ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

AAR-1 UKM13 "การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์" : รู้สึกมั่นใจและสร้างแรงบัลดาลใจ


คุ้มค่ากับการได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างกัลยาณมิตรการพัฒนางานสู่งานประจำ แบบ "มองตาก็รู้ใจ"

ตามที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการลงนามจัดทำบันทึกข้อตกลงเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันในเครือข่าย จำนวน 8 สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความความรู้ในมหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ในหัวข้อต่างๆ ที่สมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) สถาบันกำหนดขึ้น โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการเสวนาฯ เป็นประจำทุกปี

สำหรับการจัดเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพ โดยกำหนดหัวข้อการเสวนาคือ “การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Utilization of Research Work)” ในวันศุกร์ที่ 1 – วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2551 ณ โรงแรมมาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้มีการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้สามารถนำไปใช้ในการผลิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อความสามารถในการพึ่งตนเองและการแข่งขันในระดับนานาชาติ  เพื่อเป็นการกระตุ้น สนับสนุนให้พนักงานมีการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) และพัฒนางานวิจัยสู่งานประจำ (Research to Routine) บรรลุผลตามที่กำหนดไว้ มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนให้ผู้บริหารและพนักงาน จำนวน 14 ท่าน เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว รายชื่อดังนี้

1 ดร.กีร์รัตน์  สงวนไทร  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา (CKO)
2 ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ  หนิสอ  อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์
    เป็นนักวิจัยด้านพลาม่าฟิสิกส์  
3 ดร.จิตบรรจง ตั้งปอง  อาจารย์ประจำสำนักสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
4 นางสาวสุดธิดา  สังข์พุ่ม  อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์
5 นายนิรันดร์  จินดานาค  ห้วหน้าหน่วยพัฒนาองค์กร
6 นางสาวยุพเรศน์  พัลพัฒน์  นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
7 นางกาญจุรีย์  ว่องไวรัตนกุล  นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
8 นายนำชัย  แซ่หลี   ศูนย์บริการการศึกษา
9 นายโองการ กุลสมบัติ  ศูนย์บริการการศึกษา
10 นางไพจิตรา  สุวรรณ  ศูนย์บริการการศึกษา
11 นางสาวสุวิมล  จันทร์แท่น  สถาบันวิจัยและพัฒนา
12 นางอัมพร  เสนาคำ  ส่วนกิจการนักศึกษา
13 นายชาญชัย  ตันติวัฒโนดม  ส่วนแผนงาน
14 นางสาวปิติกานต์  จันทร์แย้ม หน่วยพัฒนาองค์กร

 

ภายหลังการเข้าร่วม ในวันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2551 พวกเราได้ร่วมทบทวนบทเรียน (AAR) การเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ทันที ที่ Lobby ของโรงแรม ใช้เวลา 13.00-14.30 น.มีดังนี้

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าร่วมเสวนาฯ ครั้งนี้
• ดีใจที่ได้เข้าร่วม / ดีใจที่ได้มาเล่าประสบการณ์
• เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนพนักงานของมหาวิทยาลัยที่เดินทางร่วมกิจกรรมเองและได้รู้จักเพื่อนใหม่ต่างสถาบัน เช่น ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนจาก มอ. มข. และ มมส. ทำให้สามารถสร้างเครือข่ายการทำงานในอนาคต
• ได้ฟังคนที่คิดเหมือนและคิดมากกว่าเรา ได้เจอ พูดคุยกับคนที่ทำวิจัยมามาก ซึ่งเราเพียงเพิ่งเริ่มต้น
• รู้สึกมั่นใจในความคิดของตนเองมากขึ้น
• รู้สึกสิ่งที่ได้รับเกินกว่าที่ความคาดหมายที่วางไว้

แรงบันดาลใจ / การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
• อยากกลับมาทำงานวิจัยสักชิ้น
• การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ทางลัด ไม่ต้องลองผิดลองถูก ซึ่งถือเป็นหนังสือเล่มใหญ่ที่มีค่ามาก
• ทำอะไรได้ดีเราต้องทำด้วยใจ
• บางครั้งเราคิดว่าเราทำดีแล้วแต่เพื่อนทำได้ดีกว่า
• เห็นความสำคัญของการทำวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลมากขึ้น
• เดิมรู้สึกว่าวิจัยทำยาก แต่การได้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ทำให้รู้สึกว่า “เราทำได้” หากมีคนช่วยเสริมด้านนี้

อัศจรรย์ใจมาก...ว่าไหมคะ กับความรู้สึกและแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในพวกเรา การได้ทบทวนบทเรียนในครั้งนั้นมีพลังมาก ทำให้สัมผัสได้ถึง...ใจที่พร้อมมุ่งมั่นพัฒนา มีใจดวงเดียวกัน ที่จะทุ่มเท พัฒนางานให้ดีขึ้น ทำให้เองรู้สึกคุ้มค่ากับการได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างกัลยาณมิตรการพัฒนางานสู่งานประจำ แบบ "มองตาก็รู้ใจ"

ตนเองรู้สึกดีใจมากคะที่ได้มีส่วนในปรับเปลี่ยนให้มีการ AAR ทันทีหลังจากการเข้าร่วมเสวนาฯ ในครั้งนี้ ซึ่งเดิม เราก็มีการทำ AAR ทุกครั้ง แต่ไม่ได้ AAR ทันทีจะกลับมา AAR เมื่อกลับมามหาวิทยาลัย ซึ่งหลายท่านก็ลืมและไม่สามารถเข้าร่วม AAR ได้ และรู้สึกว่า AAR แบบนั้นไม่มีพลัง ทำให้ตนเองเรียนรู้กับการเป็นผู้ประสานงานในครั้งนี้ว่า "ไม่ว่าเราจะทำอะไร งานเล็ก งานน้อย หรือไม่ต้องใช้งบประมาณมาก หากเราพิถีพิถันกับกระบวนการ สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีพลังการเปลี่ยนแปลงมากทีเดียว"

ขอบคุณคะ
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม

หมายเลขบันทึก: 199035เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ น้องเมย์ เป็นการสรุป UKM13 ที่ได้ใจความสำหรับคนที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม  ประโยคสำคัญ ที่ว่า การนำงานประจำไปสู่การวิจัย(Routine to Research) และพัฒนางานวิจัยสู่งานประจำ (Research to Routine)  น่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับคนมหาวิทยาลัยทุกส่วนงาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถม และมัธยมศึกษา) ครูเขาก็มีการทำงานวิจัยในงานประจำเรียก ที่ว่า งานวิจัยหน้าเดียว ไม่ต้องทำ 5 บท เหมือนงานวิจัยทั่วไป ให้ยุ่งยาก  นำปัญหาที่เกิดขึ้น จากการเรียนการสอน มาหาวิธีแก้ปัญหา มีการเก็บข้อมูล ทดลอง ทดสอบ แก้ไขปัญหา และสรุปผลอยู่ในหน้าเดียว A4  ส่วนการทำ AAR หลังเสร็จการประชุม ทันทีเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ความคิดยัง อุ่น ครุกรุ่น ดีครับ..

  • ขอบคุณพี่เอกมากคะที่ช่วยเติมเต็ม
  • การพัฒนางานวิจัยสู่งานประจำ หรือ R2R สำหรับผู้ปฏิบัติงานประจำ ในกลุ่มย่อยก็มีการแลกเปลี่ยนถึงประเด็นนี้ หลายคนเมื่อได้ยินว่างานวิจัยก็รู้สึกว่ายากและกลัว แต่ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำก็เห็นว่าเป็นการพัฒนางานประจำ โดยทำให้งานที่เราทำอยู่ดีขึ้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างดีและนำไปสู่การวิเคราะห์ แก้ปัญหา นำลงสู่การปฏิบัติ ในวงจรการทำงานที่เราคุ่นเคย คือ PDCA (Plan:Do:Check:Act) นั้นเองคะ

 

อ้อ ลืม Cheer และลืมชวน โครงการสหกิจศึกษา เป็นหน่วยวิจัย R2R กับเราด้วย สนใจร่วมขบวนกับเราติดต่อมาที่หน่วยพัฒนาองค์กรได้เลยนะคะ รับไม่อั้น

ตอนนี้มหาวิทยาลัยกำลังสนับสนันเรื่องนี้อยู่ เชื่อมั่นคะ ว่าพี่ๆ สหกิจทุกคนสามารถเป็นนักวิจัยได้เพราะผู้ปฏิบัติที่อยู่หน้างานจะเป็นนักวิจัยชั้นยอดได้...เพียงมาด้วยใจเต็มร้อยและต้องการพัฒนางานเดิมให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อยากให้ผู้ใช้บริการเกิดความพอใจ และจะรู้ว่างาน Routine ที่เราทำมีค่าและสามารถสร้างความรู้ได้

ขอบคุณคะ

น้องเม

ขอแสดงความชื่นชมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ทุกท่าน

รายงานแบบละเอียด..ยิบ เลยครับ เยี่ยมมากครับ

มาสร้างกำลังใจ เสริมใยเหล็ก พอน้องเมบอกว่าเราทำได้ ก็สำเร็จไปครึ่งทางแล้วค่ะ

ขอบคุณ คุณผจญ คุณสายน้ำ และพี่ใบบุญ ที่เข้ามาทักทายและเป็นแรงใจให้ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านด้วยนะคะ

ขอบคุณมากคะ

สวัสดีค่ะ

แอบเห็นทีมของม.วลัยลักษณ์ นั่งคุยกันที่ Lobby ก่อนที่ทีม ม.อ. จะเดินทางกลับ

การแลกเปลี่ยนครั้งนี้ทำให้เห็นความสำคัญในการทำงานเพื่อพัฒนางาน โดยใช้การวิจัยมาเป็นเครื่องมือช่วยไปพร้อมๆ กับ KM นะคะ

ขอฝากกำลังใจให้ทางทีม ม.วลัยลักษณ์ด้วยนะคะ

ขอบคุณ ...คุณมะปรางเปรี้ยวมากที่เป็นกำลังใจให้นะคะ และจะเป็นกำลังใจให้คุณมะปรางเปรี้ยวเช่นกันนะคะด

ตามมาชมภาพ มีภาพทะเลรึเปล่าคะ

สวัสดีคะ พี่ใบบุญ

ภาพทะเลไม่มีคะ ไม่ได้ไป เนื่องจากกลัวกลับถึงมหาวิทยาลัยค่ำ มีแต่ภาพกิจกรรมที่ทำร่วมกันและสถานที่ที่เราแวะระหว่างทาง พรุ่งนี้จะลงรูปให้พี่ใบบุญดูอีกครั้งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท