ตอนที่ 2 ผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน


ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนและรายงานการศึกษาค้นคว้า

เรามาเตรียมนำเสนอด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

      1) รวบรวม  วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในระดับชั้นที่สอน  ทุกหน่วยงาน ได้แก่  ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา (มาตรฐานที่ 5)  ผลการประเมินคุณภาพภายนอก (มาตรฐานที่ 5) ผลการสอบระดับชาติ (O-Net, A-net, NT) ทั้งระดับชั้นเรียน  และรายบุคคล  อย่างน้อย  2 ปีการศึกษา

         อย่าลืม  วิเคราะห์  เปรียบเทียบ  และพยายามจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โดยการใช้สื่อเสริม  ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการทดลองโดยฝึกออกแบบการทดลองด้วยตนเอง  และใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  รวมทั้งใช้ การวัดและประเมินผลวิทยาศาสตร์แนวใหม่ .............ในครั้งต่อไป...........ครูวิทยาศาสตร์จะได้เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการวัดผลที่ไม่เน้นความรู้ความจำ...............อีกต่อไป

        2) จัดทำรายงานการศึกษาค้นคว้า  หรือ  รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  และนำผลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน/ผู้เรียนแล้ว  อย่างน้อย  1  ชิ้น  (ไม่ควรทำเกิน 1 ชิ้น เพราะคะแนนที่ได้จะนำไปรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย)

         3) ผลงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ไม่ต้องมีก็ได้นะคะ

ตัวอย่าง : ผลงานทางวิชาการที่เป็นการศึกษาค้นคว้า  หรือวิจัยที่ครูวิทยาศาสตร์ควรนำไปใช้

               ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น  และรายงานผลการใช้

               จากประสบการณ์การเป็นผู้ประเมินครูวิทยาศาสตร์ / ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

               1. ชุดฝึก / แบบฝึก กิจกรรมเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  หรือคิดสังเคราะห์  หรือคิดวิจารณญาณ  หรือคิดแก้ปัญหา  ระดับชั้นละประมาณ 7 - 9 ชุด/เล่ม  (อย่าลืม เลข 9 นำโชค) เลือกทักษะกระบวนการคิดเพียงอย่างเดียว  (ทำให้ลึก)  การทำชุดฝึกเป็นการให้ความรู้  หรือสถานการณ์  หรือภาพสวย ๆ ประกอบ แล้วตั้งคำถามให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบ  พร้อมทั้งฝึกให้เขียนตอบโดยใช้เหตุผลประกอบ  ใช้รูปการ์ตูนที่มีสีสรรน่าอ่านเหมาะสมตามวัย

               2. แบบทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน  หรือแบบทดสอบหลังเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด  เป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดที่เราเลือกพัฒนา  การสร้างแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์.................โปรดติดตาม..........

               3. คู่มือชุดฝึก / แบบฝึก  และแผนการเรียนรู้ประกอบการใช้นวัตกรรมชุดฝึก / แบบฝึก ทั้ง 9 เล่มที่เราทำขึ้น อย่างน้อยน่าจะ  ประมาณ 20 ชั่วโมงขึ้นไป  เพื่อให้เกิดผลกับผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้

                4. รายงานผลการใช้ชุดฝึก / แบบฝึก อาจใช้รูปแบบรายงานการวิจัย 5 บท    คล้าย ๆ กับวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา  ระดับปริญญาโท มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ไม่ซับซ้อน  ถ้าท่านเรียนจบระดับปริญญาตรี  แต่ถ้าท่านเรียนจบระดับปริญญาโท  ก็ต้องแสดงความสามารถหน่อยล่ะค่ะ.................ถ้าเป็นระดัยชำนาญการพิเศษ.........อย่าลืม..........ภาคผนวกนอกจากจะระบุ...........รายนามผู้เชี่ยวชาญ,  แบบทดสอบพร้อมเฉลย,  ตัวอย่างนวัตกรรมเพียง  1  ชุด , Print out การวิเคราะห์ข้อมูลจากคอมพิเวเตอร์  การหาประสิทธิภาพของชุดฝึก / แบบฝึก, การหาคุณภาพของแบบทดสอบ .............สิ่งที่จะลืมไม่ได้เด็ดขาด.......ท้ายสุดของรายงาน  ควรนำเสนอผลงานผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้จาก ชุดฝึก / แบบฝึก............

          "การสร้างชุดฝึก / แบบฝึก  บางสถานการณ์อาจจัดทำเป็นสื่อเทคโนโลยี  เช่น CD การฝึกทักษะกระบวนการคิดระดับสูงด้วยตนเองประกอบบ้างพื่อเพิ่มความน่าสนใจ  นอกจากเรียนรู้จากเอกสารแต่เพียงอย่างเดียว...............

               ...........ขอให้ครูวิทยาศาสตร์มีกำลังใจ  มุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน  ตามสภาพปัญหาในการเรียนรู้......... โดยใช้สื่อ/นวัตกรรมที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง  และปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ.........นำไปทดลองใช้  หาคุณภาพ  ปรับปรุง.........แล้วนำไปใช้จริง  สามารถแก้ปัญหาผู้เรียนได้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น............ผลพลอยได้  คือ  ครูชำนาญการพิเศษวิทยาศาสตร์  ที่สง่างาม

               โชคดีนะคะ...........ฉบับหน้าเราจะพบกับ " การวัดและประเมินผลวิทยาศาสตร์แนวใหม่.............เพื่อพัฒนาผู้เรียน..............

          

 

หมายเลขบันทึก: 199225เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน อาจารย์นราวัลย์ กาญจนะประโชติ

ผมสงสัยครับว่า แบบฝึก กับ ชุกฝึก ต่างกันอย่างไรครับ

ขอบคุณมาก ๆ สำหรับข้อความที่อ่าน วิชาวิทย์เป็นวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ และพัฒนาได้ยาก ครูวิทย์น่าจะจับกลุ่มแลกเปลี่ยนนวัตกรรมกัน

...จริงๆ ..คะแนนมาตรฐาน จาก NT สำคัญต่อการยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์มาก ๆ ในฐานะการเป็นครูที่พัฒนาให้เด็กที่มีความสามารถพิเศษ ใช้คะแนนนี้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณามานานมาก...แม้ไม่สามารถทำให้ตนเองประสบความสำเร็จในการเป็นครูชำนาญการพิเศษใน 3 รุ่นที่ผ่านมา เนื่องจากมีความคิดว่า ครู..ขู่...กรรมการ หรือผลสัมฤทธิ์จากงานที่ส่งไม่มีมาตรฐาน

......แอบภูมิใจลึกๆ กับเกณฑ์ใหม่ที่เฟ้นคน..และเฟ้นครู.....

เป็นประโยชน์มากๆ เพราะสามารถนำไป apply กับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่สอนได้...แม้จะช้า แต่ sure และหยิ่ง ในความรู้และวิทยายุทธที่ได้ฝึกปรือมา

พัชรา จันทรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท