TQM


TQM กับ การจัดการคุณภาพการศึกษา

TQM กับ การจัดการคุณภาพการศึกษา

ดร.สมศักดิ์  ดลประสิทธิ์

รองเลขาธิการคุรุสภา

การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..

2542 มีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาที่ มีคุณภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุ

นี้สถานศึกษาทุกแห่งจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการคุณภาพการศึกษา ดังนั้นในบทความนี้จึง

มุ่งนำเสนอแนวคิดการจัดการคุณภาพการศึกษาและระบบการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การเพื่อ

เป็นแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาต่อไปมุ่งนำเสนอแนวคิดการจัดการคุณภาพการศึกษาและระบบการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การเพื่อ

 

เป็นแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาต่อไป


คุณภาพการศึกษาคืออะไร

มีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามนิยามความหมายของคำว่าคุณภาพการศึกษาไว้ ดังเช่น

Baumgart (1987 : 81 - 85) ได้กล่าวถึงความหมายของคุณภาพการศึกษาว่าขึ้นอยู่กับมุมมองในการให้คำ

นิยาม หากเป็นมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ก็จะต้องมองว่าคือ ผลผลิตบัณฑิตที่ จบการศึกษาออกไปเป็น

ความต้องการของตลาดมากน้อยเพียงใด หากไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดก็นับว่าไม่คุ้มค่า

กับการลงทุน ซึ่งถือว่ามีคุณภาพต่ำ ส่วนมุมมองทางด้านสังคมวิทยาจะพิจารณาว่าสถาบันการศึกษาได้

ตอบสนองให้กับสังคมได้ดีเพียงใด สถาบันที่ มีชื่อเสียงจึงเป็นสถาบันที่ มีคุณภาพ สำหรับในมุมมอง

ของนักการศึกษาจะพิจารณาจากความสามารถของผู้จบการศึกษาในการแก้ปัญหา และการวิเคราะห์

วิจารณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่ มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ

Whatmough (1994 : 94 - 95) ที่ กล่าวว่า คุณภาพการศึกษาเป็นการพิจารณาคุณภาพจากทัศนะของบุคคล

2 กลุ่ม นั่นคือ ผู้มารับบริการ และนักการศึกษา หากการจัดการของสถานศึกษาสามารถทำให้ผู้มารับ

บริการเกิดความพึงพอใจ ก็หมายความว่ามีคุณภาพตามทัศนะที่ หนึ่ง นอกจากนั้นการจัดการศึกษาต้อง

สอดคล้องและเป็นไปตามหลักการ และวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาอีกด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้

จะเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจตามทัศนะของนักการศึกษา

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัด

การศึกษาของสถานศึกษาที่ ทำให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมีความเชื่อมั่นหรือพึงพอใจนั่นเอง

คุณภาพการศึกษาพิจารณาได้จากสิ่งใด

การพิจารณาคุณภาพการศึกษาสามารถพิจารณาได้ 2 แนวทาง ดังนี้

1. คุณภาพการศึกษาที่ พิจารณาจากตัวผู้เรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะอัน

พึงประสงค์ ความสามารถอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทำงาน อัตราการตกซ้ำ

ชั้นและภาวะทางโภชนาการ

2. คุณภาพการศึกษาที่ พิจารณาจากวิธีการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู การบริหารจัดการ

และปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ

 

การจัดการคุณภาพการศึกษา คืออะไร

การจัดการคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่าการจัดการและคำว่าคุณภาพ

การศึกษาดังนั้นการจัดการคุณภาพการศึกษาจึงหมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร

สถานศึกษา ครู และบุคลากรทุกคนที่ เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัด

การศึกษาซึ่งเป็นที่ เชื่อมั่นหรือเป็นที่ พึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

 

หลักการพื้นฐานและระบบการจัดการคุณภาพการศึกษา

การจัดการคุณภาพการศึกษามีพื้นฐานมาจากหลักการควบคุม (controlling) ซึ่งถือว่าเป็น

หน้าที่ หลักที่ สำคัญประการหนึ่งในทางการบริหารจัดการองค์การ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการ

จัดการคุณภาพการศึกษาเชิงระบบได้

 

วิธีการที่ สามารถนำมาใช้ในการจัดการคุณภาพการศึกษา

แนวคิดหรือวิธีการที่ สามารถนำมาใช้ในการจัดการคุณภาพการศึกษามีด้วยกันหลายประการ

ได้แก่ การรับรองวิทยฐานะ (accreditation) การใช้ระบบตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงาน (performance indicators system) การจัดอันดับคุณภาพ (rankings) การบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ (TQM) ระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 การควบคุมคุณภาพ (quality control) การตรวจสอบคุณภาพ (quality auditing) การประเมินคุณภาพ (quality assessment) และการเปรียบเทียบกับองค์การคู่แข่งขัน (benchmarking) เป็นต้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในการจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สถานศึกษาสามารถนำแนวคิดต่าง ๆ ดังที่ กล่าวมาแล้วข้างต้นไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามในที่ นี้จะขอกล่าวถึงการนำ TQM ไปประยุกต์ใช้กับการจัดการคุณภาพการศึกษาเท่านั้น

 

TQM คืออะไร

TQM คือ ระบบการบริหารจัดการองค์การที่ เน้นคุณภาพในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ กิจกรรมขององค์การ โดยบุคลากรทุกคนในองค์การให้ความร่วมมือและร่วมกันรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

 

หลักการของ TQM

ระบบ TQM ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานที่ สำคัญของ 3 ประการ คือ

1. การมุ่งความสำคัญของลูกค้า (Customer Focus) โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องระบุให้ชัดเจนว่างานแต่ละเรื่องใคร
เป็นลูกค้าหรือเป็นผู้ที่ จะต้องนำผลที่ ได้จากการทำงานของเราไปใช้และมุ่งทำให้บุคคลเหล่านั้นมีความพึงพอใจในผลงานที่ ได้รับ

2. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานอยู่เสมอ มีวิธีการแก้ปัญหาที่ เกิดจากการปฏิบัติงานโดยมีการวางแผนดำเนิน
การแก้ปัญหา ตรวจสอบผลการแก้ปัญหาและนำวิธีการแก้ปัญหาที่ ได้ผลไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติ

3. การให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม (Total Involvement) ในงานที่ เป็นภาระหน้าที่ ของหน่วยงานทุกคนต้องรับผิด

ชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานโดยรวมของทั้งหน่วยงานและขององค์การร่วมกัน

องค์ประกอบหลักของ TQM

การนำ TQM ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จต้องยึดถือองค์ประกอบหลัก 7 ประการ คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (leadership) การได้รับการศึกษาและการอบรมของบุคลากร (education and training) การจัดโครงสร้างที่ เกื้อหนุน (supportive structure) การมีช่องการติดต่อสื่อสาร (communication) ที่มีประสิทธิภาพ การพิจารณารางวัลและความชอบ (reward and recognition) การใช้กระบวนการทางสถิติ (statistical process control) หรือการวัดผลการปฏิบัติงาน (measurement) และการทำงานเป็นทีม (teamwork) จากจุดประสงค์ หลักการพื้นฐาน และองค์ประกอบของระบบ TQM

 

วงจรการปรับปรุงงานตามแนวทาง TQM

โดยทั่วไปแล้วการนำ TQM มาใช้ในการบริหารงานจะมีเหตุผลอยู่สองประการ คือ 1) ถูกผลักดันด้วย

วิกฤตการณ์ (Crisis)และ 2) ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ (Vision) ในที่ นี้หมายถึง การกำหนดจุดหมายปลายทางที่ต้องการในอนาคต และมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางด้านนั้น โดยมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

1) วิสัยทัศน์กำหนดขึ้นโดยผู้นำ (Leader Initiated) วิสัยทัศน์นั้นมิได้กำหนดโดยฝูงชนหรือกลุ่มคน แต่ถูกกำหนดโดยผู้นำ ผู้นำที่ ดีจะต้องรู้จักสนทนากับฝูงชนและรับฟังความคิดเห็นแล้วนำมาพิจารณาว่าโลกปัจจุบันเป็นเช่นไร นำข้อมูลมาผนึกเข้าเป็นวิสัยทัศน์แล้วหาวิธีการที่ จะมุ่งสู่จุดหมายปลายทางหรือวิสัยทัศน์นั้น

2) วิสัยทัศน์ของผู้นำจะต้องเสนอให้ทีมงานได้รับรู้และทีมงานจะต้องเห็นชอบว่าจะสนับสนุน (Shared and Support) เพื่อสร้างชุมชนที่ มีวิสัยทัศน์สำหรับองค์การนั้น การทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมจะเป็นการสร้างข้อตกลงตามแนวทางที่ กำหนด ซึ่งจะช่วยให้มีการตัดสินใจและร่วมแรงใจทำให้ภาพฝันเป็นจริงได้

3) วิสัยทัศน์ต้องครอบคลุมทุกเรื่องอย่างละเอียด(Comprehensive and detailed) ไม่ใช่กว้างๆ ทั่วไปซึ่งจะไม่เกิดผลใด ๆ การมีวิสัยทัศน์หมายถึงการรู้ว่าจะทำอย่างไร (How) เมื่อใด (What) และต้องมีตำแหน่งสำหรับทุกคนเพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองมีความสำคัญเพียงใดที่ จะมุ่งสู่จุดหมายปลายทางนั้น ทุกคนจะต้องรู้ดีว่าตัวเองจะร่วมสร้างคุณประโยชน์และเข้าจริง ๆ ได้อย่างไร

4) วิสัยทัศน์จะต้องสร้างสรรค์และมีแรงบัลดาลใจ ท้าทาย และมีความเป็นไปได้ (Positive  and Inspired) ทุกคนมีแรงบันดาลใจและมุ่งมั่นที่ จะทำหน้าที่ ที่ ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจเพื่อมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่กำหนดเป็นวิสัยทัศน์นั้นในการนำแนวคิด TQM มาใช้ให้ได้ผลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่น รู้จริงเลื่อมใสและศรัทธา ผู้บริหารมีความตั้งใจจริงมุ่งมั่นที่ จะดำเนินงานตามแนวคิด TQM รู้จริงเกี่ยวกับแนวคิดหลักการที่ จะนำมาใช้รวมถึงการรู้จริงในงานที่ ทำ นอกจากนั้นผู้บริหารจะต้องมีความเลื่อมใสและศรัทธาในแนวคิดและหลักการที่ จะนำมาใช้ในหน่วยงานของตนเอง

 



อุปสรรคในการนำ TQM ไปใช้ในองค์การ

อุปสรรคสำคัญในการนำแนวคิด TQM ไปใช้ในหน่วยงานมีหลายประการ ได้แก่

1. การปรับพฤติกรรมการบริหารผู้บริหารที่ เคยมุ่งให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา เปลี่ยนมาเป็นการให้ความ

สำคัญแก่ผู้รับบริการและเพื่อนร่วมงาน และการปรับเปลี่ยนจากการบริหารแบบควบคุมมาเป็นการบริหารแบบทุกคนมีส่วนร่วม

2. วัฒนธรรมองค์การ ซึ่งเป็นลักษณะของการทำงานตามระบบราชการมีกฎระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงานมาก การมุ่งผลประโยชน์ของตนเอง ของกลุ่มมากกว่าผลประโยชน์โดยรวมขององค์กร ทำให้มีการทำงานในลักษณะต่างคนต่างทำหน่วยงานต่างสังกัดขาดการประสานงานที่ ดี

3. ความไม่เข้าใจและความไม่ใฝ่รู้ของผู้บริหารบางส่วนในการนำแนวคิดทางการบริหารแบบใหม่มาพัฒนาวิธีการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ลักษณะของการบริหารจึงเป็นการบริหารแบบอาศัยประสบการณ์ หรือการทำตามกัน และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

4. ขาดการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งชนชั้นตามตำแหน่งและตามลักษณะของหน้าที่ หน่วยงาน ทำให้การทำงานร่วมกันไม่มีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังมีปัญหาความไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานของ TQM ผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์ไม่ยอมรับและไม่ศรัทธาที่ จะนำแนวคิดมาใช้ ปัญหาด้านวัฒนธรรมการทำงานของหน่วยงานที่ มีการปฏิบัติด้วยวิธีเดิมๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เกิดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารไม่สามารถโน้มน้าวบุคลากรที่ ต่อต้านให้กลับมาร่วมมือได้ เพราะ TQM เน้นการมีส่วนร่วมของ ทุกคนเป็นเรื่องของทุกคนนอกจากนี้ การมุ่งประโยชน์ระยะสั้นมุ่งหวังรางวัล ผู้บริหารไม่กระตือรือร้น ไม่มีจิตใจเปิดกว้างยอมรับความจริง ก็เป็นอุปสรรคของการประยุกต์ใช้ด้วยเช่นกัน

 

ข้อเสนอแนะในการนำ TQM ไปใช้

การที่ จะนำ TQM มาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา ถึงแม้จะมีอุปสรรคหลายประการแต่ก็มีทางเป็นไปได้ที่จะนำมา

ใช้โดยขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับการนำมาประยุกต์ใช้ มีดังนี้คือ

1. ขายความคิด (ทำความเข้าใจและเผยแพร่ความคิด)

2. สร้างความตระหนัก (ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่า)

3. เตรียมทีมงาน (ทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือและร่วมกันรับผิดชอบ)

4. ลงมือปฏิบัติ (นำแนวคิดมาปรับสู่การปฏิบัติ)

5. จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

6. ประเมินผลการปฏิบัติงาน

7. ปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม

นอกจากนี้เพื่อให้การนำTQMไปประยุกต์ใช้ กับการจัดการคุณภาพการศึกษาให้ประสบ

ความ สำเร็จผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรดำเนินการดังนี้

1. สร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องของคุณภาพ ให้กับบุคลากรทุกคนทุกระดับ

2. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติให้ชัดเจน มีนโยบายที่ เน้นเรื่องคุณภาพ

3. เปลี่ยนแนวความคิดเก่า ๆ ของทุกคนเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ

4. องค์กรต้องมีปรัชญาเรื่องของคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ มีค่าในหน่วยงาน

5. ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนและแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม

6. เน้นเรื่องการฝึกอบรม
7. เน้นการทำงานเป็นทีม
ที่มา :

                                 สมศักดิ์  ดลประสิทธิ์.  การนำแนวคิด TQM มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา. 

วารสารกองทุนสงเคราะห์การศึกษาเอกชน.  ปีที่ 7 ฉบับที่ 64 (สิงหาคม 2539) : หน้า 56-61.

 

หมายเลขบันทึก: 199959เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาทักทาย และมาอ่านค่ะ

          พึ่งกลับจากอบรม 2 วัน

                สบายดีนะคะ

                     ขอบคณสำหรับความรู้ดีๆ"""ไว้ประดับสมองค่ะ:)

เด็กๆแข่งแอโรบิก

สวัสดีค่ะ

  • มาเยี่ยมและให้กำลังใจ
  • ในวันเปิดทำงาน
  • ขอให้มีความสุขค่ะ

ยอดเยียมมากใช้เป้นแนวทางการทำการบ้านปโท

อยากได้เนื้อหา ของ TQM โดยเฉพาะ หลักการ และความสำคัญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท