุกรายจะถูกวิเคราะห์ผลการรักษาโดยจัดไว้ในกลุ่มที่ถูกสุ่มเลือกไว้แต่แรก ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนใจและหันไปรับการรักษาอื่นกลางคันก็ตาม

การพิจารณาว่า..มีการปกปิดวิธีการรักษาของแต่ละกลุ่มจากผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและประเมินผลการรักษาผู้ป่วยหรือไม่

  • double blinding หรือ double masking เป็นการปกปิดทั้งผู้ป่วยและผู้ทำการรักษาว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานเดิมหรือมาตรฐานใหม่

การพิจารณาว่าผู้ป่วยทั้งกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองได้รับการรักษาอื่น ๆเท่าเทียมกันหรือไม่

  • การรักษาอื่น ๆ นอกเหนือจากการรักษาที่วิจัยอยู่ซึ่งกลุ่ มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับ
  • แตกต่างกัน เรียกว่า “co-interventions” เช่น การรักษาอื่นๆที่เพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่าง

การนำผลของงานวิจัยไปใช้ในการตัดสินการรักษาผู้ป่วย

  • ลักษณะของผู้ป่วยของผู้อ่านใกล้เคียงกับผู้ป่วยในงานวิจัยหรือไม่
  • การรักษานั้นๆอยู่ในวิสัยที่สถานพยาบาลที่ผู้อ่านทำงานอยู่สามารถกระทำได้หรือไม่
  • ความคุ้มค่าของการรักษานั้นๆ


อย่างไร...ก็ตามการพิจารณางานวิจัย อาจต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการค่ะ

การบ้าน

ให้อ่านรายงานวิจัยและวิเคราะห์ กลุ่ม 4 อ่าน paper 2

คิดคำถามงานวิจัยของตนและเตรียม Backgroundมาด้วย

  • อุบล จ๋วงพานิช

หมายเลขบันทึก: 200710เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2017 06:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีครับ พี่แก้ว

  • แวะมาดูงานวิจัยครับ
  • การบ้าน ขอให้ทำให้เสร็จนะครับ
  • เดี่ยวครูตี
  • อิอิ
  • สบายดีไหมครับพี่
  • เรียนหนักไหม
  • รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

P

ครูโย่ง...อย่าลืมมาช่วยพี่ทำการบ้านนะ

จะให้รางวัล ตอนพี่เรียนจบ

การหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องต้อง

  • Advanced Search
  • ค้น Site
  • ค้น tract record
  • Author จะต้องค้นคนที่ 1 และคนสุดท้าย(Big board)

 

ไปเรียนที่มหาลัย ช่วงนี้

ก็ทำงานวิจัย ส่งอาจารย์อยู่ครับพี่

อิอิ

เครียด ๆๆๆๆอิอิ

แวะมาให้กำลังใจพี่

และมาให้กำลังใจตัวเอง

ฮ่า ๆ เอิ๊กๆ

P

ถ้าอย่างนั้น เรามาเรียนช่วยกันก็แล้วกันนะ

พี่จะพยายามมาสรุปบทเรียนกันลืมค่ะ

Note เพิ่มเติม

  • RCT ถ้าเป็น International จะต้อง call ไปต่างประเทศ
  • ระวังความลำเอียงต่างๆ (bias)
  • ระวังการ Contamination ถ้ากลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเข้าไปอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้ว แต่มีโอกาสได้รับ Intervention ของอีกกลุ่มหนึ่ง
  • Co-intervention เป็น treatment  อื่นๆที่มีผลต่อ Outcome
  • Drop out การที่กลุ่มตัวอย่างหายไประหว่างทาง เราต้องบอกเหตุผลที่หายไป การหายไปอาจเกิดจากตัว treatment เราสามารถนำมาพิจารณา treatment ได้

โห พี่สาวเรา

ขยันจริง ๆ

เยี่ยมๆๆ

การวัดผล (Clinical outcome)

  • ตัววัดเหมาะสมไหม  วัดง่าย ไม่ซับซ้อน ใครวัดก็ได้ผลเหมือนกัน ต้องตั้งไว้ก่อนจะเริ่มศึกษา
  • การวัดนั้น พยายามลดอคติไหม ตัววัดใดที่ขึ้นกับคนวัดหรือการวัดใดๆที่ต้องอาศัยวิจารณาญาณของผู้วัด  ควร blinding เช่น วัดความปวด  ความวิตกกังวล  อะไรที่ไม่เปลี่ยนแลงในการวัด ไม่ปกปิดก็ได้

 

P

ครูโย่ง อ่านแล้วงงไหม บางครั้งพี่ยังงงอยู่เลย

go to bed ดีกว่านะ

การบ้านทำพรุ่งนี้นะ....ครูโย่ง

หรือครูโย่งจะลองทำดูนะ

การบ้าน

คิดคำถามงานวิจัย

Dear PiiKaw,

Your conclution is fantastic. It is understandable. Thanks so much.

Kade

พี่แก้วเขียนตก ฤ เปล่าคะ ...การรักษาที่วิจัยอยู่ซึ่งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับ แตกต่างกัน เรียกว่า “conterventions”...co- intervention?

เกศก็เขียนตกเหมือนกันค่ะ conclusion NOT conclution

Note เพิ่ม

การแก้ไขกรณีมีปัจจัยที่มีผลต่อกลุ่มทดลองและควบคุม แก้โดย ใช้วิธีสุ่มแบบการแบ่งชั้น (Stratified randomization)

โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามปัจจัยที่สำคัญก่อนแล้วค่อยสุ่มเป็น 2 กลุ่ม

         ห้องเรียนของเรา ผ่อนคลายด้วยการถ่ายภาพค่ะ

             คุณเกศ ก็เป็นนักเรียนรุ่นเดียวกัน

ถึง...พี่แก้ววันก่อนที่จไปประชุมและ presentงานวิจัยที่ Australia เขียนshare ค้างไว้เพราะมีงานด่วนเรื่อง TOR ของหน่วยงานต้อง analyse data เพิ่มเรื่องการจัด EBP ที่จะติดตามและจัดให้กับพยาบาลของเราต่อไป

ขอเล่าเรื่องไป Australia ก่อนค่ะ

อุ..จะบอกพี่แก้ว & พี่เกศ ว่า ความรู้ research methodology ของ short course ที่เรียนมาใช้อย่างมากและมีประโยชน์มากเลยค่ะในการเข้าร่วมฟังการประชุม วิชาการระดับนานาชาติ และต้องใช้ critical appraisal ในระหว่างการฟังการประชุมด้วย รวมทั้งสร้างผลงานวิจัยที่นำไปเสนอที่ Australia ด้วย การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมปลูกถ่ายอวัยวะระดับโลกซึ่งงานใหญ่มากต่างกับหลายประเทศที่ผ่านๆมา ต้องเรียนรู้สถานที่ประชุมซึ่งจัดที่ convention hall center ที่ sidney ต้องวางแผนอ่าน Schedule & Title ก่อนในแต่ละวันว่าจะฟังเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เพราะเนื้อหาเยอะมาก และงานวิจัยมีมากๆเลย เฉพาะ program schedule มีทั้งหมด 339 หน้า ยังไม่รวม Author index ดังนั้นต้องรวดเร็วเพราะต้องได้ความรู้ทั้งจากที่ประชุมใหญ่,siposium ต่างๆ , oral& poster presentation โดยเฉพาะ oral presentation แต่ละเรื่องจะใช้เวลาแค่ 5 นาที กระชับเวลาได้ดีมากได้ใจความเนื้อเรื่องดีด้วย

อุได้ไปฟัง session stat of art ท่าน professor มาเป็น speakerใน hall ใหญ่โดยนั่งรถเข็น และเห็นคุณยายคนหนึ่งเป็นคุณหมออายุคงจะ >60 ปี นั่งรถเข็นมาประชุมและได้มา oral Present เป็นเรื่องที่ดีด้วยซึ่งอยู่ใน Them ที่ hot ด้วยในเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะ เห็นแล้วทึ่งและเป็นข้อคิดกับเราว่า...ขนาดท่านเดินไม่ได้ท่านยังใช้ความรู้ที่ท่านมีอยู่มาใช้สร้างประโยชน์ให้สังคมโลกได้เลย

คุณอุบลรัตน์

ขอบคุณนะคะ..ที่เล่าเรื่องดีดีให้ฟังค่ะ

ยินดีกับประสบการณ์ที่ดีค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่แก้ว ตอนนี้ขอมา share กับพี่แก้วก่อนยังไม่เขียนใน blog ของตัวเองเพราะยังยุ่งกับการ analyse ข้อมูล outcomes ของผู้ป่วยปลูกถ่ายไตเพื่อเตรียมการสำหรับปลูกถ่ายไต 30 บาทกับทีม เมื่อเช้าจะ share ใน blog APN ของพี่แก้วด้วยจากที่ไป Australia มา สำหรับน้องที่สอบ APN แต่ยังเข้าไป share ไม่ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ  คุณแก้ว หนูชื่อพิมพ์  เป็นนิสิตปริญญาโท กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่ค่ะ งานวิจัยของหนูเป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ชัดเจน ลักษณะงานวิจัยเป็นการให้การปรึกษารายบุคคลค่ะ หนูเห็นมีคำอธิบาย เกี่ยวกับ การ drop out ของกลุ่มตัวอย่าง นู๋เลยอยากจะรบกวนขอคำอธิบายเพิ่มเติม ในเรื่อง Criteria to drop out ค่ะ ว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ขอรบกวนหน่อยนะคะคุณแก้ว   ขอบคุณค่ะ

หนูพิมพ์

Sample size calculation for Intervention study

  • Primary outcome  Dichotomous, Continuous, Event in Time
  • Alpha error, Power, Effect size
  • Expected value in control & experiment gr.
  •  Clinical experience, Previous report or pilot study
  •  Dropout rate

 

 

การคำนวณกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงทดลองจะเผื่อกลุ่มตัวอย่างที่  Lost ในกระบวนการวิจัย

drop out 10%ของกลุ่มตัวอย่าง 

 If  n = 22

  n เผื่อ drop out = 22 /(1-0.1)2

   n/ group = 25

My study

The sample size of 41 patients in each group will be chosen because of its feasibility. 

The anticipated drop out rate is about 10%. The sample size will be inflated as following:

 

       N = 41 / (1-0.1)2 = 50.62

 

Finally the required number of patients for each group is   56

Sample size of 56 for each group will be chosen due to its feasibility, In Srinagarind hospital, Overall prevalence of cancer pain prior to admission was 56.5%. There are new cancers cases for all sites in Chemotherapy ward are expected to reach approximately 500 by 2008, Thus Cancer patients with pain experience estimate 280 case per year.

    ขอบคุณคุณแก้วมากค่ะ สำหรับข้อมูล การ drop out ของกลุ่มตัวอย่าง หนูได้ข้อมูลเรื่องการ drop out แล้ว เย้ๆ ดีใจ  แต่อยากจะรบกวน ขอคำแนะนำเรื่อง Effect  size อีกเรื่องนึงค่ะ  คือพิมพ์มี ประชากรในมือทั้งหมด 154 คนค่ะ เนื่องจากว่า งานวิจับของพิมพ์เป็นเชิงทดลอง และต้องให้ Intervention กับคนไข้ กรรมการสอบ เลยให้พิมพ์ไปคำนวน หา ES ของมาเพื่อความ Strong ของงาน เพื่อดูว่า จากประชากร 154 คนนี้ หลังจากคำนวน effect size แล้ว จะต้องใช้กลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่  พิมพ์เลยไปเปิดตารางของยามาเน่ แล้ว ปรากฎว่าต้องใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 108 คน พิมพ์ก็เลยปรึกษาอาจารย์ คำตอบคือไม่ใช่  อาจารย์ที่ปรึกษายืนยันว่าต้องคำนวน Effect size ค่ะ พิมพ์เลยอยากจะขอคำแนะนำจากคุณแก้ว เรื่องการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จากประชากร 154 คน ที่มาจากการคำนวน effec size อ่ะค่ะ

 พิมพ์หวังว่าจะได้รับความกรุณาจากคุณแก้วเหมือนเช่นเคยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

นู๋พิมพ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท