OUTCOME MAPPING Part VIII: HOW TO KNOW I_AM_IN_LOVE?


How to know I-am-in-Love?

หนึ่งในบรรดากิจกรรมที่ผมชอบมากที่สุดของ workshop นี้เห็นจะเป็นอันนี้แหละครับ "บันไดแห่งรัก (ladder of love)" (ผมตั้งชื่อให้เอง ฉะนั้นเจ้าของโปรแกรมหยุดทำหน้างงได้แล้วครับ ไม่ต้องเถียงด้วยว่าไม่มีรายการนี้สักกะหน่อย) คุณอ้อ สาวกะทัดรัดกระบวนกรจาก สคส.เป็นคนนำพา มิใยที่เธอยืนยัน (จริงๆนั่งยัน) ว่าไม่เค้ยไม่เคยมีประสบการณ์ (จะมาหาตังหาก.. อ้าว!)

 

ขออภัยที่มีแต่รูปสาวๆครับ ผมไม่มีรูปหนุ่มๆใน collection เลย (จริงๆ สาบาน!)

โจทย์ง่ายๆเลยครับ participants แบ่งเป็นสองกลุ่มตามเพศ (ชายกับหญิงครับ โธ่ อย่าคิดมากสิ) แล้วก็ถามคำถามง่ายๆสามข้อ ข้อนึงให้แต่ละกลุ่มใช้เวลาหนึ่งนาทีช่วยกันคิดและเขียนลงบนกระดาน flip chart

  1. รู้ได้อย่างไรว่า เธอ/เขา สนใจเราเข้าให้แล้ว
  2. รู้ได้อย่างไรว่า เธอ/เขา ชอบเราเข้าให้แล้ว
  3. รู้ได้อย่างไรว่า เธอ/เขา รักเราเข้าให้แล้ว

 ปรากฏว่า นับตามจำนวนและภายใต้เวลาที่จำกัด ทีมชายนำลิ่วหมด ซึ่งเป็นไปตามที่คาด เพราะการ list พฤติกรรมออกมาเป็นท่อนๆ จับต้องได้นั้น ผมว่ามันค่อนไปทางสมองซีกซ้ายเยอะ ผู้ชายซึ่ง (พอจะอนุมาน แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม) จะมีด้านซีกขวาน้อยกว่าผู้หญิง (หมายถึงใช้น้อยกว่านะครับ) จะทำอะไรอย่างนี้ได้ดี ส่วนผู้หญิงนั้น มีอารมณ์ มีความอ่อนไหว และสมองซีกขวาใช้เยอะกว่าผู้ชาย เธอจะไม่ใคร่แจกแจง แต่ "รู้ลึกๆ" ในความสังเกตสังกา ชนิดไม่เปิดเผยเป็น criteria เสียมากกว่า พอให้มานั่ง list ก็เลย list ไม่ค่อยออก

นอกจากนี้ภายในกลุ่มก็จะพอมองเห็น variants ที่เกิดจากวัย (และบางครั้ง "ยุค"!!) อย่างชัดเจน อาทิ ข้อ "สนใจ" นั้น มีตั้งแต่ทำผ้าเช็ดหน้าหล่นให้เก็บ (สงสัยจะยุคพ่อผมอีก เพราะสมัยผม เขาก็เลิกใช้มุขนี้กันแล้ว) มาจนถึงส่ง SMS (บางท่านถาม อะไรถึงขนาดขอ SOS เชียวเหรอ... นี่ก็ age-gap เหมือนกัน) ส่ง email หรือ chat และ HI5 เลยทีเดียว ข้อ "ชอบ" นั้นก็เหมือนกัน มีแบบ "แอบเปิด diary ดู" อืม.... เดี๋ยวนี้ diary มันอยู่ใน outlook หรือ pda แล้วนา..พี่ (น่าจะเป็นลุง หรือป้า มากกว่า) และเราก็เห็น "อิทธิพลของวัฒนธรรม" ทีทำให้กิจกรรม พฤติกรรมบางอย่าง ค่อนข้าง universal คือ เห็นด้วยทุกวัย ทุกเพศว่า "มันเอาแน่ เอ๊ย! ขอโทษ ใช่แน่ๆ" อาทิ พาตัวไปหาพ่อแม่ (ไม่ใช่พาไปขอขมาพร้อมหลานนะครับ) หรือ ถ้าเมื่อไรพาไปออกงานครอบครัวของฝ่ายตรงข้ามนี้ก็ค่อนข้าง official เหมือนกัน (เป็นอุทธาหรณ์สำหรับบางคนที่ยังไมใช่ แต่อาจจะไม่รู้ประเพณีตกปากรัับคำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อันนี้ ก็ต้องพยายามดูตาม้าตาเรือ อย่าไร้เดียงสามากเกินไป บ้านพี่สะใภ้ผมเป็นชาวฝั่งธนบุรีเล่าว่า งานบางงานนี้สำคัญทีเดียว เช่นงานบวช ที่จะมีการแห่นาค เพื่อนสาวคนไหนที่กุลีกุจอมากเกินไป เดินหลงไปช่วยขนของให้พ่อนาค แล้วดันอาสาอุ้มหมอนให้ล่ะก็ รับรองจะถูก "ลงทะเบียน" ว่า นี่ไงๆ ว่าที่จ้ะ ว่าที่ (ลูกสะใภ้)

สำหรับข้อบ่งชี้ว่า "รัก" ก็มีหลายดีกรี (และหลาย rate ด้วย rate adult-only ก็มี ไม่อยากบอกว่าใครเป็นคนเสนอ ฮึ ฮึ ฮึ) อารมณ์ความรู้สึกหลายอย่าง ถ้าเรา "ไม่ใช่" ก็ไม่ควรจะแสดงออกไป เช่น หึงหวง หรือการแอบเปิดโทรศัพท์เช็ค voice message พวกนี้ เขา preserve เอาไว้ให้พวก "ใช่แน่"

หลายๆ criteria กลายเป็นประเด็น controversy เพราะความต่างยุค ต่างสมัย ยุคนึงได้เบอร์โทรศัพท์มาก็โอ้ โฮ ตื่นเต้นเร้าใจสุดๆแล้ว เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่เห็นด้วย เพราะขนาดยังไม่รู้จักชื่อ มันก็แลกเปลี่ยนรุปร่างหน้าตาอวัยวะทาง camfrog กันเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นเอาอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสิน ถ้ามาจากคนละบ้าน คนละวัย คนละ concept อันนี้ก็จะ miss leading ได้โดยง่าย

เอ้า! แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ OM ด้วยเล่า? อ้อ ลืมบอกไปครับ หัวข้อนี้คือบทนำของ Progress Markers นั่นเอง

เป้าหมายรายทาง (Progress Markers) 

  • Expect to see: เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะต้องได้ เกิดขึ้นไม่ยาก หรือค่อนข้างง่าย
  • Like to see: เป็นสิ่งที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้นได้ อยากจะให้เกิด แม้จะไม่ง่ายเท่าไร
  • Love to see: เป็นสิ่งที่ถ้าเกิดก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ ปราถนามากที่สุด เป็นการเปลี่ยนผ่านขั้นสูง

 

ครับ ก็ตรงไปตรงมาครับ ถ้าเริ่มซื้อขนมไปฝาก รอรับกลับบ้าน เราก็เริ่มเดาได้กลายๆว่าชักยังไงๆ (ในที่นี้คือหมายถึงมาสนฉันเข้าให้แล้ว) ถ้าเริ่มโทรมาหาวันละ 20 ครั้ง SMS วันละ 40 ครั้ง จากสนก็คงจะเป็นชอบ ในดีกรีสุดท้ายคือรักนั้นก็แทบจะได้ยินระฆังแต่งงาน (ธรรมเนียมฝรั่งน่ะครับ ของไทยบางคู่อาจจะได้ยินเสียงตะโพน กลองยาวแทน อย่าได้ยินเสียงปี่พาทย์มอญก็แล้วกัน)

ตามธรรมเนียมเขียน OM นอกเหนือจากเราวาง outcome challenges ไปแล้ว เพื่อเป็นกำลังใจ และนำมาช่วยเสริมการ monitor ก็อาจจะวาง mile stones ในลักษณะแบบนี้เหมือนกัน และในหลักการเดียวกัน ไม่ควร หรือให้หลีกเลี่ยงการเขียนออกมาเป็นกิจกรรมเพื่อใช้เป็น milestones ควรจะออกมาเป็นพฤติกรรม ความสัมพันธ์ หรือศักยภาพเช่นเดิม

จากแบบฝึกหัดภาคปฏิบัติ เราจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลง status ของคนนั้นมันซับซ้อน คงไม่มีใครสรุปอย่างมั่นใจว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนที่ส่ง SMS มาหาเราแปลว่าเขาน่าจะสนเรา 100% เพราะเขาอาจจะไม่คิดอะไรเลยก็ได้ หรือปรากฏว่าเขาส่ง SMS ไปให้ทุกคนที่เคยเจอหน้าก็ยังได้ ดังนั้นหลัก milestones นี้ ควรจะมีหลายข้อหน่อย และเผลอๆโครงการของเราอาจจะมี milestone ใหม่ๆ ที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อนแต่ก็สามารถใช้บอก progress ได้ดีไม่แพ้กัน เช่น เราเขียนไว้ว่าถ้าเธอชอบฉัน น่าจะซื้อดอกไม้มาให้ ปรากฏว่า วันนึงมีคนส่ง electronic cards มาทาง internet แทน เขียนกลอนมาด้วยวะหวานจ๋อยเย็นเจี๊ยบเสียวสันหลัง ก็เป็น landmark ได้เหมือนกัน หรือบางคนตั้งหน้าตั้งตารอแต่กุหลาบกับชอคโกแลตวันวาเลนไทน์ ปรากฏว่าเดือนกุมภาพันธ์มาถึง ได้ดอกบัวกับ card ชวนไปเวียนเทียนวันมาฆบูชาแทน ซึ่งก็อาจจะเป็น criteria ใน levels เดียวกันเลยก็ยังได้

เวลาประเมินว่า "เกิดอะไรขึ้น" ในโครงการเชิงสังคมศาสตร์แบบนี้ คนทำอาจจะต้องเปิดสฬายตนะเต็มที่ ถึงแม้จะมี progress markers เอาไว้ในใจ หรือเขียนไว้เรียบร้อยแล้ว แต่อาจจะเกิด evolution ใหม่ๆขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ ที่เราอาจจะนับเป็น progress markers อีกแบบหนึ่งแทน ไม่มีใครสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ 100%

 

ถ้าไปมัวเถรตรงว่า ฉัันจะนับว่ารักต่อเมื่อได้กุหลาบสีแดง 12 ดอกติดต่อกัน 7 วัน สองเดือนล่ะก็ อาจจะชวดแต่งงานไปตลอดชีวิต เพราะเผอิญกุหลาบขาดตลาดตอนนั้นพอดี progress markers จะเป็นเครื่องมือที่น่าตื่นเต้น น่าสนใจ ถ้าตอนเราทำ (และยิ่งถ้าเป็น intervention ทาง social sciences ใหม่ๆด้วย) ให้คอยสังเกตว่ามี shift อะไรที่เกิดขึ้นมานอกเหนือจากที่เราได้ expect, ได้หวัง, และอยากๆๆๆเห็นแล้ว เราอาจจะเป็นคนเขียนตำรา "สัญญานแห่งรัก" version ใหม่เอี่ยมก็ยังได้

 

หมายเลขบันทึก: 199075เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • โห คุณหมอ
  • เล่นมากิจกรรมนี้เลยหรือครับ
  • ขอยืมรูปสาวๆๆไปใช้นะครับ
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ขอยืมไปใช้ด้วยค่ะ บันไดสู่รัก อิอิ

มากันไวจัง ยังเขียนไม่เสร็จที

คุณขจิตคิดอะไรอยู่เหรอครับ ถึงบอกว่า "เล่นมากิจกรรมนี้เลยหรือ" อิ อิ

คุณพอลล่า

ตามสบายเลยครับ จะเอาไปใช้เป็นบันได เป็นลิฟท์ บันไดเลื่อน ได้ทั้งสิ้่น (ไม่ใช่ของผมอยู่แล้ว ฮ่ะ ฮ่ะ)

โอ้โห ผมอึ้งจริงๆนะครับเนี่ย

อินโนเวทีพหลายๆครับ

โอ้โฮ ตั้งใจอ่านมากเลยค่ะ อ่านช้าๆอย่างละเมียดด้วยนะ

สนุกๆ ชอบค่ะ ชอบมาก

เห็นด้วยครับ

กับ Unexpect to happen ที่มันผุดโผล่ตามปัจจุบันขณะ เมื่อ โครงการขับเคลื่อนออกไป ---> เมื่อมันเกิด น่าจะบันทึก เอาไว้ ทั้งรูปธรรม และ นามธรรม ที่ปรากฏในจิตใจ ในกาย ของเรา

จด sensing ที่เกิดขึ้น และ จดกระบวนทัศน์ที่ใช้ จะไช้ อยากใช้

การเอาอดีต มาพิจารณา หรือเปล่า หรือ ว่า เอาอนาคตที่ปรากฏในช่วงปัจจุบัน

การบันทึก OC map นี่ ถ้า ได้ หลายๆ partner และ unrelevant partner มาร่วม ระดม dialogue หรือ ด้นสด (improvise) ก็น่าจะดีนะครับ

อ.วรภัทร์ครับ

ขอบคุณครับ

ในตัวอย่างแบบฟอร์ม (ที่ที่สุดแล้ว แต่ละโครงการ แต่ละแผน ก็คงต้องนำไปปรับเอง) M&E ของ สคส. ก็มีช่องที่ว่านี้เลยครับ "unexpected events" ที่อาจจะเป็นได้ทั้ง "ดอกไม้วันมาฆบูชา" (แทนที่จะเป็นกุหลาบวาเลนไทน์) หรือ "หนามตำมือ" (แทนที่จะโรแมนติก) ในการประเมิน monitoring & evaluation ของ OM นั้น จะต้อง keep awareness สูงมาก ไม่ได้มองแต่ Progress markers ที่เขียนไว้ แต่ต้อง sensing ให้ได้ว่า "คน" กำลังเป็นเช่นไร เพราะ OM นั้น ไม่ไดเน้นกิจกรรม ไม่ได้เน้น materials แต่เน้นที่ คน ศักยภาพ พฤติกรรม และความสัมพันธ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท