องค์ประกอบการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย


องค์ประกอบการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย

 องค์ประกอบการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย

ถ้าจะพิจารณาถึงการจัดการศึกษาในลักษณะวิเคราะห์ออกเป็นตัวแบบเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าเราอาจแยกองค์ประกอบการจัดการศึกษาได้ดังนี้

ประเภทพลเมือง

ประเภทสถาบันการศึกษา

วิธีการสอนการเรียนรู้

เป้าหมาย

ทารก (0-3 ปี)

ครอบครัว

ฝึกฝน

ฝึกนิสัยช่วยตัวเอง

เด็กเล็ก (4-6 ปี)

อนุบาล

กิจกรรม>การสอน

ฝึกนิสัยการเข้าสู่สังคม

เด็ก (7-15 ปี)

ประถม - มัธยมต้น

กิจกรรม>การสอน

ฝึกฝน+ความรู้+ศรัทธา

เยาวชน (16-22 ปี)

มัธยมปลาย - อาชีวะ
วิทยาลัย มหาวิทยาลัย

กิจกรรม=การสอน

ความร ู้+ ความเข้าใจ + ศรัทธา + ร่วมแก้ปัญหา - กิจกรรมการเมือง

หลังวัยเรียน

การศึกษานอกโรงเรียน สื่อมวลชน สมาคมวิชาการ/วิชาชีพ องค์การนอกภาคราชการ สังคม/ชุมชน

กิจกรรม<การสอน

ความร ู้+ ความเข้าใจ +
รู้เท่าทันสถานการณ์ + ร่วมแก้ปัญหา - กิจกรรมการเมือง

จากตัวแบบเบื้องต้นดังกล่าว เราก็อาจแยกพิจารณาว่า พลเมืองแต่ละประเภทหรือแต่ละช่วงอายุนั้น ใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาให้ และควรจะมีเนื้อหาและวิธีการสอน (ในความหมายอย่างกว้าง) อย่างใด เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ดังจะได้แยกเสนอในลำดับต่อไป

อนึ่งขอยืนยันว่า สถานศึกษาทุกแห่งต้องจัดการปกครองและการบริหารภายในของตนตามวิถีทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เป็นตัวอย่างที่ประจักษ์ชัดแก่บุคลากรและนักเรียน มิฉะนั้นจะกลายเป็นกรณีแม่ปูสอนลูกให้เดินตรงๆ ตัวครูอาจารย์ต้องทำตัวเป็นพ่อพิมพ์ แม่พิมพ์ที่ดีทั้งด้านความรู้และความประพฤติ

เนื้อหาและวิธีการสอนเพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับประชาธิปไตยแก่พลเมืองประเภทต่างๆ

1) ระดับทารก (0-3 ปี)
1.1 ผู้รับผิดชอบ บิดามารดา พี่เลี้ยง

1.2 เนื้อหาและวิธีการ ช่วยฝึกนิสัยในการกินอยู่ หลับนอน ขับถ่าย การพูด การพัฒนา ร่างกายและสมองจิตใจ เพื่อปลูกฝังนิสัยและเข้าใจวินัยเบื้องต้นให้สามารถช่วยตัวเอง ได้ และสามารถทำตัวให้พ่อแม่ และสังคมใกล้ชิดยอมรับ เริ่มให้การฝึกฝนอบรมด้านศีลธรรม จรรยามารยาทเบื้องต้น เช่น การเคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น , การเมตตาสัตว์ - ไม่ทารุณสัตว์ , การไม่ใช้กำลังรังแกกัน

1.3 ข้อสังเกต สำหรับบทบาทของสถาบันการศึกษา คือการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กแ ก่เยาวชน และคู่สมรสที่มีบุตร

2) ระดับเด็กเล็ก (4-6 ปี)
2.1 ผู้รับผิดชอบ บิดามารดา ครอบครัว และสถานศึกษาระดับอนุบาล

2.2 เนื้อหาและวิธีการ

(1) กิจกรรมเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยที่มีระเบียบวินัย เช่น การไม่ รังแกกัน , การร่วมมือกัน - การทำงานหรือเล่นเป็นทีม , การรู้จักกติกา (เคารพ , เชื่อถือ , ปฏิบัติตาม) การแบ่งปันของกินของใช้ , การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี - การเลือกทางออก (การเล่นแบบจับฉลาก , โอน้อยออก , ทิ้งฉุบ ,จับไม้สั้นไม้ยาว , หัว-ก้อย) , เริ่มการช่วยกันตัดสินใจด้วยการประชุมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ จากประสบการณ์ว่าการทำงานร่วมกัน จะเป็นผลดีกว่าแยกกันทำ ควรฝึกการเล่น เป็นทีมมากกว่าการแข่งขันกันเฉพาะตัว

(2) การสอนในแนวศาสนาผ่านกิจกรรมกลุ่ม การไปร่วมทำบุญทำทานและประกอบพิธี กรรมทางศาสนา , หรือแบบเล่านิทาน , ภาษิตหรือชาดก (หรือเป็นรูปภาพการ์ตูน) เพื่อปลูกฝังคุณธรรมศีลธรรม เริ่มให้รู้จัก บาป - บุญ , ความเมตตากรุณา - ไม่เบียดเบียนกัน

(3) การสอนในเนื้อหาประชาธิปไตย ยังไม่ควรทำเว้นแต่จะดัดแปลงเป็นรูปการเล่น หรือกิจกรรมโดยเฉพาะที่เน้นการเคารพในสิทธิในชีวิตทรัพย์สิน ความเป็นส่วนตัว การเปิดให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นโดยอิสระ อันเป็นฐานสำคัญของวิถีชีวิต ประชาธิปไตย ไม่ห้ามหรือดุเมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นในวงสนทนาของผู้ใหญ่

2.3 ข้อสังเกต

(1) เด็กเล็กในวัยนี้เป็นระยะที่เริ่มสั่งสมความเชื่อและพฤติกรรมทางด้านศาสนาแล้ว ถ้าปลูกฝังในลัทธิศาสนาใดก็จะติดแน่นกับศาสนานั้นตลอดไป

(2) การพัฒนาสมอง (มันสมอง) จะมาถึงขีดสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ

(3) กิจกรรมนอกหลักสูตร นอกสถานศึกษา เริ่มมีความสำคัญแก่เด็ก เช่นการ ท่องเที่ยว ทัศนศึกษา

3) ระดับเด็ก (7-15 ปี)
3.1 ผู้รับผิดชอบ ครอบครัวและสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

3.2 เนื้อหาและวิธีการ ตอนต้น

(1) กิจกรรมเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในวิถีประชาธิปไตยที่มีระเบียบวินัย ควรทำมากขึ้น กว่าระดับเด็กเล็กโดยเฉพาะการทำงานร่วมกัน โดยยอมรับความคิดเห็นของคน ข้างมาก โดยไม่ลิดรอนสิทธิของคนข้างน้อย , การเคารพในกติกา , การสร้างความ เข้าใจสิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กัน , การฝึกฝนให้รู้จักอดทนต่อความเหนื่อยยาก ตามสมควรแก่วัย

(2) การอบรมสั่งสอนทางศาสนา เริ่มสอนในหลักการของทางศาสนา , ประวัติของ ศาสดา , การปฏิบัติตามหลักศาสนาในระดับเบญจศีล เบญจธรรม , มีการเข้าร่วม ในพิธีกรรมของศาสนาอย่างเข้มแข็ง , มีการเน้นการสอนในระดับ ทาน ศีล ภาวนา

(3) การอบรมสั่งสอนทางหลักประชาธิปไตย เริ่มสอนในหลักการปกครองประเทศทั่วไป

หลักสำคัญของรัฐธรรมนูญ หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย การได้รับสิทธิและเสียสิทธิต่างๆ การรู้เรื่องหน้าที่ของพลเมือง การฝึกหัดปกครองตนเอง เช่นการเลือกตั้งองค์การนักเรียน การเป็นกรรมการในชุดต่างๆ การทำงานร่วมกันในระบบสหกรณ์ รู้วิธีการประชุมที่ถูกต้อง การเล่นกีฬาเป็นทีมที่ฝึกให้เคารพกติกาโดยเคร่งครัดมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ในขณะเดียวกันก็ควรเริ่มส่งเสริมความคิดริเริ่มซึ่งเป็นการสร้างทัศนคติแบบปัจเจกชนนิยม ซึ่งเป็นฐานสำคัญของลัทธิเสรีประชาธิปไตย โดยดึงมาจากประสบการณ์

3.3 ข้อสังเกต

(1) เด็กชั้นประถมศึกษา และชั้นมัธยมต้น จะมีความแตกต่างกันในทางความสนใจ ในการเรียนรู้ ฉะนั้นต้องปรับเนื้อหาและวิธีเรียนวิธีสอนให้เหมาะสม

(2) ถ้าเป็นโรงเรียนประจำ ภารกิจของผู้บริหารผู้ปกครองจะมีมากขึ้นในด้านการใช้ เวลาให้เป็นประโยชน์ ควรเน้นการฝึกฝนระเบียบวินัย , การให้ทำงานหนักเพื่อฝึก ความอดทน , การฝึกทักษะการประกอบอาชีพทางการเกษตร อุตสาหกรรม

(3) เด็กบางคนจะยุติการเรียนในชั้น ป. 6 และ ม. 3 ฉะนั้นควรสอนเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ และหน้าที่ของพลเมืองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้ง และ การจัดการปกครองท้องถิ่น และระดับชาติ ทั้งนี้อาจจัดสอนในภาคสุดท้ายหรือ หลังสอบไล่ภาคสุดท้าย เป็นการเตรียมเด็กกลับเข้าสู่สังคมภายนอก

4) ระดับเยาวชน (16-22 ปี)
4.1 ผู้รับผิดชอบ
(1) ครอบครัว
(2) สถานศึกษาระดับมัธยมปลาย , อาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัย

4.2 เนื้อหาและวิธีการ

(1) การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตประชาธิปไตย จะมีได้มากขึ้นทั้งในด้านการเรียนการสอน และด้านกิจกรรม เพราะเยาวชนมีเวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น , มีเนื้อหาหลักวิชามาก ขึ้น , ในด้านกิจกรรม เยาวชนควรได้รับการปลูกฝังให้มีศรัทธาในสังคม ประชาธิปไตยผ่านกระบวนการทางการเมือง เช่น การร่วมกิจกรรมพรรคการเมือง องค์การนักเรียน , องค์การการเมือง , องค์การภาคนอกราชการ , องค์การอาสา สมัครเพื่อสังคม และการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยตรง เพราะเยาวชนอายุ 18 ปีขึ้นไป มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ อนึ่งคนไทยต้องฝึกนิสัยยอมรับฟังความคิด เห็น คำวิจารณ์ของผู้อื่น โดยไม่คิดว่าเป็นการโจมตีส่วนบุคคล หรือดึงให้มาเป็น เรื่องส่วนตัวจนต้องเป็นศัตรูกัน ในกิจกรรมด้านกีฬาเยาวชนอาจเล่นกีฬาหนักๆ ได้ เช่น ฟุตบอล รักบี้ บาสเกตบอต ซึ่งจะทำให้เข้าใจเรื่องกฎกติกา และความจำ เป็นที่ต้องทำโทษที่รุนแรง อนึ่งปรากฏว่ากีฬาที่เล่นเป็นทีมและสัมผัสร่างกายกัน มาก เช่น รักบี้ จะทำให้มีน้ำใจนักกีฬามากขึ้น มีความผูกพันฉันท์เพื่อน แน่นแฟ้นแม้กับผู้เล่นของทีมผู้แข่งขัน

(2) การเรียนรู้ระบบสังคมประชาธิปไตย ผ่านการฝึกฝนอบรมให้รู้จักมีระเบียบวินัย และเสียสละ อาจด้วยวิธีฝึกฝนแบบลูกเสือ ยุวนารี ฝึกวิชาทหาร ฝึกวิชาเกษตร อุตสาหกรรม เพราะสังคมประชาธิปไตยยึดหลักการปกครองโดยกฎหมาย (เนติธรรม) , หลักพลเมืองมีทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบ, และพลเมืองดีต้องมี ร่างกายแข็งแรงพอป้องกันตัวเองและสังคม การฝึกเหล่านี้ต้องฝึกทั้งความอดทน เข้มแข็ง และความรู้ ความเข้าใจและความศรัทธาต่อการรักษาวินัย การฝึกวินัย และเสียสละ อาจฝึกผ่านวิชาป้องกันสาธาณณภัย , การป้องกันป่าไม้และ ทรัพยากรของชาติ , การระดมกันปลูกป่า เป็นต้น

(3) การเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยโดยผ่านศาสนา ศาสนาบางศาสนามีความสอดคล้อง กับประชาธิปไตยมาก เช่นศาสนาพุทธ ซึ่งเน้นการอยู่ร่วมกันตัดสินปัญหาต่างๆ ร่วมกันตามหลัก อัปริยหานิยธรรม การศึกษาทางศาสนาก็ควรมีความเข้มข้นขึ้น จาก ทาน - ศีล -ภาวนา มาสู่ระดับ ศีล - สมาธิ - ปัญญา ซึ่งในหลายส่วนจะ ส่งเสริมให้เคารพสิทธิในชีวิตทรัพย์สินการแสวงหาความสุขจนถึงขั้นสูงสุด (นิพพาน)

(4) การเรียนรู้หลักประชาธิปไตย อาจแบ่งเป็น 2 สาย คือ

(ก) นักศึกษามัธยมตอนปลาย - อาชีวศึกษา - อุดมศึกษาสายวิทยาศาสตร์ ควรจะ มีจุดเน้นให้มีความรู้ถึงการเป็นพลเมืองดีของสังคมประชาธิปไตย เป็นผู้ ประกอบสัมมาอาชีวะ ดังนั้นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับหลักประชาธิปไตย หลัก รัฐธรรมนูญการจัดการปกครองประเทศ มีความรู้ทางกฎหมาย เพื่อใช้สิทธิ ต่างๆ ได้โดยสมบูรณ์สามารถเรียกร้องบริการจากสังคม , การคุ้มครองปกป้อง รักษาสิทธิของตนเองและของประชาชน , การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิด , การที่มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง พร้อมต่อสู้กับ ฝ่ายนิยมเผด็จการ , ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมต่างๆ , ต้องเข้าใจในหลัก ประชาธิปไตยจนมีศรัทธาแน่นแฟ้น

(ข) นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในสายสังคมศาสตร์ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องประชาธิปไตยอย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าพวกแรก รู้เท่าทันสถานการณ์ การเมืองในประเทศ และต่างประเทศ เห็นความจำเป็นและประโยชน์ของการ เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง โดยสมัครเข้ารับเลือกตั้ง หรือ ตำแหน่งอื่นหรือช่วยสนับสนุนผู้สมัคร เข้าร่วมในกระบวนการแก้ปัญหาของ ประเทศในระดับเป็นแกนนำของขบวนการต่างๆ ได้

5) การศึกษาหลังวัยเรียน
5.1 ผู้รับผิดชอบ

(1) ผู้ที่ผ่านพ้นวัยเรียนตามรูปแบบทางการแล้ว ซึ่งอาจจบจาก ป.6 หรือ ม. 3 จนถึง ผู้จบจากระดับอุดมศึกษา จะต้องรับผิดชอบหาความรู้ใส่ตัวเอง
(2) สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
(3) สถาบันและการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
(4) สื่อมวลชน
(5) สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ
(6) องค์การภาคนอกราชการ
(7) สังคม และชุมชน ตามสภาวะแวดล้อม

5.2 เนื้อหาและวิธีการ

               (ก) ในระบอบประชาธิปไตยทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ จึงต้องมีทั้งสิทธิและหน้าที่ มีทั้งประโยชน์ และความรับผิดชอบต่อรัฐและเอกชน จึงต้องเข้าไปมีส่วนเสียง ในกระบวนการทางการเมืองทุกอย่างทุกขั้นตอน

(ข) ในระบอบนี้ประชาชนต้องร่วมรับผิดชอบในการจัดการปกครองบ้านเมืองตั้งแต่ ชุมชนเล็กถึงชุมชนใหญ่ มีหน้าที่ต้องสมัครหรือเลือกผู้สมัครที่มีคุณภาพเข้าสู่ ตำแหน่งต่างๆ การที่รัฐบาลระดับต่างๆ ไม่ดี ก็เพราะประชาชนไปเลือกคน ไม่ดีมาสู่ตำแหน่ง และละเลยไม่ควบคุมตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้อง

(ค) ในระบอบนี้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ มาก จะต้องเรียนรู้จักใช้สิทธิหรือ รักษาสิทธิของตนเองและผู้อื่น จึงควรรู้จักรัฐธรรมนูญเป็นอย่างดี

(ง) ประชาธิปไตยสมัยใหม่เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่แบบมีผู้แทนที่ รับมอบอำนาจสิทธิ์ขาดไปอย่างในสมัยก่อน ประชาชนจึงต้องเข้าร่วมทุกขั้น ตอน รวมทั้งเสนอกฎหมาย เลือกบุคคล ถอดถอนบุคคล และการรวมตัวกัน เป็นหมู่คณะ พรรค เพื่อเสนอแนะหรือต่อสู่เพื่อสิ่งที่เห็นว่าถูกต้อง ชอบธรรม และคัดค้านต่อสู้ความไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรมต่างๆ

(จ) สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ และองค์การอาสาสมัครต่างๆ น่าจะให้ ความคิดเห็นที่ถูกต้องต่อหลักวิชาการต่อประชาชนอย่างเที่ยงธรรม ความคิด เห็นประเภทนี้ จะเป็นตัวสร้างความสมดุลแก่ความคิดเห็นที่มาจากกลุ่มชนที่ มักใช้อารมณ์หรือตามกระแส จึงจะทำให้คุณภาพของการตัดสินใจของชาติ ดีขึ้น

(ฉ) สร้างความเข้าใจว่าประชาธิปไตย คือ วิถีชีวิตยิ่งกว่าทฤษฎีการเมือง ต้องขจัดวิถีชีวิตแบบศักดินา - อัตตนิยมทุกรูปแบบ และพยายามสร้างสถาบัน และวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวางไม่ใช้วัฒนธรรม นิยมบุคคล

ที่มา : http://www.onec.go.th/Act/democ/5a.htm

 

หมายเลขบันทึก: 199858เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท